บาลีวันละคำ

สรเตมตนฺที (บาลีวันละคำ 2,348)

สรเตมตนฺที

ไม่ใช่ สรเต / มตนฺที

อ่านว่า สะ-ระ-เต-มะ-ตัน-ที

สรเตมตนฺที” เขียนเป็นคำอ่านว่า “สะระเตมะตันที” เป็นคำบาลีที่อยู่ในพุทธชัยมงคลคาถา (คาถาพาหุง) บทที่ 9

สรเตมตนฺที” ปรากฏอยู่ในวรรคที่สองของบทที่ 9  ข้อความเต็มๆ ในบทนี้เป็นดังนี้ –

เขียนแบบบาลี :

เอตาปิ พุทฺธชยมงฺคลอฏฺฐคาถา

โย วาจโน ทินทิเน สรเตมตนฺที

หิตฺวานเนกวิวิธานิ จุปทฺทวานิ

โมกฺขํ สุขํ อธิคเมยฺย นโร สปญฺโญ.

เขียนแบบคำอ่าน :

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา

โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเตมะตันที

หิต๎วานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ

โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ.

คำแปล :

นรชนใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดก็ดี ระลึกก็ดี

ซึ่งพระพุทธชัยมงคล 8 คาถาเหล่านี้ทุกๆ วัน

นรชนนั้นจะขจัดอุปัทวันตรายทั้งหลายเป็นอเนกประการเสียได้

ถึงซึ่งพระนิพพานอันเป็นบรมสุขแล.

…………..

อภิปราย :

สรเตมตนฺที” เป็นคำบาลี 2 คำ คือแยกออกเป็น สรเต + อตนฺที

(๑) “สรเต” (สะ-ระ-เต)

เป็นคำกริยาอาขยาต รากศัพท์มาจาก สรฺ (ธาตุ = ระลึกได้) + ปัจจัย + เต วิภัตติ ปฐมบุรุษ เอกพจน์

: สรฺ + + เต = สรเต แปลว่า ระลึกถึง, จำได้ (to remember)

(๒) “อตนฺที” (อะ-ตัน-ที)

เป็นคุณศัพท์ รากศัพท์มาจาก (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + ตนฺที

ตนฺที” (ตัน-ที) รากศัพท์มาจาก ตทิ (ธาตุ = เกียจคร้าน) + อี ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์, ลงนิคหิตต้นธาตุแล้วแปลงเป็น นฺ (ตทิ > ตํทิ > ตนฺทิ), “ลบสระหน้า” หรือลบสระที่สุดธาตุ (ตทิ > ตท)

: ตทิ > ตํทิ > ตนฺทิ > ตนฺท + อี = ตนฺที แปลตามศัพท์ว่า “ความเกียจคร้าน” หมายถึง ความเหนื่อย, ความเกียจคร้าน, ความเฉื่อยชา (weariness, laziness, sloth)

+ ตนฺที แปลง เป็น ตามกฎที่ว่า:

– คำที่ ไปประสมขึ้นต้นด้วยสระ แปลง เป็น อน

– คำที่ ไปประสมขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น

ในที่นี้ “ตนฺที” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ จึงแปลง เป็น

: + ตนฺที = นตนฺที > อตนฺที แปลว่า “ผู้ไม่มีความเกียจคร้าน

สรเต + อตนฺที เป็นการประผมคำแบบ “สนธิ” ไม่ใช่สมาส ลง อาคมระหว่างคำทั้งสอง

: สรเต + + อตนฺที = สรเตมตนฺที

อนึ่ง ในทางหลักไวยากรณ์ “สรเตมตนฺที” อาจแยกคำเป็น สรติ (เป็นคำกริยาเช่นเดียวกับ “สรเต” ต่างแต่ลง ติ วิภัตติ) + อตนฺที ลงนิคหิตอาคม (คือ อํ) ที่ –ติ แล้วแปลงนิคหิตเป็น , แผลง อิ ที่ –ติ เป็น เอ

: สรติ + อํ = สรตึ > สรติม + อตนฺที = สรติมตนฺที > สรเตมตนฺที

การที่เอา “สรเต” (หรือ “สรติ”) = ระลึกถึง สนธิกับ “อตนฺที” = ผู้ไม่เกียจคร้าน เป็น “สรเตมตนฺที” เช่นนี้ เป็นไปตามลีลาของการแต่งฉันท์ซึ่งต้องการคำครุ-ลหุในตำแหน่งนั้นๆ แต่เมื่อแปลก็ต้องแยกแปลคนละคำเพราะไม่ใช่คำเดียวกัน

สรเต = ระลึกถึง

อตนฺที = ผู้ไม่เกียจคร้าน

ดังคำแปลข้างต้นที่ว่า “(นรชนใดมีปัญญา) ไม่เกียจคร้าน (สวดก็ดี) ระลึกก็ดี”

ที่นำคำว่า “สรเตมตนฺที” มาเขียนเป็นบาลีวันละคำก็เนื่องจากหนังสือสวดมนต์ส่วนมากที่พิมพ์เผยแพร่กันมักจะพิมพ์คำนี้ผิดพลาด กล่าวคือพิมพ์แยกกันเป็น 2 คำ คือเป็น “สรเต  มตนฺที” (สะระเต มะตันที) (ดูภาพประกอบ)

พุทธชัยมงคลคาถา หรือ “คาถาพาหุง” นั้นมีผู้สวดสาธยายกันได้แพร่หลาย (รวมทั้งท่านที่กางหนังสืออ่าน) แต่ส่วนมากไม่รู้ภาษาบาลี หนังสือพิมพ์มาอย่างไร ก็ท่องหรืออ่านไปตามนั้น

บางท่านก็ถือว่าหนังสือจะพิมพ์ผิดหรือพิมพ์ถูกไม่สำคัญ เราท่อง (หรืออ่าน) ด้วยจิตเป็นกุศลก็ได้บุญแล้ว

ถ้าคิดกันอย่างนี้ คำบาลีผิดๆ ก็จะผิดอยู่ต่อไป และถ้าแนวคิดเช่นนี้ ( = หนังสือจะพิมพ์ผิดหรือพิมพ์ถูกไม่สำคัญ) ลามเข้าไปถึงตัวพระไตรปิฎก ความวิบัติก็จะเกิดขึ้นในพระธรรมวินัยเป็นแน่นอน

…………..

ดูก่อนภราดา!

: สังคมวิปริต

: เพราะยอมให้ผิดเป็นถูก

#บาลีวันละคำ (2,348)

16-11-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *