บาลีวันละคำ

กันดาร (บาลีวันละคำ 2,666)

กันดาร

คำเดียวยังพอว่า

พอมีคำอื่นมานำหน้า – ผิดทุกที

อ่านว่า กัน-ดาน

บาลีเป็น “กนฺตาร” อ่านว่า กัน-ตา-ระ รากศัพท์มาจาก –

(1) (น้ำ) + ตรฺ (ธาตุ = ข้าม) + ปัจจัย, ลบ , ลงนิคหิตอาคม(อํ) ระหว่างบทหน้ากับธาตุ แล้วแปลงนิคหิตเป็น นฺ ( + อํ + ตรฺ > กํตรฺ > กนฺตรฺ), ทีฆะต้นธาตุ “ด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” (ตรฺ > ตาร)

: + อํ + ตรฺ = กํตรฺ + = กํตรณ > กํตร > กนฺตร > กนฺตาร แปลตามศัพท์ว่า (1) “ภูมิประเทศเป็นที่ข้ามไปได้ด้วยน้ำ” (คือต้องมีน้ำติดไปด้วย) (2) “ภูมิประเทศเป็นที่ยังน้ำดื่มให้ข้ามไปด้วย” (คือต้องขนน้ำดื่มไปด้วย) (3) “ภูมิประเทศที่พึงข้ามได้ด้วยน้ำ

(2) กติ (ธาตุ = ตัด) + อาร ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคม (อํ) ที่ต้นธาตุ แล้วแปลงนิคหิตเป็น นฺ (กติ + อํ = กํติ > กนฺติ), ลบ อิ ที่สุดธาตุ (กติ > กต)

: กติ + อํ ( + อํ + ติ) = กํติ > กํต + อาร = กํตาร > กนฺตาร แปลตามศัพท์ว่า “ภูมิประเทศที่ตัดการไปมาประจำเพราะมีภัยเฉพาะหน้า

(3) (น้ำ) + ทรฺ (ธาตุ = ทำลาย) + ปัจจัย, ลบ , ลงนิคหิตอาคม (อํ) ระหว่างบทหน้ากับธาตุ แล้วแปลงนิคหิตเป็น นฺ ( + อํ + ทรฺ > กํทรฺ > กนฺทรฺ), ทีฆะต้นธาตุ “ด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” (ทรฺ > ทาร), แปลง เป็น

: + อํ + ทรฺ = กํทรฺ + = กํทรณ > กํทร > กนฺทร > กนฺทาร > กนฺตาร แปลตามศัพท์ว่า “ภูมิประเทศอันน้ำทำลาย” (คือขาดน้ำจนผู้คนไม่ไป น้ำจึงเป็นตัวทำลายผู้คนกับภูมิประเทศให้ขาดจากกัน)

กนฺตาร” (ปุงลิงค์) ในภาษาบาลีใช้ในความหมายว่า ยากที่จะผ่าน, ทางที่ลำบาก, ที่ดินที่ปล่อยทิ้ง, ที่อ้างว้าง (difficult to pass, a difficult road, waste land, wilderness)

บาลี “กนฺตาร” (กัน-ตา-ระ) ภาษาไทยใช้เป็น “กันดาร” (กัน-ดาน) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –

กันดาร : (คำวิเศษณ์) อัตคัด, ฝืดเคือง, เช่น กันดารข้าว กันดารน้ำ, ลําบาก, แห้งแล้ง, คํานี้มักใช้แก่เวลา ท้องที่ หรือถิ่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น คราวกันดาร ทางกันดาร ที่กันดาร. (คำนาม) ป่าดง, ทางลําบาก. (ป. กนฺตาร).”

ต่อมา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ปรับปรุงคำนิยามใหม่ เป็นดังนี้ –

กันดาร : (คำวิเศษณ์) อัตคัด, ฝืดเคือง, เช่น กันดารข้าว กันดารน้ำ, ลำบาก, แห้งแล้ง, คำนี้มักใช้แก่เวลา ท้องที่ หรือถิ่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น คราวกันดาร ทางกันดาร ที่กันดาร. (ป. กนฺตาร, ส. กานฺตาร ว่า ป่าดง, ทางลำบาก).”

โปรดสังเกตว่า คำนิยามใหม่ที่ปรับปรุงก็คือ ตัดความหมายที่เป็นคำนาม (ป่าดง, ทางลําบาก) ออก แล้วเอาไปขยายความคำบาลีสันสกฤตในวงเล็บ

เป็นอันว่า “กันดาร” ในภาษาไทยเป็นคำวิเศษณ์ ไม่ใช่คำนาม

ในภาษาบาลี “กนฺตาร” เป็นคำนาม และใช้เป็นคำวิเศษณ์ด้วย

ดูเพิ่มเติม: “กนฺตาร” บาลีวันละคำ (154) 9-10-55

อภิปราย :

คำว่า “กันดาร” ที่คุ้นกันดีในภาษาไทยคำหนึ่งคือ “ทุรกันดาร” (ทุ-ระ-กัน-ดาน)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

ทุรกันดาร : (คำวิเศษณ์) ที่ไปมาลําบากมาก, ที่ห่างไกลความเจริญ.”

ที่น่าประหลาดมหัศจรรย์แปลกใจพิศวงงงงวยยิ่งนักก็คือ ถ้าให้เขียนคำที่อ่านว่า ทุ-ระ-กัน-ดาน นี้ คนส่วนมากจะสะกดเป็น “ธุรกันดาร” คือเขียนเป็น ธุร– ธ ธง ไม่เขียนเป็น ทุร– ท ทหาร

อาจเป็นเพราะเราคุ้นกับรูปคำ ธุร– แต่ไม่คุ้นกับ ทุร

การเขียนผิดเพราะติดมือติดตาติดปากนี่นับว่าเป็นโรคที่แก้ยากที่สุด ยากจนถึงระดับแก้ไม่ได้ – อย่าง “สุคติ” นั่นก็อีกคำหนึ่ง เห็นที่ไหนเป็นต้องเจอ “สุขคติ” ทุกทีไป!

ดูเพิ่มเติม :

ทุรกันดาร [1]” บาลีวันละคำ (640) 15-2-57

ทุรกันดาร [2]” บาลีวันละคำ (1,561) 12-9-59

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เคยมือเคยปากเป็นเรื่องยากที่จะแก้

: แต่ทำเรื่องแย่ๆ จนเคยตัว-นี่น่ากลัวจริงๆ

#บาลีวันละคำ (2,666)

30-9-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย