บาลีวันละคำ

อนันต์ – มหันต์ (บาลีวันละคำ 2,764)

อนันต์มหันต์

ความเหมือนในความต่าง

และความต่างในความเหมือน

อนันต์” และ “มหันต์” -เช่นในคำว่า “คุณอนันต์โทษมหันต์”-เป็นคำที่เราเอามาจากบาลีสันสกฤต มองเท่าที่ตาเห็น จะเห็นว่ารูปคำมีเค้าโครงเหมือนกัน คือ:

(1) มี 2 พยางค์เหมือนกัน (อะ-นัน / มะ-หัน)

(2) พยางค์แรกเป็นพยัญชนะตัวเดียวเหมือนกัน (– / -)

(3) พยางค์หลังเค้าโครงเหมือนกัน (-นันต์ / -หันต์) ถ้าเอาอักษรนำ ( หนู / หีบ) ออก ก็จะเหลือสระ – ันต์ เหมือนกัน คือ-ไม้หันอากาศ, , การันต์เหมือนกัน

เพียงเท่านี้ก็ย่อมจะทำให้คนส่วนมากเข้าใจไปว่า “อนันต์” และ “มหันต์” มีองค์ประกอบชนิดเดียวกัน

แต่ถ้าศึกษาไปถึงรากศัพท์ ก็จะพบว่า ไม่ใช่อย่างที่คิด

(๑) “อนันต์

บาลีเขียนเป็น “อนนฺต” อ่านว่า อะ-นัน-ตะ ประสมขึ้นจากคำว่า (นะ) (ไม่, ไม่ใช่) + อนฺต

(ก) “อนฺต” (อัน-ตะ) รากศัพท์มาจาก อมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง มฺ ที่สุดธาตุเป็น นฺ (อมฺ > อนฺ)

: อมฺ + = อมฺต > อนฺต แปลตามศัพท์ว่า “ถึงที่สุด

อนฺต” ตามคำแปลนี้หมายถึง :

(1) ที่สุด, สำเร็จ, ที่หมาย (end, finish, goal)

(2) เขต, ชาย, ริม (limit, border, edge)

(3) ข้าง (side)

(4) ด้านตรงกันข้าม, ตรงกันข้าม, ตำแหน่งตรงกัน (opposite side, opposite, counterpart)

(ข) + อนฺต แปลง เป็น อน (อะ-นะ) ตามกฎการประสมของ + กล่าวคือ :

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – เช่น

: + มนุสฺส = นมนุสฺส > อมนุสฺส > อมนุษย์

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง เป็น อน

ในที่นี้ “อนฺต” ขึ้นต้นด้วยสระ คือ – จึงต้องแปลง เป็น อน

: > อน + อนฺต = อนนฺต แปลตามศัพท์ว่า “ไม่มีที่สุด” หมายถึง หาที่สุดมิได้, ไม่จบสิ้น, ไม่มีขอบเขต (endless, infinite, boundless)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อนันต-, อนันต์ : (คำวิเศษณ์) ไม่มีสิ้นสุด, มากล้น, เช่น อนันตคุณ คุณอนันต์. (ป.).”

(๒) “มหันต์

บาลีเขียนเป็น “มหนฺต” อ่านว่า มะ-หัน-ตะ รากศัพท์มาจาก มหฺ (ธาตุ = เจริญ) + อนฺต ปัจจัย

: มหฺ + อนฺต = มหนฺต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ขยายตัว” มีความหมายว่า ยิ่งใหญ่, กว้างขวาง, โต; มาก; สำคัญ, เป็นที่นับถือ (great, extensive, big; much; important, venerable)

บาลี “มหนฺต” ใช้ในภาษาไทยเป็น “มหันต์” (มะ-หัน) หรือ “มหันต-” (มะ-หัน-ตะ-) กรณีมีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มหันต-, มหันต์ : (คำวิเศษณ์) ใหญ่, มาก, เช่น โทษมหันต์. (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์อื่น เป็น มห บ้าง มหา บ้าง เช่น มหัคฆภัณฑ์ คือ สิ่งของที่มีค่ามาก, มหาชน คือ ชนจำนวนมาก). (ป.).”

จะเห็นได้ว่า –

อนันต์” มาจาก (นะ) เป็นคำจำพวก “นิบาต” แปลว่า “ไม่, ไม่ใช่” + อนฺต เป็นคำนาม แปลว่า “ที่สุด

+ อนฺต = อนนฺต > อนันต์ = ไม่มีที่สุด, มากล้น

ส่วน “มหันต์” มาจาก มหฺ เป็นธาตุ (คือรากศัพท์) แปลว่า “เจริญ” + อนฺต เป็นคำจำพวก “ปัจจัย” (ไม่ใช่คำนาม) แปลว่า “อยู่” หรือ “มี

มห + อนฺต = มหนฺต > มหันต์ = มีความยิ่งใหญ่, กว้างขวาง, มาก

ความหมายอาจไปทางเดียวกัน

แต่รากศัพท์มาคนละทาง

คนเรียนบาลี จึงมีโอกาสรู้ที่มาของคำ รู้รากของคำ ไม่เข้าใจผิดหรือแปลผิดเพราะไม่เข้าใจ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ยังไม่รู้หัวใจคำ อย่าเพิ่งจำเอาไปร่ายมนตร์

: ยังไม่รู้หัวใจคน อย่าเพิ่งบอกว่าชอบหรือชัง

#บาลีวันละคำ (2,764)

6-1-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *