บาลีวันละคำ

บุญ – กุศล (บาลีวันละคำ 2,614)

บุญกุศล

ในแง่แนวคิดทางธรรม –

ทำบุญ แต่อาจไม่ได้กุศล

(๑) “บุญ

บาลีเป็น “ปุญฺญ” อ่านว่า ปุน-ยะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ปุ (ธาตุ = ชำระ สะอาด) + ณฺย ปัจจัย, ลง อาคม, ลบ ณฺ, แปลง นฺย (คือ อาคม + (ณฺ)- ปัจจัย) เป็น , ซ้อน ญฺ

: ปุ + + ณฺย = ปุนณฺย > ปุนฺย > (+ ญฺ) = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “กรรมที่ชำระสันดานของตนให้สะอาด” “กรรมที่ชำระผู้ทำให้สะอาด

(2) ปุชฺช (น่าบูชา) + ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ชฺช, และ , แปลง นฺย เป็น , ซ้อน ญฺ

: ปุชฺช + ชนฺ + = ปุชฺชชนฺ + ณฺย = ปุชฺชชนณฺย > ปุชนณฺย > ปุนณฺย > ปุนฺย > (+ ญฺ) = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “สภาวะอันทำให้เกิดความน่าบูชา

(3) ปุณฺณ (เต็ม) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺณ, และ , แปลง รย (คือ ที่ กรฺ + ที่ ณฺ) เป็น , ซ้อน ญฺ

: ปุณฺณ + กรฺ = ปุณฺณกร + ณฺย = ปุณฺณกรณฺย > ปุกรณฺย > ปุรณฺย > ปุรฺย > ปุ (+ ญฺ) = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “การกระทำอันทำให้เต็มอิ่มสมน้ำใจ

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต แปล “บุญ” เป็นอังกฤษว่า merit; meritorious action; virtue; righteousness; moral acts; good works. adj. meritorious; good.

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปุญฺญ” ว่า merit, meritorious action, virtue (บุญ, กรรมดี, ความดี, กุศล)

ปุญฺญ” สันสกฤตเป็น “ปุณฺย

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ปุณฺย : (คำคุณศัพท์) ‘บุณย, บุณย์,’ สาธุ, บริศุทธ์, ธรรมิก; สวย, น่ารัก; หอม; virtuous, pure, righteous; beautiful, pleasing; fragrant;- (คำนาม) สทาจาร, คุณธรรม; บุณย์หรือกรรมน์ดี; ความบริศุทธิ; virtue, moral or religious merit; a good action; purity.”

ปุญฺญ” ภาษาไทยใช้ว่า “บุญ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –

บุญ, บุญ– : (คำนาม) การกระทําดีตามหลักคําสอนในศาสนา; ความดี, คุณงามความดี. (คำวิเศษณ์) ดี เช่น คนใจบุญ, มีคุณงามความดี เช่น คนมีบุญ. (ป. ปุญฺญ; ส. ปุณฺย).”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 แก้คำนิยามใหม่เป็นว่า –

บุญ, บุญ– : (คำนาม) ความสุข เช่น หน้าตาอิ่มบุญ; การกระทําดีตามหลักคําสอนในพระพุทธศาสนา เช่น ไปทำบุญที่วัด; ความดี เช่น ปล่อยนกปล่อยปลาเอาบุญ, คุณงามความดี เช่น เขาทำบุญช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก, ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น เช่น คนใจบุญ, ผลของการทำความดีจากชาติปางก่อน เช่น เขามีบุญจึงเกิดมาบนกองเงินกองทอง. (ป. ปุญฺญ; ส. ปุณฺย).”

(๒) “กุศล” ( –ศล ศาลา)

บาลีเป็น “กุสล” ( –สล เสือ) อ่านว่า กุ-สะ-ละ รากศัพท์มาจาก –

(1) กุส (กิเลส; หญ้าคา; โรค) + ลุ (ธาตุ = ตัด) + ปัจจัย, “ลบสระหน้า” คือลบ อุ ที่ ลุ (ลุ > )

: กุส + ลุ = กุสลุ > กุสล + = กุสล แปลตามศัพท์ว่า (1) “กรรมดีที่ตัดกิเลสอันนอนเนื่องอยู่ในสันดาน” (2) “กรรมที่ตัดบาปธรรมได้เหมือนหญ้าคา” (“ธรรมที่ตัดความชั่วอันเป็นดุจหญ้าคา”) (3) “ภาวะที่ตัดโรคอันนอนเนื่องอยู่ในร่างกายออกไปได้” (ตามข้อ (3) นี้หมายถึงความไม่มีโรค)

(2) กุ (แทนศัพท์ “กุจฺฉิต” = น่าเกลียด, น่ารังเกียจ) + สลฺ (ธาตุ = หวั่นไหว; ปิด, ป้องกัน) + ปัจจัย

: กุ + สลฺ = กุสล + = กุสล แปลตามศัพท์ว่า (1) “กรรมที่ยังบาปธรรมอันน่ารังเกียจให้หวั่นไหว” (2) “กรรมเป็นเครื่องปิดประตูอบายที่น่ารังเกียจ

(3) กุส (ญาณ, ความรู้) + ลา (ธาตุ = ถือเอา) + ปัจจัย, “ลบสระหน้า” คือลบ อา ที่ ลา (ลา > )

: กุส + ลา = กุสลา > กุสล + = กุสล แปลตามศัพท์ว่า (1) “กรรมที่พึงถือเอาได้ด้วยญาณที่ทำให้บาปเบาบาง” (“ความรู้ที่ทำความชั่วร้ายให้เบาบาง”) (2) “ผู้ถือเอากิจทั้งปวงด้วยปัญญา

กุสล” ถ้าเป็นคำนาม (นปุงสกลิงค์) หมายถึง ความดีงาม, กรรมดี, สิ่งที่ดี, กุศลกรรม, บุญ (good thing, good deeds, virtue, merit, good consciousness)

กุสล” ถ้าเป็นคุณศัพท์ มีความหมายว่า ฉลาด, เฉียบแหลม, สันทัด, ชำนาญ; ดีงาม, ถูกต้อง, เป็นกุศล (clever, skilful, expert; good, right, meritorious)

บาลี “กุสล” เราใช้อิงสันสกฤตเป็น “กุศล

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กุศล : (คำนาม) สิ่งที่ดีที่ชอบ, บุญ. (คำวิเศษณ์) ฉลาด. (ส.; ป. กุสล).”

อภิปราย :

ที่แสดงมาข้างต้นนั้นเป็นแนวหลักภาษา ที่จะแสดงต่อไปนี้เป็นแนวคิดทางธรรม

แนวคิดทางธรรมนี้ขออนุญาตที่จะไม่เอาหลักภาษามาร่วมตัดสิน ใช้เพียงแนวคิดเท่านั้น

2 คำนี้ บางทีเราก็นิยมพูดควบกันเป็น “บุญกุศล” และเข้าใจกันว่า “บุญ” กับ “กุศล” เป็นอย่างเดียวกัน บางทีเราใช้คำพูดคนละคำ แต่หมายถึงการกระทำอย่างเดียวกัน เช่น แบ่งส่วนบุญ อุทิศส่วนกุศล

ในแง่คิดทางธรรม ท่านบอกว่า “บุญ” กับ “กุศล” ไม่เหมือนกัน

บุญ” คือความดี

กุศล” คือความฉลาด หรือความรู้

บุญ” อาจทำได้โดยเพียงแต่มีศรัทธา

แต่จะเป็น “กุศล” ต้องมีปัญญากำกับ

ตัวอย่างเช่น มีศรัทธาใส่บาตรทุกเช้า

แค่มีศรัทธาแล้วใส่บาตร ก็ได้ “บุญ” เรียบร้อยแล้ว

แต่จะถึงขั้นได้ “กุศล” ต้องเข้าใจด้วยว่าใส่บาตรทำไม ใส่เพื่ออะไร ใส่แล้วดีอย่างไร ไม่ใส่เสียอย่างไร เป็นต้น

เข้าใจถูกต้องตรงกับความเป็นจริง อย่างนี้จึงจะได้ “กุศล

ทุกวันนี้มีชาวพุทธเป็นอันมากเต็มเปี่ยมด้วยศรัทธาที่จะทำบุญ แต่ขาดปัญญาอันเกิดจากน้ำใจใฝ่รู้-แม้ในเรื่องบุญที่ตนกำลังทำนั่นเอง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: มองแต่กำไร ลืมขาดทุน

: คือทำบุญได้บุญ แต่ไม่ได้กุศล

#บาลีวันละคำ (2,614)

9-8-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย