บาลีวันละคำ

สื่อมวลชน (บาลีวันละคำ 2,218)

สื่อมวลชน

บาลีว่าอย่างไร

ภาษาบาลีเป็นภาษาโบราณ เมื่อจะหาคำที่ใช้เรียกสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีในสมัยโบราณ จึงต้องเริ่มต้นจากพจนานุกรมที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สื่อมวลชน : (คำนาม) สื่อกลางที่นำข่าวสาร สาร และเนื้อหาสาระทุกประเภทไปสู่มวลชน เช่นหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และภาพยนตร์, (ภาษาปาก) นักข่าว นักหนังสือพิมพ์ เป็นต้น.”

“นักข่าว นักหนังสือพิมพ์ เป็นต้น” ตามพจนานุกรมฯ นั้น มีคำเรียกรวมๆ ว่า “ผู้สื่อข่าว”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ผู้สื่อข่าว : (คำนาม) ผู้รายงานข่าว, ผู้เขียนข่าว, ผู้บอกข่าว, (ใช้เฉพาะทางสื่อสารมวลชน), ผู้ส่งข่าว หรือ นักข่าว ก็เรียก.”

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปลคำว่า “ผู้สื่อข่าว” เป็นอังกฤษว่า a newspaper reporter, a newspaper correspondent

ตามคำแปลนี้เน้นไปที่ newspaper คือหนังสือพิมพ์ ตัดเอาเฉพาะคำหลักคือ correspondent

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล correspondent เป็นไทยว่า ผู้เขียนจดหมาย, ผู้สื่อข่าว

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล correspondent เป็นบาลีดังนี้

(1) sandesapesaka สนฺเทสเปสก (สัน-เท-สะ-เป-สะ-กะ) = “ผู้ส่งข่าว”

(2) saṃsandiyamāna สํสนฺทิยมาน (สัง-สัน-ทิ-ยะ-มา-นะ) = ผู้ทำหน้าที่ติดต่อคนให้มาร่วมกิจกรรม

คำที่น่าสนใจคือ “สนฺเทสเปสก” (สัน-เท-สะ-เป-สะ-กะ) ซึ่งประกอบด้วยคำว่า สนฺเทส + เปสก

(๑) “สนฺเทส” (สัน-เท-สะ) รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + ทิสฺ (ธาตุ = ปรากฏ) + ปัจจัย, ลบ , แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น , แผลง อิ ที่ ทิ-(สฺ) เป็น เอ (ทิสฺ > เทส)

: สํ > สนฺ + ทิสฺ = สนฺทิส + = สนฺทิสณ > สนฺทิส > สนฺเทส แปลตามศัพท์ว่า “เนื้อความที่ปรากฏชัดเจน” หมายถึง ข่าว, ใบบอก, ความชัดเจน, ความแจ่มแจ้ง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สนฺเทส” ว่า news, message

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

สนฺเทศ : (คำนาม) ‘สันเทศ,’ ข่าว; news, information.”

พจนานุกรม สอ เสถบุตร บอกคำแปลคำอังกฤษทั้ง 3 คำไว้ดังนี้ :

(1) news :

เรื่องใหม่, ข่าว, ความรู้ใหม่, เรื่องแปลก

(2) message :

1. คำพูดที่ฝากไปให้, จดหมายที่ฝากไปให้ผู้อื่น, สาร, ถ้อยคำ, ข่าวคราว, ข่าวโทรเลขโทรศัพท์

2. พระราชดำรัส

(3) information :

1. แจ้งให้ทราบ, บอก, เรื่องที่บอก

2. ข่าว

3. ความรู้, ให้ความรู้, ข้อความ

4. ฟ้อง

สนฺเทส” ใช้ในภาษาไทยว่า “สนเทศ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 มีคำว่า “สนเทศ” เก็บไว้ดังนี้ :

(1) สนเทศ : (คำนาม) คําสั่ง, ข่าวสาร, ใบบอก. (ส.; ป. สนฺเทส).

(2) สารสนเทศ : (คำนาม) ข่าวสาร; การแสดงหรือชี้แจงข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ. (ส. สาร + สนฺเทศ; ป. สาร + สนฺเทส).

(๒) “เปสก” (เป-สะ-กะ) รากศัพท์มาจาก ปิสฺ (ธาตุ = ส่งไป) + ณฺวุ ปัจจัย, แปลง ณฺวุ เป็น อก (อะ-กะ) แผลง อิ ที่ ปิ-(สฺ) เป็น เอ (ปิสฺ > เปส)

: ปิสฺ + ณฺวุ > อก = ปิสก > เปสก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ส่ง” หมายถึง ผู้ส่งข่าวสาร, ผู้ใช้ให้บริการ (message sender, employing for service)

เป็นอันว่าคำที่เราได้มาแล้วในกระบวน “สื่อมวลชน” คือ –

(๑) “สนฺเทส” = ข่าวสาร

(๒) “สนฺเทสเปสก” = ผู้สื่อข่าว

ยังขาด “สื่อกลางที่นำข่าวสาร สาร และเนื้อหาสาระทุกประเภทไปสู่มวลชน เช่นหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และภาพยนตร์” (ตามนิยามของพจนานุกรมฯ)

ผู้เขียนบาลีวันละคำขอเสนอให้ใช้คำว่า

(๓) “สนฺเทสปกาสก” (สัน-เท-สะ-ปะ-กา-สะ-กะ) ประกอบด้วยคำว่า สนฺเทส + ปกาสก

ปกาสก” รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + กาสฺ (ธาตุ = ส่งเสียง, ประกาศ) + ณฺวุ ปัจจัย, แปลง ณฺวุ เป็น อก (อะ-กะ)

: + กาสฺ = ปกาสฺ + ณฺวุ > อก = ปกาสก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ประกาศ” หมายถึง ประกาศ, โฆษณา (sounding, proclaiming, shouting out -)

สนฺเทสปกาสก” หมายถึง ผู้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางนำข่าวสารทุกประเภทไปสู่มวลชน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งตัวบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กร

สรุป :

(๑) “สนฺเทส” = ข่าวสาร

(๒) “สนฺเทสเปสก” = ผู้สื่อข่าว

(๓) “สนฺเทสปกาสก” = สื่อกลาง

รวมกันทั้ง 3 ส่วน นี่คือ “สื่อมวลชน” ที่เราได้พบเห็นกันอยู่ในสังคมทุกวันนี้

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ตราบใด มวลชนเสพสื่อไม่รู้จักเลือก

: ตราบนั้น มวลสื่อย่อมเสพเผือกไม่รู้จักเลิก

#บาลีวันละคำ (2,218)

9-7-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *