บาลีวันละคำ

อิจฉา ไม่ได้เพี้ยนมาจาก “อิสสา” (บาลีวันละคำ 2,391)

อิจฉา ไม่ได้เพี้ยนมาจาก “อิสสา

ตามทฤษฎีเพี้ยน

ทำความรู้จักกับ “อิจฉา” และ “อิสสา” ในบาลี

(๑) “อิจฉา” บาลีเขียน “อิจฺฉา” (มีจุดใต้ ) อ่านว่า อิด-ฉา รากศัพท์มาจาก อิสฺ (ธาตุ = ปรารถนา, อยาก) + ณฺย ปัจจัย (ปัจจัยตัวนี้ลงในคำใด ทำให้คำนั้นเป็นภาวนามหรืออาการนาม มักขึ้นต้นคำแปลว่า “ความ-,” หรือ “การ-”), ลบ ณฺ (ณฺย > ), แปลง กับ สฺ ที่สุดธาตุเป็น จฺฉ (อิสฺ + = อิสฺย > อิจฺฉ) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: อิสฺ + ณฺย = อิสฺณฺย > อิสฺย > อิจฺฉ + อา = อิจฺฉา แปลตามศัพท์ว่า “กิริยาที่อยากได้” หรือ “ความอยากได้” หมายถึง ความปรารถนา, ความประสงค์, ความต้องการ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อิจฺฉา” ว่า wish, longing, desire (ความปรารถนา, ความประสงค์, ความอยากได้)

(๒) “อิสสา

บาลีเขียน “อิสฺสา” (มีจุดใต้ ) อ่านว่า อิด-สา รากศัพท์มาจาก อิสฺสฺ (ธาตุ = ไม่พอใจ) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: อิสฺสฺ + = อิสฺส + อา = อิสฺสา แปลตามศัพท์ว่า “กิริยาที่ไม่พอใจในความดีทั้งที่มีอยู่ของผู้อื่น

คำว่า “อิสฺสา” นี้ เราไม่คุ้นในภาษาไทย จึงควรขยายความอีกเล็กน้อย กล่าวคือ บทวิเคราะห์ (คือการกระจายคำเพื่อหาความหมาย) ของคำว่า “อิสฺสา” ท่านแสดงเป็นสูตรไว้ว่า “อิสฺสติ สนฺเตสุปิ คุเณสุ วจสา มนสา วา โทสาโรปนํ กโรตีติ อิสฺสา” แปลเต็มความว่า “กิริยาที่ไม่พอใจในความดีทั้งที่มีอยู่ของผู้อื่น คือทำการยกความผิด (ข้อบกพร่อง ข้อเสียหายของผู้อื่น) ด้วยการพูด หรือด้วยการคิด

ขยายความว่า : เมื่อเห็นผู้อื่นได้รับผลดีจะเนื่องด้วยเขามีคุณความดีหรือด้วยเหตุอย่างใดๆ ก็ตาม ก็ไม่พอใจ ความไม่พอใจนั้นอาจแสดงออกมาเป็นคำพูด หรือแม้ไม่พูดออกมาก็ครุ่นคิดขุ่นมัวอยู่ในใจตัวเอง นี่คือ “อิสฺสา

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อิสฺสา” ว่า jealousy, anger, envy, ill-will (ความอิจฉา, ความโกรธเคือง, ความริษยา, เจตนาร้าย)

คำว่า “อิสฺสา” นี้ เราใช้อิงรูปสันสกฤตเป็น “ริษยา

คราวนี้มาดูความหมายของคำเหล่านี้ที่เราเอาใช้ในภาษาไทย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) อิจฉา : (คำกริยา) เห็นเขาได้ดีแล้วไม่พอใจ อยากจะมีหรือเป็นอย่างเขาบ้าง (มีความหมายเบากว่า ริษยา). (ป., ส. อิจฺฉา ว่า ความอยาก, ความต้องการ, ความปรารถนา).

(2) อิสสา : (คำนาม) ความหึงหวง, ความชิงชัง. (ป.; ส. อีรฺษฺยา).

(3) ริษยา : (คำกริยา) อาการที่ไม่อยากให้คนอื่นได้ดี, เห็นเขาได้ดีแล้วทนนิ่งอยู่ไม่ได้. (ส. อีรฺษฺยา; ป. อิสฺสา).

โปรดสังเกตเป็นพิเศษที่คำว่า “อิจฉา” ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นความหมายของ “ริษยา” และโปรดอย่าลืมว่า “ริษยา” ก็คือ “อิสฺสา” ในบาลี

สรุปว่า ในบาลีมีทั้ง “อิจฺฉา” (ความปรารถนา, ความประสงค์, ความอยากได้ – wish, longing, desire) และ “อิสฺสา” (คือ “ริษยา” ความโกรธเคือง, ความริษยา, เจตนาร้าย – jealousy, anger, envy, ill-will) และคำบาลีเมื่อเอามาใช้ในภาษาไทย บางคำความหมายเคลื่อนที่หรือผิดเพี้ยนไปจากเดิม

อภิปราย :

มีผู้แสดงความเห็น (ซึ่งอาจถือว่าเป็นทฤษฎี) ว่า คำว่า “อิสฺสา” ในบาลีนี้คนในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยออกเสียงถูกต้อง คือออกเสียงว่า อิด-สา (อย่าลืมว่า “อิสฺสา” คือ “ริษยา” : อาการที่ไม่อยากให้คนอื่นได้ดี, เห็นเขาได้ดีแล้วทนนิ่งอยู่ไม่ได้ – jealousy, anger, envy, ill-will)

แต่คำว่า “อิสฺสา” ในบาลีนี้ คนในแถบภาคกลางของไทยออกเสียงเพี้ยนไปเป็น “อิจฉา” (รูปและเสียงไปตรงกับ “อิจฺฉา” ความปรารถนา, ความประสงค์, ความอยากได้ – wish, longing, desire)

ดังนั้น “อิจฉา” ในภาษาไทยจึงหมายถึง “เห็นเขาได้ดีแล้วไม่พอใจ อยากจะมีหรือเป็นอย่างเขาบ้าง” โดยเฉพาะความหมายที่ว่า “เห็นเขาได้ดีแล้วไม่พอใจ” นั้น เป็นความหมายของ “อิสฺสา” ในบาลีตรงๆ

สรุปทฤษฎีว่า “อิจฉา” ต้องหมายถึง “เห็นเขาได้ดีแล้วไม่พอใจ” อันเป็นความหมายของ “อิสสา” ก็เพราะ “อิจฉา” คือ “อิสสา” ที่คนภาคกลางออกเสียงเพี้ยนนั่นเอง

ถ้าทฤษฎีนี้ถูกต้อง : คำว่า “อิจฉา” คนภาคกลางของไทยออกเสียงเพี้ยนมาจากคำว่า “อิสฺสา” ในบาลี ดังนั้น ความหมายของ “อิจฉา” ในภาษาไทยจึงเป็นความหมายของ “อิสฺสา” ในบาลี

ก็จะต้องมีคำตอบสำหรับคำที่จะยกมาเป็นตัวอย่างเหล่านี้ —

– คำว่า “โมโห” ในบาลีหมายถึง ความหลง แต่ในภาษาไทยหมายถึง ความโกรธ

– คำว่า “สงสาร” ในบาลีหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ในภาษาไทยหมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น

– คำว่า “เวทนา” ในบาลีหมายถึง “เสวยอารมณ์” คือความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ แต่ในภาษาไทยหมายถึง สังเวชสลดใจ

ถามว่า คำว่า “โมโห” “สงสาร” “เวทนา” คนภาคกลางของไทยออกเสียงเพี้ยนมาจากคำอะไรในบาลี?

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ความอยากเป็นธรรมชาติของมนุษย์

: การควบคุมความอยากไว้ให้ดีที่สุดเป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่เจริญแล้ว

#บาลีวันละคำ (2,391)

29-12-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย