บาลีวันละคำ

วิสาสะ (บาลีวันละคำ 2,373)

วิสาสะ

คุ้นปาก แต่อาจจะไม่รู้จักรากเดิม

อ่านว่า วิ-สา-สะ

วิสาสะ” บาลีเป็น “วิสฺสาส” (ซ้อน สฺ อีกตัวหนึ่งหลัง วิ-) อ่านว่า วิด-สา-สะ รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + สสฺ (ธาตุ = หายใจ) + ปัจจัย, ลบ , ซ้อน สฺ,ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (วิ + สฺ + สสฺ), ทีฆะต้นธาตุ “ด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” (สสฺ > สาส)

: วิ + สฺ + สสฺ = วิสฺสสฺ + = วิสฺสสณ > วิสฺสส > วิสฺสาส (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “ภาวะที่หายใจโดยพิเศษ” (คือทำให้สบายใจ) (2) “ภาวะที่หายใจได้อย่างวิเศษ” (คือปล่อยวางใจโดยปราศจากความสงสัย) หมายถึง ความเชื่อ, ความไว้วางใจ, ความสนิทสนม, ความคุ้นเคยกัน (trust, confidence, intimacy, mutual agreement)

บาลี “วิสฺสาส” ใช้ในภาษาไทยเป็น “วิสาสะ” (ตัด ตัวสะกดออกตัวหนึ่ง) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วิสาสะ : (คำนาม) ความคุ้นเคย, ความสนิทสนม; การถือว่าเป็นกันเอง เช่น หยิบของไปโดยถือวิสาสะ. (คำกริยา) พูดจาปราศรัยอย่างคุ้นเคยกัน เช่น ไม่เคยวิสาสะกันมาก่อน. (ป. วิสฺสาส; ส. วิศฺวาส).”

พจนานุกรมฯ บอกว่า บาลี “วิสฺสาส” สันสกฤตเป็น “วิศฺวาส

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

วิศฺวาส : (คำนาม) ‘วิศวาส,’ ความไว้ใจ, ความเชื่อ; trust or confidence, faith.”

สันสกฤต “วิศฺวาส” เราเอามาใช้ในภาษาไทย แผลง ที่ วิ– เป็น เป็น “พิศวาส” อ่านว่า พิด-สะ-หฺวาด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

พิศวาส : (คำวิเศษณ์) รักใคร่, สิเนหา, เช่น ไม่น่าพิศวาส. (ส. วิศฺวาส; ป. วิสฺสาส ว่า ความคุ้นเคย).”

โปรดสังเกตว่า “พิศวาส” ในภาษาไทย ความหมายค่อนข้างแตกต่างจาก “วิศฺวาส”ในสันสกฤต และ “วิสฺสาส” ในบาลี

แต่ “วิสาสะ” ในภาษาไทย ความหมายยังคงตรงกับ “วิสฺสาส” ในบาลี

คติ :

คำบางคำในภาษาหนึ่ง เมื่อถูกนำไปใช้ในอีกภาษาหนึ่ง ความหมายอาจเคลื่อนที่ คือยักเยื้องเปลี่ยนแปลงไปได้

คนก็เหมือนคำ เมื่อไปอยู่ในอีกสังคมหนึ่งหรืออยู่ในเพศภาวะที่ต่างไปจากเดิม อาจจำต้องปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสังคมนั้นๆ ได้ หรือเพื่อให้ถูกต้องเหมาะสมกับเพศภาวะนั้นๆ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: การปรับตัวให้เข้ากับสังคม เป็นสิ่งที่ดี

: แต่การลืมรากเหง้าของตัวเอง เป็นสิ่งที่เลว

#บาลีวันละคำ (2,373)

11-12-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย