บาลีวันละคำ

สาหัสสากรรจ์ (บาลีวันละคำ 2,694)

สาหัสสากรรจ์

ไปยังไงมายังไง

อ่านว่า สา-หัด-สา-กัน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สาหัสสากรรจ์ : (คำวิเศษณ์) แสนสาหัส, ร้ายแรงมาก, คอขาดบาดตาย, เช่น ได้รับทุกข์ทรมานอย่างสาหัสสากรรจ์, โดยปริยายหมายความว่า ลำบากยิ่ง เช่น ทางนี้ทุรกันดารสาหัสสากรรจ์ บุกป่าฝ่าดงอย่างสาหัสสากรรจ์.”

พจนานุกรมฯ ไม่ได้บอกว่า “สาหัสสากรรจ์” มาจากภาษาอะไร แต่ที่คำว่า “สาหัส” พจนานุกรมฯ บอกไว้ดังนี้ –

สาหัส : (คำวิเศษณ์) ร้ายแรง เช่น บาดเจ็บสาหัส, รุนแรงเกินควร เช่น ถูกลงโทษอย่างสาหัส. (ป., ส.).”

พจนานุกรมฯ บอกว่า “สาหัส” เป็นคำบาลีสันสกฤต

บาลีมีคำว่า “สาหส” อ่านว่า สา-หะ-สะ รากศัพท์มาจาก สห (กำลัง) + ปัจจัย, ทีฆะต้นศัพท์ คือ อะ ที่ -(ห) เป็น อา (สห > สาห)

: สห + = สหส > สาหส แปลตามศัพท์ว่า “การกระทำอันเกิดจากกำลัง” หมายถึง การใช้กำลัง, การกระทำตามอำเภอใจ, การปฏิบัติที่รุนแรง (violence, arbitrary action, acts of violence) ใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง รุนแรง, รีบเร่ง, ผลุนผลัน (violent, hasty)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “สาหส” บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

สาหส : (คำนาม) ทัณฑ์; พลาตการ (ปรากฤตว่า – พลการ); บีฑา; กรูรตา, ความโหดร้าย; พลาตสัมโภค, รตสัมโภค ( การฉุดคร่า, การข่มขืนชำเรา); ความกล้า; ความจู่หลู่วู่วาม; อาหุดีหรือยัชญพลีด้วยไฟ; punishment; violence; oppression; cruelty; rape, ravishment; boldness; rashness; oblation with fire.”

ส่วนคำว่า “สากรรจ์” พจนานุกรมฯ บอกว่า “คําเลือนมาจาก ฉกรรจ์”

ที่คำว่า “ฉกรรจ์” พจนานุกรมฯ บอกไว้ว่า

ฉกรรจ์ : (คำวิเศษณ์) ห้าวหาญ เช่น ใจฉกรรจ์, แข็งแรงสมบูรณ์ เช่น วัยฉกรรจ์ ชายฉกรรจ์, รุนแรงอาจถึงตาย เช่น แผลฉกรรจ์.”

พจนานุกรมฯ ไม่ได้บอกว่า “ฉกรรจ์” มาจากภาษาอะไร

ผู้เขียนบาลีวันละคำขอเสนอว่า “ฉกรรจ์” แผลงหรือเพี้ยนมาจากคำว่า “สกฺกจฺจ” ในภาษาบาลี

สกฺกจฺจ” อ่านว่า สัก-กัด-จะ ใช้เป็นกริยาวิเศษณ์เป็น “สกฺกจฺจํ” (สัก-กัด-จัง) นักเรียนบาลีแปลกันว่า “โดยเคารพ” พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลว่า respectfully, carefully, duly, thoroughly (โดยเคารพ, โดยระมัดระวัง, โดยถูกต้องหรือสมควร, โดยทั่วถึง)

บาลีมีคำว่า “สกฺกจฺจการี” แปลว่า “ผู้กระทำการอย่างหนักแน่นจริงจัง” พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลคำนี้ว่า zealous

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล zealous เป็นไทยว่า ความเผ็ดร้อน, ใจจดใจจ่อ, กระตือรือร้น, คลั่ง

เป็นความหมายที่น่าจะอนุโลมเข้าในจำพวกเดียวกับ “ห้าวหาญ, แข็งแรงสมบูรณ์, รุนแรง” อันเป็นความหมายของ “ฉกรรจ์

สกฺกจฺจ” เพี้ยนเป็น “ฉกรรจ์” ได้อย่างไร

๑- “สกฺกจฺจ” เขียนเพี้ยนตามเสียงไทยเป็น “สกัจจ์” อ่านว่า สะ-กัด

๒ “สกัจจ์” ตัดตัวสะกดออกตัวหนึ่งตามหลักนิยมในภาษาไทย สะกดเป็น “สกัจ” (ไม่มี การันต์)

๓- “สกัจ” ใช้ ร หัน สะกดเป็น “สกรรจ

๔. “สกรรจ” การันต์ที่ เป็น “สกรรจ์” อ่านว่า สะ-กัน

คำเทียบ เช่น –

ขคฺค > ขัค > ขรรค์

ปพฺพ > บัพ > บรรพ์

มคฺค > มัค > มรรค์

สคฺค > สัค > สวรรค์

ดังนั้น: สกฺกจฺจ > สกัจ > สกรรจ์

๕- ในภาษาไทย กับ ใช้แทนกันได้ เช่น ลาก-ลาก ลวย-ลวย ดังนั้น “สกรรจ์” จึงเป็น “ฉกรรจ์” ได้

ที่ว่ามานี้ไม่ใช่ว่าเห็นอะไรก็จะ “ลากเข้าวัด” หรือ “จับบวช” อยู่เรื่อย เพียงแต่เสนอทฤษฎีที่น่าเป็นไปได้ ถ้าไม่ใช่หรือเป็นไปไม่ได้ ก็ไม่ว่าอะไรเลย ยิ่งถ้ามีหลักฐานว่ามาจากคำอื่นที่ชัดเจนกว่า ก็ยิ่งดี

ขอฝากนักบาลีพิจารณาต่อไปเทอญ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: การเวียนตายเวียนเกิดเป็นความทุกข์สาหัสสากรรจ์

: การหายใจทิ้งไปวันๆ เป็นความผิดพลาดที่ไม่น่าให้อภัย

#บาลีวันละคำ (2,694)

28-10-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย