บาลีวันละคำ

ปฏิกรรมสงคราม (บาลีวันละคำ 2,771)

ปฏิกรรมสงคราม

อ่านว่า ปะ-ติ-กำ-สง-คฺราม

ประกอบด้วยคำว่า ปฏิกรรม + สงคราม

(๑) “ปฏิกรรม” ประกอบคำว่า ปฏิ + กรรม

(1) ความรู้เกี่ยวกับคำว่า “ปฏิ-” :

ปฏิ-” (ขีด – ข้างหลังหมายความว่าไม่ใช้ตามลำพัง แต่ใช้นำหน้าคำอื่นเสมอ) เป็นศัพท์จำพวกที่ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “อุปสรรค

นักเรียนบาลีท่องจำคำแปลกันมาว่า “ปฏิ : เฉพาะ ตอบ ทวน กลับ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปฏิ– : คําอุปสรรคในภาษาบาลีใช้นําหน้าศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ เช่น ปฏิทิน, ตอบ เช่น ปฏิพากย์, ทวน เช่น ปฏิโลม, กลับ เช่น ปฏิวัติ. (ป.; ส. ปฺรติ).”

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ บอกความหมายของ “ปฏิ-” ว่า back (to), against, towards, in opposition to, opposite (กลับ, ตอบ, เฉพาะ, มุ่งไปยัง, ตรงกันข้าม, กลับกัน)

(2) “กรรม

บาลีเป็น “กมฺม” (กำ-มะ) สันสกฤตเป็น “กรฺม” (กระ-มะ, ควบ กลืนเสียง ระ ลงคอ) ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “กรรม

กมฺม” รากศัพท์คือ กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ, ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ ที่ต้นปัจจัย

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม

กมฺม” แปลว่า การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (the doing, deed, work) นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กรรม ๑, กรรม– ๑ : (คำนาม) (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม.(๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมายังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ.(๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ.(๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.”

ปฏิ + กมฺม = ปฏิกมฺม (ปะ-ติ-กำ-มะ) แปลตามศัพท์ว่า “การทำคืน” หมายถึง การแก้ไข, การชดเชย (redress, atonement)

ดูความหมายที่รูปคำกริยาจะเข้าใจความหมายของ “ปฏิกมฺม” ได้ดีขึ้น

ปฏิกมฺม” รูปคำกริยาในบาลีเป็น “ปฏิกโรติ” (ปะ-ติ-กะ-โร-ติ) มีความหมายดังนี้ –

(1) ชดใช้, ซ่อมแซม, กลับตัว, ทำคืน (to redress, repair, make amends for a sin, expiate)

(2) ปฏิบัติตอบ, จัดหา, ระวัง, ระมัดระวัง (to act against, provide for, beware, be cautious)

(3) เอาอย่าง (to imitate)

ปฏิกมฺม” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ปฏิกรรม” (ปะ-ติ-กำ)

ปฏิกรรม” คำเดียว ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้แต่ที่เป็น “ปฏิกรรมสงคราม

(๒) “สงคราม

บาลีเป็น “สงฺคาม” อ่านว่า สัง-คา-มะ รากศัพท์มาจาก –

(1) สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน) + คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, ลบ , แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น งฺ (สํ > สงฺ), ทีฆะต้นธาตุ “ด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” (คมฺ > คาม)

: สํ + คมฺ = สํคมฺ + = สํคมณ > สํคม > สํคาม > สงฺคาม แปลตามศัพท์ว่า “ไปพร้อมกัน” “รวบรวมกันไป

(2) สงฺคาม (ธาตุ = ต่อสู้) + ปัจจัย

: สงฺคาม + = สงฺคาม แปลตามศัพท์ว่า “ต่อสู้กัน

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สงฺคาม” ตามศัพท์ว่า “collection” (การรวบรวม)

บาลี “สงฺคาม” สันสกฤตเป็น “สงฺคฺราม” ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “สงคราม” หมายถึง การรบพุ่ง, การต่อสู้ ใช้ทับศัพท์ว่า สงคราม (a fight, battle)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สงคราม : (คำนาม) การรบใหญ่ที่มีคนจำนวนมากต่อสู้ฆ่าฟันกัน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สงครามชีวิต สงครามปาก. (ส. สํคฺราม; ป. สงฺคาม).”

ปฏิกรรม + สงคราม = ปฏิกรรมสงคราม เป็นคำประสม แปลจากหน้าไปหลังตามศัพท์ว่า “การทำคืนเนื่องด้วยสงคราม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปฏิกรรมสงคราม : (คำนาม) การชดใช้ค่าเสียหายที่ฝ่ายชนะสงครามเรียกร้องเอาจากฝ่ายพ่ายแพ้. (อ. reparation).”

ขยายความ :

บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 อธิบายคำว่า “ปฏิกรรมสงคราม” ไว้ดังนี้ –

…………..

ปฏิกรรมสงคราม เป็นศัพท์บัญญัติจากคำภาษาอังกฤษว่า reparation

คำ ปฏิกรรมสงคราม มีความหมายว่า การชดใช้ค่าเสียหายที่ฝ่ายชนะสงครามเรียกร้องเอาจากฝ่ายแพ้สงคราม เช่น เมื่อสงครามอ่าวเปอร์เซียได้ยุติลง โดยอิรักตกลงยอมสงบศึก สหประชาชาติได้บังคับให้อิรักจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่คูเวตเป็นจำนวนเงินมหาศาลด้วย.

คำ ปฏิกรรมสงคราม เป็นคำที่ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงบัญญัติขึ้น และใช้แพร่หลายภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ชนะสงคราม เป็นยอดทหาร

: ชนะโดยไม่ต้องทำสงคราม เป็นยอดนักรบ

#บาลีวันละคำ (2,771)

13-1-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *