บาลีวันละคำ

อิณบริโภค (บาลีวันละคำ 2,746)

อิณบริโภค

ยืมเขามากิน

อ่านว่า อิ-นะ-บอ-ริ-โพก

ประกอบด้วยคำว่า อิณ + บริโภค

(๑) “อิณ

บาลีอ่านว่า อิ-นะ รากศัพท์มาจาก –

(1) อิ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แปลง เป็น

: อิ + ยุ > อน = อิน > อิณ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ถึงความงอกงาม” (คือมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น)

(2) อิณฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย

: อิณฺ + = อิณ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ถึงความงอกงาม

อิณ” หมายถึง หนี้ (debt)

(๒) “บริโภค

บาลีเป็น “ปริโภค” (ปะ-ริ-โพ-คะ) รากศัพท์มาจาก ปริ (รอบด้าน) + ภุชฺ (ธาตุ = กิน) + ปัจจัย, ลบ ณ, แผลง อุ ที่ ภุ-(ชฺ) เป็น โอ, แปลง เป็น

: ปริ + ภุชฺ + = ปริภุชณ > ปริภุช > ปริโภช > ปริโภค แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันคนใช้สอยรอบด้าน” หมายถึง การบริโภค, การใช้สอย, สิ่งที่ใช้สอย

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปริโภค” ว่า –

(1) material for enjoyment, food, feeding (เครื่องบริโภค, อาหาร, โภชนะ)

(2) enjoyment, use (การบริโภค, การใช้สอย)

ปริโภค” ภาษาไทยใช้ว่า “บริโภค

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บริโภค : (คำกริยา) กิน (ใช้เฉพาะอาการที่ทําให้ล่วงลําคอลงไปสู่กระเพาะ) เช่น บริโภคอาหาร, เสพ เช่น บริโภคกาม; ใช้สิ้นเปลือง, ใช้สอย, เช่น บริโภคสมบัติ, คู่กับ อุปโภค. (ป. ปริโภค).”

อิณ + ปริโภค = อิณปริโภค (อิ-นะ-ปะ-ริ-โพ-คะ) แปลตามศัพท์ว่า “การกินและการใช้สอยโดยความเป็นหนี้” ใช้ในภาษาไทยเป็น “อิณบริโภค” (อิ-นะ-บอ-ริ-โพก

ขยายความ :

บริโภค” ในที่นี้ ท่านจำแนกไว้ 4 อย่าง คำบาลีและคำแปลว่าดังนี้

(1) เถยฺยปริโภค (เถย-ยะ-ปะ-ริ-โพ-คะ) = บริโภคอย่างขโมย

(2) อิณปริโภค (อิ-นะ-ปะ-ริ-โพ-คะ) = บริโภคอย่างเป็นหนี้

(3) ทายชฺชปริโภค (ทา-ยัด-ชะ-ปะ-ริ-โพ-คะ) = บริโภคอย่างเป็นผู้รับมรดก

(4) สามิปริโภค (สา-มิ-ปะ-ริ-โพ-คะ) = บริโภคอย่างเป็นเจ้าของ

คำว่า “อิณปริโภค” ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา เช่น สมันตปาสาทิกา ภาค 2 อรรถกถาพระวินัย รูปิยสิกขาบท หน้า 229 เป็นต้น ให้คำจำกัดความไว้ว่า –

…………..

สีลวโต  อปจฺจเวกฺขิตปริโภโค  อิณปริโภโค  นาม.

(แม้) เป็นภิกษุผู้มีศีล (แต่) บริโภคใช้สอยปัจจัยโดยไม่พิจารณา ชื่อว่าอิณบริโภค

…………..

เนื่องจากข้อแรก ท่านกล่าวถึงภิกษุสามเณรที่ล่วงละเมิดพระธรรมวินัยไม่ควรจะเป็นภิกษุสามเณร คือที่เรียกว่าคนทุศีล ถ้ายังขืนอยู่ในเพศบรรพชิตแล้วบริโภคใช้สอยปัจจัยที่ชาวบ้านถวาย ก็จะอยู่ในฐานะ “ไถยบริโภค” คือ “บริโภคอย่างขโมย

แม้จะเป็นภิกษุสามเณรที่รักษาศีลบริสุทธิ์ทุกประการ แต่ถ้าบริโภคใช้สอยปัจจัยที่ชาวบ้านถวายอย่างไม่มีสติ ก็ชื่อว่ายังมีโทษอยู่ คืออยู่ในฐานะ “อิณบริโภค” คือ “บริโภคอย่างเป็นหนี้

…………..

หนังสือ พุทธธรรม ฉบับขยายความ งานนิพนธ์ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต หน้า 351 อธิบายไว้ว่า –

…………..

ในชั้นอรรถกถา ท่านจำแนกการบริโภคของภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้รับทักขิณาของชาวบ้านมาฉันและใช้สอยว่ามี 4 อย่าง

……

……

พวกที่ 2 คือผู้ที่มีศีล แต่เมื่อบริโภคปัจจัยสี่ไม่ได้พิจารณา เช่นฉันอาหารไม่พิจารณาว่าเราฉันเพียงเพื่อให้ร่างกายดำรงอยู่ได้ ยังชีวิตให้เป็นไป ให้มีสุขภาพเกื้อหนุนแก่การปฏิบัติธรรม มิใช่ฉันเพื่อโก้เก๋สนุกมัวเมาติดในรสเป็นต้น การบริโภคอย่างนี้เรียกว่าเป็น อิณบริโภค คือบริโภคอย่างเป็นหนี้ แต่ถ้าบริโภคโดยพิจารณาไม่ชื่อว่าเป็นหนี้ (เบากว่าในบาลีที่ว่าตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนย่อมชื่อว่าบริโภคอย่างเป็นหนี้)

…………..

ดูก่อนภราดา!

: กู้เขามากิน

: ดีกว่าโกงเขามากิน

#บาลีวันละคำ (2,746)

19-12-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย