บาลีวันละคำ

สีหบัญชร (บาลีวันละคำ 2,516)

สีหบัญชร

อ่านว่า สี-หะ-บัน-ชอน

ประกอบด้วยคำว่า สีห + บัญชร

(๑) “สีห

บาลีอ่านว่า สี-หะ รากศัพท์มาจาก –

(1) สีหฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย

: สีหฺ + = สีห แปลตามศัพท์ว่า “สัตว์ที่เบียดเบียนพวกกวาง

(2) สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + อีหฺ (ธาตุ = พยายาม) + ปัจจัย, ลบ , ลบนิคหิตที่ สํ (สํ > )

: สํ > + อีหฺ = สีหฺ + = สีหณ > สีห แปลตามศัพท์ว่า “สัตว์ที่พยายามพร้อมที่จะฆ่าพวกกวาง

(3) สหฺ (ธาตุ = อดทน) + ปัจจัย, แปลง อะ ที่ -(หฺ) เป็น อี (สหฺ > สีห)

: สหฺ + = สหฺ > สีห แปลตามศัพท์ว่า “สัตว์ที่อดทน

สีห” (ปุงลิงค์) หมายถึง สิงโต, ราชสีห์ (a lion)

บาลี “สีห” สันสกฤตเป็น “สึห” (สิง-หะ)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

สึห : (คำนาม) ‘สิงห์,’ เกสริน, สัตว์มีผมคอ; สิงหราศิ, ราศีสิงห์; ต้นมะเขือ; มารดาของราหุหรือราหู; พาลพฤกษ์; ต้นพฤหดีหรือตรังตังช้าง; a lion; Leo, the sign of the zodiac; the egg-plant; the mother of Rahu; a shrub; the prickly night-shade. – (คุณศัพท์) (คำใช้ในการรจนา) วิศิษฏ์; เอก; (In composition) pre-eminent; chief.”

สึห” รูปคำสันสกฤต เราเอามาใช้ในภาษาไทยว่า “สิงห์” อ่านว่า สิง

สีห” รูปคำบาลี เราเอามาใช้ในภาษาไทย การันต์ที่ เป็น “สีห์” อ่านว่า สี

(๒) “บัญชร

บาลีเป็น “ปญฺชร” (ปัน-ชะ-ระ) รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + ชรฺ (ธาตุ = ถึงความเสื่อม, แก่) + ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมระหว่างอุปสรรคกับธาตุแล้วแปลงนิคหิตเป็น ญฺ ( + อํ = ปํ > ปญฺ + ชรฺ)

: + อํ = ปํ > ปญฺ + ชรฺ = ปญฺชรฺ + = ปญฺชร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ถึงความเสื่อมไปตามปกติ

ปญฺชร” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ร่างกาย (the body)

(2) ซี่โครง (the skeleton)

(3) กรง (a cage)

(4) ช่อง (slit)

บาลี “ปญฺชร” สันสกฤตก็เป็น “ปญฺชร

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ปญฺชร : (คำนาม) ‘ปัญชร, บัญชร,’ กัญกาลหรือกระดูกร่างกาย, ‘โครงร่าง’ ก็เรียก; กรงนก; กุฏิ์นกพิลาป; ซี่โครง; ร่าง, กาย; กลิยุค; ผู้ผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก; the skeleton; a cage, an aviary, a dove-cot; the ribs; the body; the Kaliyuga or Kaliyug; a skeleton, a very lean person.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บัญชร : (คำนาม) กรง, ซี่กรง; (ราชาศัพท์) หน้าต่างพระที่นั่ง พระมหาปราสาท ในพระราชวัง. (ป., ส. ปญฺชร).”

สีห + ปญฺชร = สีหปญฺชร แปลตามศัพท์ว่า “ช่องที่ประกอบด้วยรูปสิงห์” หมายถึง หน้าต่าง (a window)

สีหปญฺชร” ในภาษาไทยใช้เป็น “สีหบัญชร” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สีหบัญชร : (ราชาศัพท์) (คำนาม) หน้าต่างที่พระมหากษัตริย์เสด็จออกให้เข้าเฝ้า เช่น สีหบัญชรที่พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต สีหบัญชรที่พระที่นั่งสุทไธศวรรย์ปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง.”

ดูเพิ่มเติม: “สีหปญฺชร” บาลีวันละคำ (262) 26-1-56

…………..

หนังสือ “ประมวลองค์ความรู้พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” กระทรวงวัฒนธรรมจัดพิมพ์เนื่องในมหามงคลการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 หน้า 142 อธิบายคำว่า “สีหบัญชร” มีข้อความดังนี้

…………..

สีหบัญชร (สี-หะ-บัน-ชอน)

หน้าต่างของพระที่นั่ง ที่พระมหากษัตริย์เสด็จออกให้ข้าราชการและประชาชนเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในโอกาสสำคัญ มีลักษณะเป็นระเบียงยื่นออกไป เช่น สีหบัญชรที่พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต สีหบัญชรที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จออก ณ สีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อให้ประชาชนเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล

ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พสกนิกรเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล ณ สีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาทเช่นเดียวกัน

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เมื่อมีรักเปี่ยมใจไม่รู้จาง

: ก็จงร่วมเปิดหน้าต่างกับคนที่รู้ใจ

#บาลีวันละคำ (2,516)

3-5-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย