บาลีวันละคำ

ลงศาลา (บาลีวันละคำ 2,256)

ลงศาลา

อ่านตรงๆ ว่า ลง-สา-ลา

ประกอบด้วยคำว่า ลง + ศาลา

(๑) “ลง” เป็นคำไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 แจกแจงความหมายไว้ดังนี้ –

(ก) เป็นคำกริยา หมายถึง –

(1) ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ

(2) เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด

(3) จด เช่น ลงบัญชี

(4) ทำพิธีจารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม

(5) ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่

(6) ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ

(7) ตกลงปลงใจแล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทำเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย

(8) ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่

(9) ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง

(10) ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง

(11) เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง

(12) ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก.

(ข) เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง –

(1) อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง

(2) มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.

(๒) “ศาลา

เป็นรูปคำสันสกฤต ตรงกับบาลีว่า “สาลา” รากศัพท์มาจาก สลฺ (ธาตุ = ไป) + ปัจจัย, ลบ , “ทีฆะต้นธาตุ” คือยืดเสียง อะ ที่ -(ลฺ) เป็น อา (สลฺ > สาล) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: สลฺ + = สลณ > สล > สาล + อา = สาลา แปลตามศัพท์ว่า “โรงเรือนเป็นที่ผู้คนไปหา

สาลา” หมายถึง ห้องโถง (มีหลังคาและมีฝาล้อมรอบ), ห้องใหญ่, บ้าน; เพิง, โรงสัตว์ (a large [covered & enclosed] hall, large room, house; shed, stable)

ภาษาไทยใช้ตามรูปสันสกฤตเป็น “ศาลา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ศาลา : (คำนาม) อาคารทรงไทย ปล่อยโถง ไม่กั้นฝา ใช้เป็นที่พักหรือเพื่อประโยชน์การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศาลาวัด ศาลาที่พัก ศาลาท่านํ้า, โดยปริยายหมายถึงอาคารหรือสถานที่บางแห่ง ใช้เพื่อประโยชน์การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศาลาพักร้อน ศาลาสวดศพ. (ส.; ป. สาลา).”

ลง + ศาลา = ลงศาลา หมายถึง พระภิกษุสามเณรมายังศาลาเพื่อประกอบพิธีบุญ

ขยายความ :

ในช่วงเวลาเข้าพรรษา พอถึงวันพระ ชาวบ้านนิยมไปชุมนุมกันทำบุญ ณ วัดในหมู่บ้านหรือวัดที่ตนมีศรัทธาเลื่อมใสหรือมีความผูกพันอย่างใดอย่างหนึ่ง สถานที่ทำบุญมักเป็นศาลาที่สร้างขึ้นเพื่อการบำเพ็ญกุศลทั่วไปที่เรียกว่า “ศาลาการเปรียญ

เมื่อประชาชนมาพร้อมกันแล้ว ได้เวลาตามที่กำหนด พระภิกษุสามเณรในวัดนั้นก็จะมาที่ศาลาเพื่อประกอบพิธีทำบุญตามประเพณีต่อไป เรียกกิริยาที่พระเณรเข้าไปในศาลานั้นว่า “ลงศาลา” หรือคำเต็มว่า “พระลงศาลา

แม้เมื่อมีงานอื่นๆ เช่น ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า งานศพ ฯลฯ เมื่อถึงเวลาพระมาที่ศาลาเพื่อประกอบพิธี ก็เรียกว่า “ลงศาลา” เช่นกัน

อภิปราย :

คำว่า “ลงศาลา” นี้ ผู้เขียนบาลีวันละคำมีความเห็นว่า “ลง” หมายถึง “ไปรวมกันในที่นั้นๆ ด้วยจุดประสงค์ร่วมกัน” เช่น

ลงขัน” วิธีที่ทำแต่เดิมคือเอาเงินของแต่ละคนหรือแต่ละฝ่ายไปใส่รวมกันไว้ในขันเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในกิจต่างๆ ตามที่ตกลงร่วมกัน ต่อมาการรวมเงินด้วยวัตถุประสงค์เช่นนั้นแม้จะไม่ได้เอาเงินไปใส่ในขันเหมือนแต่เดิม ก็คงเรียกว่า “ลงขัน

ลงแขก” คือ คนไปรวมกันเพื่อช่วยกันทำงานให้เพื่อนบ้าน

ลงโบสถ์” คือพระไปรวมกันในอุโบสถเพื่อทำสังฆกรรม เช่นสวดพระปาติโมกข์เป็นต้น

ดังนั้น “ลงศาลา” ก็คือพระภิกษุสามเณรไปรวมกันในศาลาเพื่อประกอบพิธีบุญอย่างใดอย่างหนึ่ง

ลง” ในที่นี้ไม่เล็งถึงการ “ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น” หรือ “ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ” (ตามพจนานุกรมฯ) เสมอไป

…………..

บาลีวันละคำชุด:-

: ช่วยกันสืบทอดพระศาสนา

: ช่วยกันรู้ภาษาพระธรรมวินัย

…………..

ดูก่อนภราดา!

: วันปาติโมกข์ไม่เอาธุระ

: วันพระไม่ลงศาลา

: วันธรรมดาไม่ทำวัตรสวดมนต์

สังฆมณฑลจะอยู่กันอย่างไร?

#บาลีวันละคำ (2,256)

16-8-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *