บาลีวันละคำ

ธัญพืช (บาลีวันละคำ 2,631)

ธัญพืช

อ่านว่า ทัน-ยะ-พืด

ประกอบด้วยคำว่า ธัญ + พืช

(๑) “ธัญ

บาลีเขียน “ธญฺญ” อ่านว่า ทัน-ยะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ธาน (การเลี้ยง) + ปัจจัย, รัสสะ อา ที่ ธน เป็น อะ (ธาน > ธน), แปลง นฺย (คือ – ที่ ธาน และ ปัจจัย) เป็น , ซ้อน ญฺ

: ธาน + = ธานฺย > ธนฺย > + ญฺ + = ธญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่มีการเลี้ยงเป็นความดี” (คือดีในทางเลี้ยงผู้คน)

(2) ธนฺ (ธาตุ = ปรารถนา) + ปัจจัย, แปลง นฺย เป็น , ซ้อน ญฺ

: ธนฺ + = ธนฺย > + ญฺ + = ธญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันผู้คนปรารถนา

ธญฺญ” (นปุงสกลิงค์) ในที่นี้หมายถึง ข้าวเปลือก, ข้าว (grain, corn)

นอกจากนี้ “ธญฺญ” ยังแปลตามศัพท์ว่า “ซึ่งอุดมด้วยข้าว” หมายถึง ร่ำรวย; มีความสุข, มีโชคดี, มีเคราะห์ดี (“rich in corn” : rich; happy, fortunate, lucky)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) ธัญ ๑ : (คำแบบ)* (คำวิเศษณ์) รุ่งเรือง, มั่งมี, มีโชค, ดี, เลิศ, เช่น ธัญลักษณ์ ว่า มีลักษณะดี. (ป. ธญฺญ; ส. ธนฺย).

(2) ธัญ ๒, ธัญ– : (คำนาม) ข้าวเปลือก. (ป. ธญฺญ; ส. ธานฺย).

* “คำแบบ” หมายถึง คำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป

(๒) “พืช

บาลีเป็น “พีช” (พี-ชะ) รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + กฺวิ ปัจจัย, ทีฆะ อิ ที่ วิ เป็น อี (วิ > วี), แปลง เป็น , ลบที่สุดธาตุ คือ (ชนฺ > ) และลบ กฺวิ

: วิ + ชนฺ = วิชนฺ + กฺวิ = วิชนกฺวิ > วีชนกฺวิ > พีชนกฺวิ > พีชน > พีช แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่เกิดโดยวิเศษ” (2) “สิ่งที่เป็นเหตุเกิดแห่งสิ่งทั้งหลาย” (3) “อวัยวะที่เกิดโดยปราศจากปัจจัย

พีช” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) เมล็ดพืช (seed)

(2) เชื้อ (germ)

(3) น้ำกาม (semen)

(4) ไข่ (spawn)

(5) ธาตุ (element)

บาลี “พีช” ในภาษาไทยใช้เป็น “พืช

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

พืช : (คำนาม) สิ่งมีชีวิตที่โดยทั่วไปสร้างอาหารเองโดยการสังเคราะห์แสง, เมล็ดพันธุ์ไม้, สิ่งที่จะเป็นพันธุ์ต่อไป, พืชพันธุ์ ก็ใช้. (ป. พีช; ส. วีช); พรรณไม้ที่งอกอยู่ตามที่ต่าง ๆ, พืชพรรณ ก็ใช้.”

ธัญ + พืช = ธัญพืช

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ธัญพืช : (คำนาม) พืชล้มลุกหลายชนิดหลายสกุล มักหมายถึงพืชในวงศ์ Gramineae เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ให้เมล็ดเป็นอาหารหลัก. (ป. ธญฺญพีช; ส. ธานฺยวีช).”

อภิปราย :

เวลานี้มีความนิยมหรือความเชื่อกันว่า รับประทาน “ธัญพืช” จะทำให้สุขภาพดี

ธัญพืช” ในความเข้าใจของคนไทยก็คือพืชที่ “ให้เมล็ดเป็นอาหารหลัก” แต่จะเป็นอะไรบ้าง คงจะขึ้นอยู่กับตำราของแต่ละสำนักหรือแต่ละบริษัทที่ผลิตออกมาสนองความต้องการ

ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาแสดงรายการ “ธัญพืช” ไว้ 7 ชนิด คือ –

(1, 2) สาลิ และ วีหิ = ข้าวเจ้า (rice-sorts)

(3) ยว = ข้าวเหนียว (barley)

(4) โคธุม = ข้าวสาลี (wheat)

(5) กงฺุคุ = ข้าวเดือย (millet)

(6) วรก = ถั่ว (beans)

(7) กุทฺรูสก = หญ้ากับแก้ (a kind of grain)

อีกแห่งหนึ่งระบุรายการ “ธัญพืช” ไว้ 6 ชนิด คือ –

(1) สาลิ = ข้าว (rice)

(2) วีหิ = ข้าวเปลือก, ต้นข้าว (rice, paddy)

(3) มุคฺค = ถั่วชนิดหนึ่ง, ถั่วเขียว (a kind of kidney-bean, Phaseolus mungo)

(4) มาส = ถั่ว, ถั่วราชมาส (a bean)

(5) ติล = ต้นงาและเมล็ดงา, พืชเมล็ดงา (the sesame plant & its seed [usually the latter, out of which oil is prepared], Sesamum Indicum)

(6) ตณฺฑุลฺ = เมล็ดข้าว, ข้าวสาร (rice-grain, rice husked & ready for boiling)

หมายเหตุ : ภาษาอังกฤษในวงเล็บเป็นคำแปลจาก THE PALI TEXT SOCIETY’S PALI-ENGLISH DICTIONARY edited by T. W. RHYS DAVIDS เพื่อประกอบการพิจารณาของท่านที่สนใจ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: มีคนเป็นอันมากยอมเสียเวลาและเสียเงินทอง

เพื่อหาคำตอบว่าทำอย่างไรจึงจะสุขภาพดี

: แต่แทบจะไม่มีใครยอมเสียเวลาถามตัวเองว่า

จะเอาสุขภาพดีไปทำอะไร

#บาลีวันละคำ (2,631)

26-8-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย