บาลีวันละคำ

ฉทานศาลา (บาลีวันละคำ 2,808)

ฉทานศาลา

เกณฑ์วัดความเป็นเศรษฐี

อ่านว่า ฉ้อ-ทาน-นะ-สา-ลา

แยกคำเป็น + ทาน + ศาลา

(๑) “

บาลีอ่านว่า ฉะ ภาษาไทยอ่านว่า ฉอ หรือ ฉ้อ แปลว่า หก (จำนวน 6)

(๒) “ทาน

บาลีอ่านว่า ทา-นะ รากศัพท์มาจาก ทา (ธาตุ, = ให้) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: ทา + ยุ > อน = ทาน (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การให้” “สิ่งของสำหรับให้

ทาน” ในบาลีใช้ในความหมายว่า –

(1) การให้, ยกมอบแก่ผู้อื่น, ให้ของที่ควรให้ แก่คนที่ควรให้ เพื่อประโยชน์แก่เขา, สละให้ปันสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น

(2) สิ่งที่ให้, ทรัพย์สินสิ่งของที่มอบให้หรือแจกออกไป

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ทาน” ว่า giving, dealing out, gift; almsgiving, liberality, munificence (การให้, การแจกให้, ของขวัญ; การให้ทาน, การมีใจคอกว้างขวาง)

ทาน” ใช้ในรูปเดียวกันทั้งบาลีและสันสกฤต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ทาน : (คำนาม) ‘ทาน’, การให้, การบริจาค; มันเหลวซึ่งเยิ้มออกจากขมับช้างตกน้ำมัน; การอุปถัมภ์, การบำรุง; วิศุทธิ, นิรมลีกรณ์; การตัด, การแบ่ง; ทักษิณา, ของถวาย, ของให้เปนพิเศษ; การตี, การเฆาะ; อรัณยมธุ, น้ำผึ้งป่า; giving, gift, donation; fluid that flows from the temples of an elephant in rut; nourishing, cherishing; a present, a special gift; striking, beating; wild honey.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ทาน ๑, ทาน– : (คำนาม)  การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน วิทยาทาน; สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คนให้แก่คนยากจน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในสังคหวัตถุและทศพิธราชธรรม.”

(๓) “ศาลา

เป็นรูปคำสันสกฤต ตรงกับบาลีว่า “สาลา” (สันสกฤต ศาลา บาลี เสือ) รากศัพท์มาจาก สลฺ (ธาตุ = ไป) + ปัจจัย, ลบ , “ทีฆะต้นธาตุ” คือยืดเสียง อะ ที่ -(ลฺ) เป็น อา (สลฺ > สาล) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: สลฺ + = สลณ > สล > สาล + อา = สาลา แปลตามศัพท์ว่า “โรงเรือนเป็นที่ผู้คนไปหา

สาลา” หมายถึง ห้องโถง (มีหลังคาและมีฝาล้อมรอบ), ห้องใหญ่, บ้าน; เพิง, โรงสัตว์ (a large [covered & enclosed] hall, large room, house; shed, stable)

ภาษาไทยใช้ตามรูปสันสกฤตเป็น “ศาลา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ศาลา : (คำนาม) อาคารทรงไทย ปล่อยโถง ไม่กั้นฝา ใช้เป็นที่พักหรือเพื่อประโยชน์การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศาลาวัด ศาลาที่พัก ศาลาท่านํ้า, โดยปริยายหมายถึงอาคารหรือสถานที่บางแห่ง ใช้เพื่อประโยชน์การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศาลาพักร้อน ศาลาสวดศพ. (ส.; ป. สาลา).”

การประสมคำ :

ทาน + สาลา = ทานสาลา (ทา-นะ-สา-ลา) แปลว่า “ศาลาเป็นที่ให้ทาน

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ทานสาลา” ว่า a hall, built for the distribution of alms & donations to the bhikkhus & wanderers (ศาลาที่สร้างขึ้นสำหรับแจกทานและบริจาคถวายภิกษุและคนเดินทาง)

+ ทานสาลา = ฉทานสาลา (ฉะ-ทา-นะ-สา-ลา) แปลว่า “ศาลาเป็นที่ให้ทานหกแห่ง

ในที่นี้ “” (หก) เป็นคำขยาย “สาลา” คือหมายถึง ศาลา 6 แห่ง ไม่ใช่ขยาย “ทาน” คือไม่ได้หมายถึงทาน 6 อย่าง

ฉทานสาลา” ใช้ในภาษาไทยเป็น ฉทานศาลาพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ฉทานศาลา : (คำนาม) ศาลาเป็นที่ทำทาน ๖ แห่ง, บางทีเขียนว่า ศาลาฉทาน.”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “ศาลาฉทาน” (อ่านว่า สา-ลา-ฉ้อ-ทาน) ไว้ด้วย บอกไว้ดังนี้ –

ศาลาฉทาน : (คำนาม) ศาลาเป็นที่ทำทาน ๖ แห่ง, ฉทานศาลา ก็เรียก.”

ขยายความ :

ฉทานศาลา” เป็นเกณฑ์วัดความเป็นเศรษฐีของคนในสังคมชมพูทวีปสมัยพุทธกาล กล่าวคือใครมีทรัพย์มากจะนิยมตั้ง “ทานศาลา” พร้อมทั้งดำเนินกิจการแจกทานในศาลานั้นตามที่ต่างๆ

จำนวน “ทานศาลา” เต็มขนาดจะมี 6 แห่ง คือ

– ประตูเมืองทั้ง 4 ประตูละ 1 แห่ง

– กลางเมือง 1 แห่ง

– หน้าบ้านตัวเอง 1 แห่ง

รวมทั้งหมดเรียกว่า “ฉทานศาลา” = ทานศาลา 6 แห่ง

ผู้มีทรัพย์ที่ตั้ง “ฉทานศาลา” ครบ 6 แห่งเช่นนี้อยู่ในเกณฑ์ที่พระราชาจะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น “เศรษฐี” ประจำเมือง

เศรษฐีสมัยโน้นต้องได้รับแต่งตั้ง ไม่ใช่ว่าใครมีทรัพย์มากก็เป็นเศรษฐีโดยอัตโนมัติ

…………..

ดูก่อนภราดา!

เศรษฐี –

: ไม่ได้วัดกันที่-มีเท่าไร

: แต่วัดกันที่-ให้ได้เท่าไร

#บาลีวันละคำ (2,808)

19-2-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย