บาลีวันละคำ

วรรณ – อ่านอย่างไร (บาลีวันละคำ 2,376)

วรรณ – อ่านอย่างไร

อาจไม่ใช่อย่างที่คิด

วรรณ” ถ้าเป็นภาษาไทย เขียนอย่างนี้ คนทั่วไปอ่านกันว่า วัน และเป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่า “วรรณ” คำนี้บาลีเป็น “วณฺณ

วณฺณ” อ่านว่า วัน-นะ รากศัพท์มาจาก วณฺณ (ธาตุ = ประกาศ, แสดง) + ปัจจัย

: วณฺณ + = วณฺณ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเครื่องประกาศเนื้อความ

วณฺณ” ในภาษาบาลีมีความหมายหลายอย่าง ขอนำมาแสดงไว้ในที่นี้เป็นเครื่องประดับความรู้ ดังต่อไปนี้ :

(ภาษาอังกฤษจากพจนานุกรมบาลี-อังกฤษ)

(1) สี (colour)

(2) รูปร่าง (appearance)

(3) ความรุ่งโรจน์โชติช่วง, ความแพรวพราว (lustre, splendor)

(4) ความงาม (beauty)

(5) สีหน้า, ท่าทาง (expression, look)

(6) สีของผิวเนื้อ, รูปร่าง, ผิวพรรณ (colour of skin, appearance of body, complexion)

(7) ชนิด, ประเภท (kind, sort เช่น นานาวณฺณ = ต่างๆ ชนิดกัน)

(8) “ลักษณะของเสียง” (timbre of voice) = อักษร (the alphabet)

(9) องค์ประกอบ, ความเหมือนกัน, สมบัติ; เหมือน (constitution, likeness, property; like เช่น อคฺคิวณฺณํ = เหมือนไฟ = like fire)

(10) ความประทับใจที่ดี, การสรรเสริญ (good impression, praise)

(11) เหตุผล (reason, ความหมายนี้ ฝรั่งแปลตามศัพท์ว่า “outward appearance” = ท่าทางภายนอก)

บาลี “วณฺณ” ภาษาไทยใช้เป็น “วรรณ” (วรรณะ)

วรรณ” คำเดียวหรืออยู่ท้ายคำ อ่านว่า วัน

วรรณ-” มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย อ่านว่า วัน-นะ- (ต่อด้วยคำนั้น)

ประวิสรรชนีย์เป็น “วรรณะ” อ่านว่า วัน-นะ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วรรณ-, วรรณะ : (คำนาม) สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสัน เป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).”

คำที่ตาเห็น อาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่ใจคิด :

ถ้าเห็นคำทั่วไปเขียนว่า “วรรณ” ใครๆ ก็อ่านกันว่า “วัน” แต่ถ้าเป็นชื่อคน อย่าเพิ่งแน่ใจว่าจะใช่อย่างที่คิด

ท่านผู้มีเกียรติรายหนึ่งได้รับเชิญขึ้นทอดผ้าบังสุกุลในงานพระราชทานเพลิงศพเชิญ เจ้าภาพเขียนชื่อว่า “คุณวรรณ – (ต่อด้วยนามสกุล)”

เมื่อได้เวลา พิธีกรอ่านชื่อแขกรายนี้ ว่า “ขอเรียนเชิญคุณวัน …. ขึ้นทอดผ้าบังสุกุล”

ผู้มีเกียรติท่านนั้นขึ้นไปทอดผ้าเสร็จแล้วลงมากระซิบต่อว่าพิธีกรว่า ท่านไม่ได้ชื่อ “วัน” แต่ชื่อ “วอ-ระ-รน” แปลว่า “นักรบผู้ประเสริฐ

อาจเป็นความผิดของพิธีกรที่ไม่ได้ตรวจสอบสืบถามให้แน่ชัดเสียก่อนว่าชื่อ “วรรณ” นี้อ่านอย่างไร แต่ก็ควรจะเป็นความผิดของใครอีกด้วยที่ตั้งชื่อให้คนอ่านผิด

ถ้าเป็นตามที่เจ้าของชื่อบอก คำว่า “วรรณ” ก็ไม่ใช่ “วณฺณ” ตามที่เข้าใจ แต่ต้องแยกคำเป็น วร + รณ

(๑) “วร

บาลีอ่านว่า วะ-ระ รากศัพท์มาจาก วรฺ (ธาตุ = ปรารถนา) + ปัจจัย

: วรฺ + = วร แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะอันบุคคลปรารถนา” เป็นคำวิเศษณ์ แปลว่า ประเสริฐ, วิเศษ, เลิศ, อริยะ (excellent, splendid, best, noble) เป็นคำนาม (ปุงลิงค์) ตรงกับคำที่เราใช้ว่า “พร” แปลว่า ความปรารถนา, พร, ความกรุณา (wish, boon, favour)

(๒) “รณ” บาลีอ่านว่า ระ-นะ รากศัพท์มาจาก รณฺ (ธาตุ = ส่งเสียง) + ปัจจัย

: รณฺ + = รณ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การที่ส่งเสียงดัง

รณ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การต่อสู้, การรบ, สงคราม (fight, battle, war) ความหมายนี้คือแปลตามศัพท์ว่า “การที่ส่งเสียงดัง” อาจเนื่องมาจากธรรมชาติในการสู้รบกันนั้นมักต้องส่งเสียงโห่ร้องอื้ออึง ประกอบด้วยเสียงจากอาวุธยุทโธปกรณ์อีกส่วนหนึ่งด้วย

(2) ความมึนเมา, ความอยาก, บาป, ความผิด (intoxication, desire, sin, fault) รวมไปถึง ความเจ็บปวด, ความปวดร้าว, ความทุกข์ยาก (pain, anguish, distress)

ข้อ (2) นี้เป็นความหมายในทางธรรม หรืออิงแนวคิดทางศาสนา คำที่มีความหมายตรงข้ามหรือเชิงปฏิเสธคือ “อรณ” (อะ-ระ-นะ) หมายถึง ปราศจากอันตราย, ปลอดจากกิเลส หรือตามศัพท์ว่า “ไม่ต้องต่อสู้” เพราะเอาชนะกิเลสได้เด็ดขาดแล้ว คือต่อสู้มาจนจบเสร็จไปแล้วจึงไม่ต้องต่อสู้อีก

วร + รณ = วรรณ (วะ-ระ-ระ-นะ) แปลว่า “การรบอันประเสริฐ” “การรบของผู้ประเสริฐ” ซึ่งพอจะอนุโลมหมายถึง “นักรบผู้ประเสริฐ” ตามเจตนาของท่านเจ้าของชื่อได้อยู่

วรรณ” ที่มาจากบาลีว่า “วณฺณ” กับ “วรรณ” ที่มาจาก วร + รณ = วรรณ ตามหลักวิชาเรียกว่า “คำพ้องรูป”

วรรณ” ที่มาจากบาลีว่า “วณฺณ” มีใช้ทั่วไปในคัมภีร์ เป็นคำสามัญที่รู้จักกันทั่วไป ในภาษาไทยอ่านว่า วัน

แต่ “วรรณ” ที่มาจาก วร + รณ = วรรณ ยังไม่เคยพบในคัมภีร์ และเชื่อว่าคนทั่วไปก็คงไม่เคยเห็นที่ไหนด้วย

เพราะฉะนั้น ใครที่เห็นคนชื่อ “วรรณ” ร้อยทั้งร้อยก็ต้องอ่านว่า วัน และต้องเข้าใจว่าหมายถึงผิวพรรณวรรณะตามที่คนทั้งหลายเข้าใจกัน

แม้ผู้ตั้งชื่อและเจ้าของชื่อจะมีเจตนาให้หมายถึง วร (ประเสริฐ) + รณ (การรบ, นักรบ) = วรรณ ก็ย่อมจะไม่มีใครเข้าใจเช่นนี้ได้เลย

เป็นความผิดของคนอ่าน

หรือว่าเป็นความคิดพิสดารของคนตั้งชื่อ?

และเรื่องนี้สอนอะไรเราได้บ้าง?

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ตั้งชื่อผิดคำ ทำให้อ่านผิดคน

: แต่กรรมของตนไม่เคยให้ผลผิดตัว

#บาลีวันละคำ (2,376)

14-12-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *