บาลีวันละคำ

สวัสดิวัตน์ (บาลีวันละคำ 2,632)

สวัสดิวัตน์

นามสกุลดัง ระวังอย่าเขียนผิด

อ่านว่า สะ-หฺวัด-ดิ-วัด

ประกอบด้วยคำว่า สวัสดิ + วัตน์

(๑) “สวัสดิ

บาลีเป็น “สุวตฺถิ” อ่านว่า สุ-วัด-ถิ รากศัพท์มาจาก สุ (คำอุปสรรค = ดี, งาม) + อตฺถิ ( = มี, เป็น)

(1) “อตฺถิ” เป็นคำกริยา รากศัพท์มาจาก อสฺ (ธาตุ = มี, เป็น) ลบที่สุดธาตุ (อสฺ > ) + ติ วิภัตติอาขยาต ปฐมบุรุษ เอกพจน์, แปลง ติ เป็น ตฺถิ

: อสฺ > + ติ > ตฺถิ : + ตฺถิ = อตฺถิ แปลว่า ย่อมมี, ย่อมเป็น

(2) สุ + อตฺถิ :

สุ แผลงเป็น สุว + อตฺถิ หรือ สุ + (คำประเภท “อาคม”) + อตฺถิ : สุ + + อตฺถิ = สุวตฺถิ (สุ-วัด-ถิ)

(ลองออกเสียง สุอัตถิ เร็วๆ จะได้เสียง สุ-วัด-ถิ หรือ สฺวัด-ถิ)

สุวตฺถิ” สันสกฤตเป็น “สฺวสฺติ” เราเขียนอิงสันสกฤต จึงเป็น “สวัสดิ

สุอตฺถิ = สุวตฺถิ > สฺวสฺติ > สวัสดิ แปลตามศัพท์ว่า “มีดี” หรือ “เป็นดี” หมายถึง ความสวัสดี, ความรุ่งเรือง, ความปลอดภัย; การอยู่ดี, การได้รับพร (well-being, prosperity, safety; well-being, blessing)

หมายเหตุ :

สุ + อตฺถิ ในบาลี ได้รูปเป็นอีกศัพท์หนึ่ง คือ “โสตฺถิ” กระบวนการทางไวยากรณ์คือ แผลง อุ ที่ สุ เป็น โอ

: สุ > โส + อตฺถิ = โสตฺถิ มีความหมายอย่างเดียวกับ สุวตฺถิ

(๒) “วัตน์

ภาษาบาลีเป็น “วตฺตน” (วัด-ตะ-นะ) รากศัพท์มาจาก วตฺตฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: วตฺตฺ + ยุ > อน = วตฺตน แปลตามศัพท์ว่า “การดำเนินไป” หมายถึง การเคลื่อนไป, การบำรุงรักษาไว้, ความเป็นอยู่, การดำเนินต่อไป (moving on, upkeep, existence, continuance)

บาลี “วตฺตน” ในภาษาไทยตัดตัวสะกดออกตัวหนึ่งใช้เป็น “วัตน” ถ้าจะให้อ่านว่า วัด-ตะ-นะ ก็ลงสระ อะ ที่ เป็น “วัตนะ” ถ้าจะให้อ่านว่า วัด ก็ลงการันต์ที่ เป็น “วัตน์” ในที่นี้สะกดเป็น “วัตน์” อ่านว่า วัด

สวัสดิ + วัตน์ = สวัสดิวัตน์ (สะ-หฺวัด-ดิ-วัด) แปลว่า “ดำเนินไปโดยสวัสดี” “ดำรงอยู่อย่างมีความสุขสวัสดี

ขยายความ :

สวัสดิวัตน์” เป็นนามสกุลอันเนื่องด้วยราชสกุลวงศ์ ผู้เป็นต้นราชสกุลนี้คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฎ์ (22 ธันวาคม พ.ศ. 2408 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา เมื่อแรกประสูติพระองค์มีพระอิสริยยศที่ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ

สมเด็จกรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฎ์เป็นพระราชบิดาในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นพระองค์แรก นอกจากนี้ยังทรงเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกาในระหว่าง พ.ศ. 2455-2461

คำว่า “สวัสดิวัตน์” มักมีผู้เขียนผิดเป็น “สวัสดิวัฒน์” -วัน์ ฒ ผู้เฒ่า

สวัสดิวัตน์” -วัน์ ต เต่า สะกด ไม่ใช่ -วัน์ ฒ ผู้เฒ่า โปรดสังเกตให้ดี

ทำนองเดียวกับคำว่า “โลกาภิวัตน์” (-วัน์ ต เต่า สะกด) ก็มักมีผู้สะกดเป็น “โลกาภิวัฒน์” -วัน์ ฒ ผู้เฒ่า ซึ่งเป็นการสะกดผิด คนทั่วไปเมื่อเห็นรูปคำ -วัน์ มักเข้าใจไปว่าคือ -วัน์ ฒ ผู้เฒ่า เพราะคุ้นกับคำนี้

โปรดฉุกคิด จะได้ไม่เขียนผิด

นามสกุล “สวัสดิวัตน์” -วัน์ ต เต่า สะกด

โลกาภิวัตน์” -วัน์ ต เต่า สะกด

…………..

นามสุกล “สวัสดิวัตน์” ที่คนไทยรู้จักกันดีคนหนึ่งคือ หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ศิลปินแห่งชาติ นักร้อง นักแสดง นักจัดรายการ และผู้บุกเบิกรายการทำอาหารในประเทศไทยจนได้รับสมญานามว่า “เชลล์ชวนชิม”

หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 เป็นโอรสองค์ใหญ่ในหม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์ สวัสดิวัตน์ กับ หม่อมเจริญ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา

ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เวลา 11:35 น. ด้วยโรคมะเร็งท่อน้ำดี อายุ 93 ปี

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ตำแหน่งที่คนอื่นแต่งตั้ง อยู่ได้แค่ตาย

: ผลงานที่เราทำด้วยตัวเอง อยู่ได้เลยตาย

#บาลีวันละคำ (2,632)

27-8-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย