บาลีวันละคำ

อมาลิกา (บาลีวันละคำ 2,752)

อมาลิกา

แปลว่าอะไร?

ผู้เขียนบาลีวันละคำได้เห็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่งชื่อ “อมาลิกา” ใต้ชื่อมีคำว่า “น้ำมะขามป้อม” ที่ข้างขวดมีข้อความเป็นตัวอักษรสีแดงระบุว่า “น้ำปานะสำหรับพระภิกษุ” (ดูภาพประกอบ)

ก็เกิดความสงสัยว่า ทำไมจึงตั้งชื่อเครื่องดื่มนี้ว่า “อมาลิกา” เป็นภาษาอะไร หรือว่าเป็นชื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิต

ถ้าเป็นชื่อบุคคลหรือชื่อที่คิดขึ้นใหม่ ก็แล้วไป เพราะเป็นวิสามานยนาม (proper name) จะสะกดอย่างไร แปลอย่างไร หรือหมายถึงอะไร ย่อมเป็นไปตามเจตนาของเจ้าของชื่อหรือผู้ตั้งชื่อ ใครจะไปตัดสินว่าถูกผิดอย่างไรมิได้

คำว่า “น้ำมะขามป้อม” และมีรูปผลมะขามป้อมประกอบอยู่ด้วย ทำให้นึกถึงคำบาลี

คำบาลีที่แปลว่า “มะขามป้อม” ตามคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกามี 2 ศัพท์ คือ “อมตา” (อะ-มะ-ตา) และ “อามลกี” (อา-มะ-ละ-กี) แต่ศัพท์ที่คุ้นปากนักเรียนบาลีคือ “อามลก

อามลก” อ่านว่า อา-มะ-ละ-กะ รากศัพท์มาจาก (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + มลฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + ณฺวุ ปัจจัย, แปลง (นะ) เป็น (อะ) แล้วทีฆะ อะ เป็น อา ( > > อา), แปลง ณฺวุ เป็น อก (อะ-กะ)

: + มลฺ = นมลฺ + ณฺวุ = นมลณฺวุ > อมลณฺวุ > อามลณฺวุ > อามลก (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ไม้ที่ไม่ทรงโรคไว้” หมายความว่าเมื่อกินผลของไม้ชนิดนี้แล้วโรคจะอยู่ในร่างกายต่อไปไม่ได้ คือมีสรรพคุณในทางรักษาและป้องกันโรค

อามลก + อี ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ = อามลกี

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อามลก” ว่า emblic myrobalan, Phyllanthus Emblica

พจนานุกรมบาลี-ไทย-อังกฤษ ฉบับภูมิพโลภิกขุ (ซึ่งใช้ THE PALI TEXT SOCIETY’S PALI-ENGLISH DICTIONARY เป็นต้นฉบับ) แปลเป็นไทยว่า มะขามป้อม, สมอ

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล myrobalan ว่า สมอไทย, สมอพิเภก

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ที่คำว่า “มะขามป้อม” และ “สมอ” บอกไว้ดังนี้ –

(1) มะขามป้อม : (คำนาม) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Phyllanthus emblica L. ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลม รสเปรี้ยวฝาด เมล็ดแข็ง ผลใช้ทํายาได้.

(2) สมอ ๒ : (คำนาม) ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Terminalia วงศ์ Combretaceae ใช้ทํายาได้ เช่น สมอไทย (T. chebula Retz.), สมอพิเภก [T. bellirica (Gaertn.) Roxb.], สมอดีงู [T. citrina (Gaertn.) Roxb. ex Flem.].

ดูชื่อวิทยาศาสตร์ที่พจนานุกรมฯ บอกไว้ เทียบกับคำแปลของพจนานุกรมบาลี-อังกฤษ (THE PALI TEXT SOCIETY’S PALI-ENGLISH DICTIONARY) “อามลก” ตรงกับ “มะขามป้อม” มากกว่า “สมอ”

นักเรียนบาลีของไทยแปล “อามลก” ว่า “มะขามป้อม” เป็นพื้น

พระคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา หรือ พจนานุกรมภาษาบาลีแปลเป็นไทย

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธ ทรงเรียบเรียง คาถาที่ 569 แสดงศัพท์ที่แปลว่า “มะขามป้อม” และ “สมอ” ไว้ดังนี้ (ดูภาพประกอบ) –

ปนโส กณฺฏกีผโล

อภยา ตุ หรีตกี

อกฺโข วิภีฏโก ตีสุ

อมตามลกี ติสุ.

ไขความ :

ปนโส และ กณฺฏกีผโล 2 ศัพท์นี้แปลว่า ขนุน

อภยา และ หรีตกี 2 ศัพท์นี้แปลว่า สมอ

อกฺโข และ วิภีฏโก 2 ศัพท์นี้แปลว่า สมอพิเภก

อมตา และ อามลกี 2 ศัพท์นี้แปลว่า มะขามป้อม

อามลกี” ก็คือ “อามลก” นั่นเอง

เป็นอันยืนยันว่า “อามลกี” หรือ “อามลก” ถ้าไม่มีคำอธิบายเป็นอย่างอื่น หมายถึงมะขามป้อม

อภิปราย :

อามลก” เขียนเป็นอักษรโรมันตามหลักการถ่ายเสียง เป็น Āmalaka (ขีดบนตัว A = Ā บังคับให้ Ā เป็น อา ถ้าไม่มีขีด A ต้องเป็น อะ)

อามลกี” เขียนเป็นอักษรโรมันตามหลักการถ่ายเสียง เป็น Āmalakī (ขีดบนตัว i = ī บังคับให้ ī เป็น อี ถ้าไม่มีขีด i ต้องเป็น อิ)

ขีดบนตัวอักษรเมื่อใช้อักษรโรมันเขียนคำบาลีสันสกฤตนี้ฝรั่งเป็นผู้กำหนดขึ้น คนไทยส่วนมากไม่คุ้นและอาจไม่ทราบด้วย ถ้าบอกให้เขียนคำว่า “อามลก” เป็นอักษรโรมัน (โปรดอย่าเรียกผิดๆว่า “เขียนเป็นภาษาอังกฤษ”) คนไทยก็จะเขียนเป็น Amalaka (ไม่มีขีดบน A)

และถ้าให้อ่านคำว่า Amalaka โดยไม่บอกว่าเป็นภาษาอะไร ก็จะมีคนอ่านว่า อะ-มา-ละ-ก้า หรือ แอม-มอล-ละ-ก้า ตามอิทธิพลการออกเสียงแบบฝรั่ง

จึงเป็นไปได้อย่างยิ่งว่า Amalaka (Āmalaka อามลก [อา-มะ-ละ-กะ] = มะขามป้อม) นี่เองที่กลายรูปและเสียงเป็น “อมาลิกาน้ำมะขามป้อม ตามความเข้าใจหรือตามความประสงค์ของเจ้าของสินค้า

ผู้เขียนบาลีวันละคำเคยเห็นคำที่กลายรูปและเสียงทำนองเดียวกันนี้อย่างน้อยก็ 3 คำ: –

– Ānanda เขียนแบบไม่มีขีดบนเป็น Ananda อ่านกันว่า อะ-นัน-ดา หรือ อะ-นัน-ด้า

คำบาลีคือ “อานนฺท” (อา-นัน-ทะ) เช่นชื่อพระอานนท์เป็นต้น

– Abhayagiri มีคนถอดคำเป็น อับหายาคีรี

คำบาลีคือ “อภยคิริ” (อะ-พะ-ยะ-คิ-ริ) เรียกแบบไทยว่า “อภัยคีรี” Abhaya ก็คือ “อภย” หรือ “อภัย” ที่เราคุ้นกันดีนั่นเอง ทำไมอ่านเป็น อับ-หา-ยา ไปได้ แปลกหรือไม่?

– Thūpārāma เขียนแบบไม่มีขีดบนเป็น Thuparama มีคนถอดคำเป็น ธูพาราม่า

คำบาลีคือ “ถูปาราม” (ถู-ปา-รา-มะ) เป็นชื่อวัดแห่งหนึ่งในศรีลังกา เรียกแบบไทยว่า ถู-ปา-ราม

…………..

ดูก่อนภราดา!

: คำเปลี่ยนรูปเพราะคนรู้ไม่ทันรากคำ

: คนเปลี่ยนใจประจำ จงรู้ให้ทันใจคน

#บาลีวันละคำ (2,752)

25-12-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *