บาลีวันละคำ

อเหตุวาท (บาลีวันละคำ 2,805)

อเหตุวาท

ลัทธิหาตัวการไม่ได้-หนึ่งในความเชื่อของมนุษย์

อ่านว่า อะ-เห-ตุ-วาด

แยกคำเป็น อเหตุ + วาท

(๑) “อเหตุ

บาลีอ่านว่า อะ-เห-ตุ ประกอบด้วย + เหตุ

(ก) “” (อะ) แปลงรูปมาจาก “” (นะ) เป็นคำจำพวกนิบาต บอกความปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not) แปลง เป็น ตามกฎการประสมของ + กล่าวคือ :

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – เช่น –

: + มนุสฺส = นมนุสฺส > อมนุสฺส > อมนุษย์

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง เป็น อน

ในที่นี้ “เหตุ” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ (--) จึงต้องแปลง เป็น

(ข) “เหตุ

บาลีอ่านว่า เห-ตุ รากศัพท์มาจาก หิ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป; ตั้ง) + ตุ ปัจจัย, แผลง อิ ที่ หิ เป็น เอ (หิ > เห)

: หิ + ตุ = หิตุ > เหตุ แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่เป็นไปสู่ความเป็นผล” (2) “สิ่งที่ถึงความเป็นเหตุ” (3) “สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งผล” (4) “สิ่งเป็นเครื่องเป็นไปแห่งผล

เหตุ” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

 (1) เหตุ, เหตุผล, ปัจจัย, มูล (cause, reason, condition)

(2) ความเหมาะสมเพื่อบรรลุพระอรหันต์ (suitability for the attainment of Arahantship)

(3) ตรรกะ (logic)

: + เหตุ = นเหตุ > อเหตุ แปลว่า “หาเหตุมิได้” “ไม่มีเหตุ” “ไม่มีตัวการ

(๒) “วาท

บาลีอ่านว่า วา-ทะ รากศัพท์มาจาก วทฺ (ธาตุ = พูด, กล่าว) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ (ยืดเสียง) อะ ที่ -(ทฺ) เป็น อา (วทฺ > วาทฺ)

: วทฺ + = วทณ > วท > วาท (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “คำเป็นเครื่องพูด

คำว่า “วาท” ที่ใช้ในภาษาบาลีมีความหมายมากกว่าที่เราเข้าใจกันในภาษาไทย กล่าวคือ :

(1) การพูด, คำพูด, การคุย (speaking, speech, talk)

(2) สิ่งที่พูดกัน, ชื่อเสียง, คุณสมบัติ, ลักษณะพิเศษ (what is said, reputation, attribute, characteristic)

(3) การสนทนา, การทะเลาะกัน, การโต้เถียง, ความขัดแย้ง, การคัดค้าน (discussion, disputation, argument, controversy, dispute)

(4) คำสอน, ทฤษฎี, ความเชื่อ, หลักความเชื่อ, ลัทธิ, นิกาย (doctrine, theory put forth, creed, belief, school, sect)

ในที่นี้ “วาท” มีความหมายตามข้อ (4)

อเหตุ + วาท = อเหตุวาท (บาลี: อะ-เห-ตุ-วา-ทะ ไทย: อะ-เห-ตุ-วาด) แปลว่า “ลัทธิที่เชื่อว่าผลทุกอย่างที่มนุษย์ได้รับในชาตินี้เกิดขึ้นโดยหาตัวการไม่ได้

ขยายความ :

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [101] ขยายความไว้ดังนี้ –

อเหตุอปัจจัยวาท : ลัทธิเสี่ยงโชค คือ พวกที่ถือว่า สิ่งใดก็ตามที่ได้ประสบ จะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม ล้วนหาเหตุหาปัจจัยมิได้ คือ ถึงคราวก็เป็นไปเอง — Ahetuvāda: an indeterminist theory that whatever is experienced is uncaused and unconditioned; accidentalism) เรียกสั้นๆ ว่า อเหตุวาท

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมยังบอกด้วยว่า “อเหตุวาท” เป็นหนึ่งในลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ลัทธิ ที่บาลีเรียกว่า “ติตถายตนะ” แปลว่า แดนเกิดลัทธิ, ชุมนุมหรือประมวลแห่งลัทธิ (Titthāyatana: beliefs of other sects; grounds of sectarian tenets; spheres of wrong views; non-Buddhist beliefs)

ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ลัทธิดังกล่าวนี้ คือ –

1. ปุพเพกตเหตุวาท ลัทธิกรรมเก่า เรียกสั้นๆ ว่า บุพเพกตวาท

2. อิสสรนิมมานเหตุวาท ลัทธิพระเป็นเจ้าบันดาล เรียกสั้นๆ ว่า อิศวรกรณวาท หรือ อิศวรนิรมิตวาท

3. อเหตุอปัจจัยวาท ลัทธิเสี่ยงโชค เรียกสั้นๆ ว่า อเหตุวาท

…………..

ผู้เขียนบาลีวันละคำขอแปลชื่อลัทธิทั้ง 3 เป็นไทยดังนี้ –

1. ปุพเพกตเหตุวาท หรือ “บุพเพกตวาท” = ลัทธิกรรมเก่า

2. อิสสรนิมมานเหตุวาท หรือ “อิศวรนิรมิตวาท” = ลัทธิพระเจ้าบันดาล

3. อเหตุอปัจจัยวาท หรือ “อเหตุวาท” = ลัทธิหาตัวการไม่ได้

…………..

ดูก่อนภราดา!

: แม้ท่านจะหาเหตุผลไม่ได้ว่าทำไมท่านจึงจำเป็นต้องทำชั่ว

: แต่ยมบาลย่อมหาเหตุผลได้ว่าทำไมท่านจึงจำเป็นต้องตกนรก

#บาลีวันละคำ (2,805)

16-2-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย