บาลีวันละคำ

ธนบุรี (บาลีวันละคำ 2,390)

ธนบุรี

มรดกของชาติที่ถูกเมิน

ประกอบด้วยคำว่า ธน + บุรี

(๑) “ธน

บาลีอ่านว่า ทะ-นะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ธนฺ (ธาตุ = ส่งเสียง) + ปัจจัย

: ธนฺ + = ธน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันผู้คนออกเสียงว่าเป็นของเรา” (คือแสดงความเป็นเจ้าของด้วยความชื่นชม)

(2) ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + ปัจจัย, แปลง เป็น

: ชนฺ + = ชน > ธน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งยังภาวะคนจนให้เกิด” (คำแปลนี้ฟังเหมือนขัดแย้ง คือถ้ามี “ธน” ความจนก็จะไม่เกิด แต่มองในมุมกลับก็คือ “เพราะไม่มีสิ่งนี้ จึงทำให้มีคนจน”)

ธน” (นปุงสกลิงค์) หมายถึง ทรัพย์สมบัติ, โดยปกติได้แก่ทรัพย์สินเงินทอง, ความร่ำรวย, สมบัติ (wealth, usually wealth of money, riches, treasures)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ธน, ธน– : (คำนาม) ทรัพย์สิน. (ป., ส.).”

(๒) “บุรี

บาลีเป็น “ปุรี” รากศัพท์มาจาก ปุร + อี ปัจจัย

(ก) “ปุร” (ปุ-ระ) รากศัพท์มาจาก –

(๑) ปุ (ธาตุ = รักษา) + ปัจจัย

: ปุ + = ปุร แปลตามศัพท์ว่า “ที่ที่รักษาประชาชนจากอำนาจของศัตรู

(๒) ปุรฺ (ธาตุ = รักษา) + ปัจจัย

: ปุรฺ + = ปุร แปลตามศัพท์ว่า “ที่ที่รักษาประชาชน

ปุร” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้

(1) เมือง, ป้อม, บุรี (a town, fortress, city)

(2) ที่อยู่อาศัย, บ้านหรือส่วนที่แยกกันของบ้าน (dwelling, house or divided part of a house)

ความหมายในข้อ (2) นี้ เช่นในคำว่า “อนฺเตปุร” หมายถึง ห้องของสตรี, ที่อยู่ของสนมกำนัล, สำนักนางใน (lady’s room, harem)

(3) ร่างกาย (the body)

(ข) ปุร + อี ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ปุร + อี = ปุรี (ปุ-รี) มีความหมายเท่ากับ “ปุร

ธน + ปุรี = ธนปุรี (ทะ-นะ-ปุ-รี) > ธนบุรี แปลตามศัพท์เท่าที่ตาเห็นว่า “เมืองที่มีทรัพย์

ธนบุรี” เป็นชื่อเมืองหลวงในอดีตของไทย

คำว่า “ธนบุรี” อ่านอย่างไร?

ตามหลักภาษาควรอ่านว่า ทะ-นะ-บุ-รี แต่ไม่มีใครอ่านแบบนั้น ได้ยินแต่อ่านกันว่า ทน-บุ-รี

เอกสารแสดงชื่อจังหวัด เขต อำเภอ ของราชบัณฑิตยสภา สะกดคำว่า “ธนบุรี” เป็นอักษรโรมันว่า Thon Buri เป็นอันยืนยันว่าชื่อนี้อ่านเป็นทางการว่า ทน-บุ-รี

ความในใจ :

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชที่กรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่าเมื่อพุทธศักราช 2310 แล้วทรงสถาปนา “ธนบุรี” ขึ้นเป็นเมืองหลวงของไทย ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พุทธศักราช 2311

ยุคสมัยของกรุงธนบุรีสิ้นสุดลงเมื่อมีการสถาปนามหาจักรีบรมราชวงศ์ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2325 และย้ายเมืองหลวงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาสถาปนาเป็นกรุงเทพมหานครเมืองหลวงแห่งใหม่ “ธนบุรี” จึงค่อยๆ ร่วงโรยลงนับแต่นั้นมา

สมัยหนึ่ง “ธนบุรี” มีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย

ต่อมามีการยุบรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกัน เรียกชื่อว่า “นครหลวงกรุงเทพ-ธนบุรี”

ต่อมาอีก มีการปรับปรุงส่วนราชการใหม่ ยกเลิกนครหลวงกรุงเทพ-ธนบุรี ตั้ง “กรุงเทพมหานคร” ขึ้นมาแทน “ธนบุรี” ถูกลดฐานะลงเป็นเพียงเขตหนึ่งของกรุงเทพมหานครเท่านั้น

ใครจะเชื่อบ้างว่า เมืองหลวงของมหาราชผู้กอบกู้เอกราชของชาติไทยจะถูกลบศักดิ์ศรีลงไปได้ถึงเพียงนี้

ชาติที่เจริญแล้วเขามีแต่จะรักษาพื้นที่ท้องถิ่นที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เอาไว้เป็นมรดกของแผ่นดิน ให้คนในชาติได้ศึกษา ได้เกิดความภาคภูมิใจในชาติบ้านเมืองของตน

แต่ประเทศไทยทำตรงกันข้าม

ยิ่งในยุคสมัยที่เด็กไทยไม่สนใจประวัติศาสตร์ของชาติตัวเองด้วยแล้ว กรุง “ธนบุรี” นับวันจะดับสูญไปโดยเร็วพลัน

ธนบุรี” นับว่าเป็นกรุงที่อาภัพที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย

…………..

28 ธันวาคม “วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช”

…………..

ดูก่อนภราดา!

ถ้าไม่มีกรุงธนบนแผ่นดินนี้

กรุงเทพจะมีมาแต่ไหน

แผ่นดินเกิดเรายังไม่ภูมิใจ

แล้วจะหวังให้ใครนับถือเรา

#บาลีวันละคำ (2,390)

28-12-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *