บาลีวันละคำ

กุศโลบาย (บาลีวันละคำ 2,353)

กุศโลบาย

อ่านว่า กุ-สะ-โล-บาย ก็ได้ กุด-สะ-โล-บาย ก็ได้

(ตามพจนานุกรมฯ)

ประกอบด้วยคำว่า กุศล + อุบาย

(๑) “กุศล” ( –ศล ศาลา)

บาลีเป็น “กุสล” ( –สล เสือ) อ่านว่า กุ-สะ-ละ รากศัพท์มาจาก –

(1) กุส (กิเลส; หญ้าคา; โรค) + ลุ (ธาตุ = ตัด) + ปัจจัย, “ลบสระหน้า” คือลบ อุ ที่ ลุ (ลุ > )

: กุส + ลุ = กุสลุ > กุสล + = กุสล แปลตามศัพท์ว่า (1) “กรรมดีที่ตัดกิเลสอันนอนเนื่องอยู่ในสันดาน” (2) “กรรมที่ตัดบาปธรรมได้เหมือนหญ้าคา” (“ธรรมที่ตัดความชั่วอันเป็นดุจหญ้าคา”) (3) “ภาวะที่ตัดโรคอันนอนเนื่องอยู่ในร่างกายออกไปได้” (ตามข้อ (3) นี้หมายถึงความไม่มีโรค)

(2) กุ (แทนศัพท์ “กุจฺฉิต” = น่าเกลียด, น่ารังเกียจ) + สลฺ (ธาตุ = หวั่นไหว; ปิด, ป้องกัน) + ปัจจัย

: กุ + สลฺ = กุสล + = กุสล แปลตามศัพท์ว่า (1) “กรรมที่ยังบาปธรรมอันน่ารังเกียจให้หวั่นไหว” (2) “กรรมเป็นเครื่องปิดประตูอบายที่น่ารังเกียจ

(3) กุส (ญาณ, ความรู้) + ลา (ธาตุ = ถือเอา) + ปัจจัย, “ลบสระหน้า” คือลบ อา ที่ ลา (ลา > )

: กุส + ลา = กุสลา > กุสล + = กุสล แปลตามศัพท์ว่า (1) “กรรมที่พึงถือเอาได้ด้วยญาณที่ทำให้บาปเบาบาง” (“ความรู้ที่ทำความชั่วร้ายให้เบาบาง”) (2) “ผู้ถือเอากิจทั้งปวงด้วยปัญญา

กุสล” ถ้าเป็นคำนาม (นปุงสกลิงค์) หมายถึง ความดีงาม, กรรมดี, สิ่งที่ดี, กุศลกรรม, บุญ (good thing, good deeds, virtue, merit, good consciousness)

กุสล” ถ้าเป็นคุณศัพท์ มีความหมายว่า ฉลาด, เฉียบแหลม, สันทัด, ชำนาญ; ดีงาม, ถูกต้อง, เป็นกุศล (clever, skilful, expert; good, right, meritorious)

บาลี “กุสล” เราใช้อิงสันสกฤตเป็น “กุศล

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กุศล : (คำนาม) สิ่งที่ดีที่ชอบ, บุญ. (คำวิเศษณ์) ฉลาด. (ส.; ป. กุสล).”

(๒) “อุบาย

บาลีเป็น “อุปาย” (อุ-ปา-ยะ) รากศัพท์มาจาก อุป (คำอุปสรรค = เข้าไป, ใกล้, มั่น) + อิ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) แผลง อิ เป็น เอ, แปลง เอ เป็น อาย + ปัจจัย

: อุป + อิ = อุปิ > อุเป > อุปาย + = อุปาย (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “กลวิธีเป็นเหตุให้ถึงความชนะศัตรู” “วิธีเป็นเหตุให้เข้าถึง” “การเข้าใกล้” หมายถึง หนทาง, วิธี, กลวิธี, เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม (way, means, expedient, stratagem)

ภาษาไทยใช้ทับศัพท์ว่า “อุบาย” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อุบาย : (คำนาม) วิธีการอันแยบคาย; เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม. (ป., ส. อุปาย).”

กุสล + อุปาย = กุสโลปาย > กุศโลบาย แปลตามศัพท์ว่า (1) “อุบายที่ดี” (คืออุบายที่ใช้ได้ผลดี) (2) “อุบายของคนฉลาด” (3) “อุบายเพื่อความดี” (คือวิธีการต่างๆ ที่ใช้เพื่อจูงใจคนให้ทำความดี)

ในภาษไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กุศโลบาย : (คำนาม) อุบายอันแยบคาย. (ส. กุศล + อุปาย).”

ขยายความ :

ตามรูปศัพท์ “กุศโลบาย” ควรจะมีความหมายเฉพาะในเรื่องดี คือหมายถึงวิธีการ คือศิลปะหรือเทคนิค (tactic) อย่างใดๆ ก็ตาม อันไม่ใช่วิธีธรรมดาสามัญหรือวิธีตรงๆ ที่คิดขึ้นเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ต้องการ-ซึ่งควรจะเป็นเป้าหมายที่ดีงาม

ถ้าเป็นอุบายที่ใช้เพื่อการชั่ว หรือเพื่อความสำเร็จที่ไม่คำนึงถึงผิดชอบชั่วดี ก้ไม่น่าจะเรียกว่า “กุศโลบาย” แต่ควรเรียกว่า “กลอุบาย” ซึ่งมีความหมายเป็นกลางๆ คือใช้เพื่อการชั่วหรือเพื่อการดีก็ได้

ในคัมภีร์ ยังไม่พบคำว่า “กุสโลปาย” แต่มีคำว่า “อุปายกุสล” (สลับคำกับ “กุสโลปาย”) แปลว่า “ฉลาดในการใช้อุบาย

ในทางคดีธรรม ท่านวางหลักไว้ว่า พึงใช้ “อุบาย” ไปใน 3 ทาง คือ –

1 อายโกศล – ฉลาดใน “อายะ” (ความเจริญ) = รู้ว่าทำแบบนี้เจริญแน่

2 อปายโกศล – ฉลาดใน “อบาย” (ความฉิบหาย) = รู้ว่าทำแบบนี้ฉิบหายแน่

3 อุปายโกศล – ฉลาดใน “อุบาย” = รู้แล้วลงมือทำความเจริญ พร้อมไปกับป้องกันไม่ให้เกิดความฉิบหาย ด้วยวิธีการที่ชาญฉลาด

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ไม่สันทัดในเวลาบำเพ็ญศีลทาน

: น่าชมกว่าเชี่ยวชาญในเรื่องทำชั่วๆ

#บาลีวันละคำ (2,353)

21-11-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย