บาลีวันละคำ

ยุทธการ (บาลีวันละคำ 2,219)

ยุทธการ

แปลว่า-เปิดศึก

อ่านว่า ยุด-ทะ-กาน

ประกอบด้วยคำว่า ยุทธ + การ

(๑) “ยุทธ

บาลีเป็น “ยุทฺธ” โปรดสังเกตว่ามีจุดใต้ ทฺ อ่านว่า ยุด-ทะ รากศัพท์มาจาก ยุธฺ (ธาตุ = รบ, ต่อสู้) + ปัจจัย, แปลง ธฺต (คือ – ที่ ยุธฺ + ปัจจัย) เป็น ทฺธ

: ยุธฺ + = ยุธฺต (ธฺต > ทฺธ) = ยุทฺธ แปลตามศัพท์ว่า “การต่อสู้กัน” หมายถึง สงคราม, การรบ, การต่อสู้ (war, battle, fight)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ยุทธ-, ยุทธ์ : (คำนาม) สงคราม, การรบพุ่ง. (ป., ส.).”

(๒) “การ

บาลีอ่านว่า กา-ระ รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย, ลบ , “ทีฆะต้นธาตุด้วยอำนาจปัจจัยเรื่องด้วย ” คือ อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (กร > การ)

: กรฺ + = กรณ > กร > การ แปลตามศัพท์ว่า “การทำ” มีความหมายว่า –

(1) การกระทำ, กิริยาอาการ, วิธีทำ (doing, manner, way)

(2) กรรม, การบริการ, การกระทำที่แสดงความเมตตา หรือความเคารพ หรือความนับถือ (deed, service, act of mercy or worship, homage)

(3) ผู้ทำ, หรือผู้จัดการหรือผู้ค้า (one who does, handles or deals)

ในภาษาไทย เรานำคำว่า “การ” มาใช้และกลายเป็นคำไทยจนแทบจะไม่ได้นึกว่าเป็นบาลี เช่นคำว่า “จัดการ” “เผด็จการ” เป็นต้น

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “การ” ในภาษาไทยไว้ว่า –

(1) การ ๑ : (คำนาม) งาน, สิ่งหรือเรื่องที่ทํา, มักใช้เข้าคู่กับคํา งาน เช่น การงาน เป็นการเป็นงาน ได้การได้งาน, ถ้าอยู่หน้านาม หมายความว่า เรื่อง, ธุระ, หน้าที่, เช่น การบ้าน การครัว การคลัง การเมือง, ถ้าอยู่หน้ากริยา ทํากริยาให้เป็นนาม เช่น การกิน การเดิน.

(2) –การ ๒ : (คำนาม) ผู้ทํา, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคําบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคําอื่นที่ไม่ใช่คําศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.

(3) –การ ๓ : คําประกอบท้ายสมาสคําบาลีและสันสกฤต มีความหมายเหมือน การ ๑ เช่น ราชการ พาณิชยการ.

ยุทฺธ + การ = ยุทฺธการ (ยุด-ทะ-กา-ระ) แปลตามศัพท์ว่า “กระทำการรบ

ยุทฺธการ” ในภาษาไทยใช้ตรงตัวเป็น “ยุทธการ” (ไม่มีจุดใต้ )

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ยุทธการ : (คำนาม) การรบ, การทําสงคราม.”

ขยายความ :

ยุทธการ” หน้าตาเป็นศัพท์ทางทหารก็จริง แต่เมื่อใช้ในความหมายทั่วไปหมายถึง การทำงาน, การลงมือทำงานตามหน้าที่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นการรบกับใครเสมอไป

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล “ยุทธการ” เป็นอังกฤษว่า military operations, naval operations

ความหมายทั่วไปของ operation คือ ทำ, ทำการ, การ, การงาน หรือที่นิยมใช้กันทั่วไปว่า “ปฎิบัติการ

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล operation เป็นบาลีดังนี้ –

(1) vyāpāra วฺยาปาร (เวีย-ปา-ระ) = ทำอย่างมืออาชีพ, ทำเหมือนทำธุรกิจ, การบริการ, การงาน

(2) kicca กิจฺจ (กิด-จะ) = การงาน, หน้าที่

(3) sallakamma สลฺลกมฺม (สัน-ละ-กำ-มะ) = “ทำการผ่าตัด”, เป็นความหมายเฉพาะอีกนัยหนึ่งของ operation ถ้าจะอนุโลมใช้กับภารกิจทั่วไปก็น่าจะหมายถึง ปฏิบัติการขั้นเด็ดขาด, ปฏิบัติการชนิดถอนรากถอนโคน ดังเช่น-พอเจ้านายคนใหม่ไฟแรงเข้ามาบริหารงาน ก็ลงมือรื้อระบบปรับปรุงหน่วยงานเป็นการใหญ่ ภาษานักข่าวเคยนิยมเรียกการกระทำเช่นนี้ว่า “ผ่าตัด-” ( – หน่วยงานแห่งนั้นแห่งนี้)

…………..

ชีวิตคนหรือชีวิตหน่วยงานก็ตาม ย่อมทำงานประจำวันกันไปตามปกติอยู่แล้ว แต่ก็มักจะมีบางช่วงเวลาที่มีงานพิเศษหรือมีเหตุจำเป็นเกิดขึ้น ทำให้ต้องเร่งรัดทำงานกันหนักหน่วงเข้มข้นกว่าปกติ

กรณีเช่นนี้ คนที่อยู่ในวงการทหารมักพูดทับศัพท์คำอังกฤษว่า “เปิดออเพอะเรชัน” (operation) หรือแปลเป็นบาลีว่า “เปิดยุทธการ”

ถ้าจะใช้คำไทยๆ ก็น่าจะเป็น “เปิดศึก”

บางคราวก็รบกับงาน

บางกาลก็รบกับคนนอกพื้นที่

แต่บางทีก็รบกันเอง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: รบกับใครในรอบจักรวาล

: ไม่หนักเท่าประจันบานกับใจตัวเอง

#บาลีวันละคำ (2,219)

10-7-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย