บาลีวันละคำ

อสาธารณนาม (บาลีวันละคำ 2,763)

อสาธารณนาม

ยิ่งมีความรู้มาก ก็ยิ่งเข้าใจยากขึ้นทุกวัน

อ่านว่า อะ-สา-ทา-ระ-นะ-นาม

ประกอบด้วยคำว่า อสาธารณ + นาม

(๑) “อสาธารณ” อ่านว่า อะ-สา-ทา-ระ-นะ ประกอบด้วย + สาธารณ

(ก) “” (อะ) แปลงรูปมาจาก “” (นะ) เป็นคำจำพวกนิบาต บอกความปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not) แปลง เป็น ตามกฎการประสมของ + กล่าวคือ :

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – เช่น

: + มนุสฺส = นมนุสฺส > อมนุสฺส > อมนุษย์

อมนุษย์” รากเดิมจึงไม่ใช่ + มนุษย์ อย่างที่ตาเห็นในภาษาไทย

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง เป็น อน

ในที่นี้ “สาธารณ” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ จึงต้องแปลง เป็น

(ข) “สาธารณ” บาลีอ่านว่า สา-ทา-ระ-นะ รากศัพท์มาจาก –

(1) สห (คำบุรพบทและอุปสรรค = พร้อม, กับ, พร้อมด้วย) + อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + ยุ ปัจจัย, แปลง สห เป็น , ทีฆะ อะ ต้นธาตุเป็น อา (ธรฺ > ธาร), แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) แล้วแปลง เป็น (ยุ > อน > อณ)

: สห + อา + ธรฺ = สหาธรฺ + ยุ > อน = สหาธรน > สาธรน > สาธารน > สาธารณ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นไปพร้อมกับการรองรับทั่วไป

(2) สม (เสมอกัน) + อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + ยุ ปัจจัย, แปลง สม เป็น , ทีฆะ อะ ต้นธาตุเป็น อา (ธรฺ > ธาร), แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) แล้วแปลง เป็น (ยุ > อน > อณ)

: สม + อา + ธรฺ = สมาธรฺ + ยุ > อน = สมาธรน > สาธรน > สาธารน > สาธารณ แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่อันบุคคลรับรองสิ่งทั้งหลายเสมอภาคกัน

สาธารณ” (นปุงสกลิงค์) หมายถึง ทั่วไป, ธรรมดา, ร่วมกัน (general, common, joint)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สาธารณ-, สาธารณะ : (คำวิเศษณ์) เพื่อประชาชนทั่วไป เช่น สวนสาธารณะ โทรศัพท์สาธารณะ บ่อน้ำสาธารณะ, ทั่วไป เช่น ถนนนี้ไม่ใช่ถนนสาธารณะ อย่าแต่งตัวประเจิดประเจ้อในที่สาธารณะ. (ป., ส.).”

+ สาธารณ = นสาธารณ > อสาธารณ แปลว่า “-อันไม่ทั่วไปแก่สิ่งทั้งหลาย” หมายถึง ไม่ทั่วไป, มิใช่รวมหรือแบ่งกัน, อสาธารณะ, มีเพียงหนึ่ง (not general, not shared, uncommon, unique)

(๒) “นาม

บาลีอ่านว่า นา-มะ รากศัพท์มาจาก นมฺ (ธาตุ = น้อม) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ -(มฺ) เป็น อา (นมฺ > นาม)

: นมฺ + = นมณ > นม > นาม (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “คำเป็นที่น้อมวัตถุเข้ามา” “คำที่น้อมไปหาวัตถุ” “คำที่ชาวโลกใช้เป็นเครื่องน้อมไปสู่ความหมายนั้นๆ” หมายถึง นาม, ชื่อ (name)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นาม, นาม– : (คำนาม) ชื่อ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาม; คําชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ สําหรับเรียกคน สัตว์ และสิ่งของต่าง ๆ; สิ่งที่ไม่ใช่รูป คือ จิตใจ, คู่กับ รูป. (ป.).”

อสาธารณ + นาม = อสาธารณนาม

อ่านแบบบาลีว่า อะ-สา-ทา-ระ-นะ-นา-มะ

อ่านแบบไทยว่า อะ-สา-ทา-ระ-นะ-นาม

แปลว่า “ชื่อที่ไม่ทั่วไป” ตรงกันข้ามกับ “สาธารณนาม” ที่แปลว่า “ชื่อที่ทั่วไป

ตัวอย่างเช่น –

คำว่า “คน” เป็น “สาธารณนาม” คือ เมื่อเห็นสิ่งมีชีวิตที่ภาษาไทยเรียกกันว่า “คน” เข้าที่ไหน สิ่งมีชีวิตชนิดนั้นก็ได้นามว่า “คน” ทุกคนไป เราเรียกว่า “คน” ได้ทุกที่ทุกคน

คำว่า “นาวาเอก ทองย้อย” เป็นชื่อเรียกคนคนหนึ่ง ความจริง “นาวาเอก ทองย้อย” ก็เป็น “คน” คนหนึ่ง นั่นเอง แต่ “คน” ไม่ได้เป็น “นาวาเอก ทองย้อย” กันทุกคน เป็นได้เฉพาะคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียว เพราะฉะนั้น คำว่า “นาวาเอก ทองย้อย” จึงเป็น “อสาธารณนาม” คือเป็นชื่อที่ไม่ทั่วไปแก่คนอื่นๆ

คำว่า “อสาธารณ” และ “อสาธารณนาม” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

คำที่มีความหมายอย่างเดียวกับ “อสาธารณนาม” คือคำว่า “วิสามานยนาม” (วิ-สา-มาน-ยะ-นาม)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วิสามานยนาม : (คำที่ใช้ในไวยากรณ์) (คำนาม) คํานามที่เป็นชื่อเฉพาะ ตั้งขึ้นสําหรับเรียกคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เพื่อให้รู้ชัดว่าเป็นใครหรืออะไร เช่น นายดํา ช้างเอราวัณ เรือสุพรรณหงส์ จังหวัดเชียงใหม่.”

ขยายความช่วยพจนานุกรมฯ ว่า คำว่า “ดํา” “เอราวัณ” “สุพรรณหงส์” “เชียงใหม่” – นี่คือ “วิสามานยนาม” หรือคือ “อสาธารณนาม” ที่พูดถึงในวันนี้

มีข้อน่าสังเกตว่า ชื่อคนไทยทุกวันนี้มีแนวโน้มว่าจะเป็นภาษาฝรั่งกันมากขึ้น ส่วนที่ยังเป็นภาษาไทยก็ชักจะเป็นคำแปลกๆ มากขึ้น เช่นเอาพยัญชนะตัวนี้ไปประสมกับสระตัวโน้น หรือเอาพยัญชนะตัวนั้นกับตัวโน้นมาประสมกัน เกิดเป็นรูปคำใหม่ๆ เขียนก็ยาก อ่านก็ยาก ออกเสียงให้เขียนก็ไม่รู้ว่าสะกดอย่างไรแน่ สะกดได้ก็ไม่รู้ว่าอ่านอย่างไร แม้อ่านได้ก็ไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร

นับเป็นเรื่องชอบกลอย่างหนึ่งที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทย

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อาหารเลิศรส

แต่เก็บไว้ในตู้นิรภัยที่เปิดไม่ได้ มีคติฉันใด

: ชื่อที่ประกอบด้วยสระและพยัญชนะเลิศหรู

แต่ไม่มีใครรู้ความหมาย ก็มีคติฉันนั้น

#บาลีวันละคำ (2,763)

5-1-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *