บาลีวันละคำ

สัคคาวรณ์ – มัคคาวรณ์ (บาลีวันละคำ 2,620)

สัคคาวรณ์มัคคาวรณ์

คำเก่าก่อนที่ขอแนะนำให้รู้จัก

อ่านว่า สัก-คา-วอน / มัก-คา-วอน

ประกอบด้วยคำว่า สัคค + อาวรณ์ / มัคค + อาวรณ์

(๑) “สัคค

เขียนแบบบาลีเป็น “สคฺค” (สัก-คะ) รากศัพท์มาจาก สุ ( = ดี, งาม) + อคฺค ลบ อุ ที่ สุ (สุ > )

อคฺค” มีความหมายว่า เด่น, ยอดเยี่ยม, ดีที่สุด, สูงสุด, สำคัญที่สุด (illustrious, excellent, the best, highest, chief)

: สุ > + อคฺค = สคฺค แปลตามศัพท์ว่า (1) “ที่ดำรงอยู่ยืนนานและสวยงาม” (2) “แดนอันแสนดีเลิศล้ำด้วยกามคุณ” (3) “แดนที่มีอารมณ์อันเลิศ” (คือได้พบเห็นสัมผัสแต่สิ่งที่น่าเพลิดเพลินเจริญใจ) (4) “แดนที่ติดข้อง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล สคฺค ว่า heaven, the next world (สวรรค์, โลกหน้า) แล้วขยายความว่า popularly conceived as a place of happiness and long life (ตามมโนภาพทั่วๆ ไป เข้าใจกันว่าเป็นสถานที่มีควมสุขและมีอายุยืน)

สคฺค” สันสกฤตเป็น “สฺวรฺค” ภาษาไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “สวรรค์” (สะ-หฺวัน)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สวรรค-, สวรรค์ : (คำนาม) โลกของเทวดา, เมืองฟ้า. (ส. สฺวรฺค; ป. สคฺค).”

ตามปกติคำว่า “สคฺค” หมายถึง สวรรค์ที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม 6 ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี

แต่ความหมายในวงกว้าง “สคฺค” หมายถึงเทวโลกทุกภพภูมิ

ในที่นี้ “สคฺค” เขียนเป็น “สัคค” (สัก-คะ)

(๒) “มัคค

เขียนแบบบาลีเป็น “มคฺค” (มัก-คะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) มคฺคฺ (ธาตุ = ไป, ถึง; แสวงหา) + ปัจจัย

: มคฺค + = มคฺค แปลตามศัพท์ว่า (1) “ทางเป็นเครื่องไปสู่ที่ต้องการได้โดยตรง” (2) “ที่อันพวกคนเดินทางแสวงหา” (3) “ธรรมที่ยังบุคคลให้ถึงพระนิพพาน” (4) “ทางอันผู้ต้องการพระนิพพานดำเนินไป

(2) มชฺชฺ (ธาตุ = สะอาด, หมดจด) + ปัจจัย, ลบ , แปลง ชฺชฺ ที่ (ม)-ชฺชฺ เป็น คฺค

: มชฺช + = มชฺชณ > มชฺช > มคฺค แปลตามศัพท์ว่า “ที่ที่สะอาดโดยพวกคนเดินทาง

(3) (นิพพาน) + คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ปัจจัย, ซ้อน คฺ ระหว่าง + คมฺ, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ (คมฺ > )

: + คฺ + คมฺ = มคฺคม > มคฺค + = มคฺค แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมเป็นเครื่องถึงพระนิพพาน

(4) (กิเลเส มาเรติ = ฆ่ากิเลส) + (คจฺฉติ = ไป), ซ้อน คฺ

: + คฺ + = มคฺค แปลตามศัพท์ว่า “วิธีที่ไปฆ่ากิเลส

มคฺค” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ถนน, ถนนใหญ่, ทาง, ทางเท้า (a road, high road, way, foot-path)

(2) ทางแห่งศีลธรรมและสัมมาชีพ, สัมมามรรคหรือทางที่ชอบธรรม (the road of moral & good living, the path of righteousness) คือมรรคในอริยสัจสี่

(3) ขั้นตอนของการบรรลุธรรม (Stage of righteousness) คือมรรคที่คู่กับผล

ในที่นี้ “มคฺค” เขียนเป็น “มัคค” (มัก-คะ) ใช้ในความหมายตามข้อ (3) คือมรรคผล หรือเรียกควบกันไปว่า มรรคผลนิพพาน

(๓) “อาวรณ์

เขียนแบบบาลีเป็น “อาวรณ” อ่านว่า อา-วะ-ระ-นะ รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + วรฺ (ธาตุ = ห้าม, ป้องกัน) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) แล้วแปลง เป็น

: อา + วรฺ = อาวรฺ + ยุ > อน = อาวรน > อาวรณ แปลตามศัพท์ว่า “ห้ามทั่วไป

อาวรณ” ในบาลี:

– เป็นคำนาม หมายถึง การกีดขวาง, อุปสรรค, การขัดขวาง (hindrance, obstruction, bar)

– เป็นคุณศัพท์ หมายถึง ปิดกั้น, ไม่ให้เข้า, ต้านทาน (shutting off, barring out, withstanding)

บาลี “อาวรณ” ภาษาไทยใช้เป็น “อาวรณ์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

อาวรณ์ : (คำกริยา) ห่วงใย, อาลัย, คิดกังวลถึง, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ อาลัย เป็น อาลัยอาวรณ์. (คำนาม) เครื่องกั้น, เครื่องกําบัง. (ป., ส.).”

การประสมคำ :

สคฺค + อาวรณ = สคฺคาวรณ (สัก-คา-วะ-ระ-นะ) แปลว่า “ปิดกั้นสวรรค์” เขียนในภาษาไทยเป็น “สัคคาวรณ์” (สัก-คา-วอน)

มคฺค + อาวรณ = มคฺคาวรณ (มัก-คา-วะ-ระ-นะ) แปลว่า “ปิดกั้นมรรคผล” เขียนในภาษาไทยเป็น “มัคคาวรณ์” (มัก-คา-วอน)

ขยายความ :

สัคคาวรณ์” และ “มัคคาวรณ์” เป็นคำเก่าที่นักอธิบายธรรมรุ่นก่อนๆ ท่านนิยมใช้

สัคคาวรณ์” หมายถึง กรรมชั่วที่เมื่อทำแล้วมีผลทำให้ผู้ทำหมดโอกาสที่จะได้ไปเกิดในสุคติภูมิคือสวรรค์ เรียกว่า “กรรมที่เป็นสัคคาวรณ์” เรียกสั้นๆ ว่า “ห้ามสวรรค์

มัคคาวรณ์” หมายถึง กรรมชั่วที่เมื่อทำแล้วมีผลทำให้ผู้ทำหมดโอกาสที่จะได้บรรลุมรรคผล คือไม่สามารถบรรลุธรรมถึงระดับที่เป็นอริยบุคคลได้ เรียกว่า “กรรมที่เป็นมัคคาวรณ์” เรียกสั้นๆ ว่า “ห้ามนิพพาน” (เพราะเมื่อห้ามอริยมรรคก็เท่ากับห้ามนิพพานไปด้วยในตัว)

กรรมชั่วบางชนิดเป็น “มัคคาวรณ์” (ห้ามนิพพาน) แต่ไม่เป็น “สัคคาวรณ์” (ห้ามสวรรค์) เช่น ภิกษุล่วงละเมิดอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกษุ ในชีวิตนี้ไม่อาจบรรลุมรรคผลได้ (ห้ามนิพพาน)

แต่เมื่อออกมาเป็นคฤหัสถ์ยังสามารถทำบุญอันเป็นเหตุให้ไปเกิดในสุคติภูมิคือสวรรค์ได้ (ไม่ห้ามสวรรค์)

กรรมชั่วบางชนิดเป็น “มัคคาวรณ์” (ห้ามนิพพาน) ด้วย เป็น “สัคคาวรณ์” (ห้ามสวรรค์) ด้วย เช่น คนทำปิตุฆาต ฆ่าพ่อ มาตุฆาต ฆ่าแม่ นิพพานไปไม่ได้แน่ ทั้งสวรรค์ก็ไปไม่ได้ด้วย (ทำชั่วบางชนิดไปนิพพานไม่ได้ แต่ยังไปสวรรค์ได้)

กรรมที่เป็น “มัคคาวรณ์” (ห้ามนิพพาน) อาจไม่ห้ามสวรรค์

แต่กรรมที่ “สัคคาวรณ์” (ห้ามสวรรค์) ย่อมห้ามนิพพานด้วยเสมอ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าเกรงจะเป็นเหยื่อ

ก็ยังไม่ต้องเชื่อเรื่องนรกสวรรค์

: รอไว้เมื่อถึงวัน

ก็จะได้เจอกับของจริง

#บาลีวันละคำ (2,620)

15-8-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย