บาลีวันละคำ

สุขคติ-ทุกข์คติ (บาลีวันละคำ 707)

สุขคติ-ทุกข์คติ

(คำที่เขียนผิด)

คำคู่นี้ที่ถูกต้อง เขียนว่า “สุคติ” (สุ– ไม่ใช่ สุข-) และ “ทุคติ” (ทุ– ไม่ใช่ ทุกข์-)

ในภาษาไทย มักเขียนผิดเป็น สุขคติ/ทุกข์คติ เนื่องจากเข้าใจผิดว่า มาจากคำว่า

สุข + คติ = สุขคติ

ทุกข์ + คติ = ทุกข์คติ

วิธีทำความเข้าใจ :

(1) ในภาษาบาลีมีคำจำพวกหนึ่ง เรียกว่า “อุปสรรค” มีความหมายอยู่ในตัว แต่ต้องประกอบกับคำอื่น ใช้เดี่ยวๆ ไม่ได้ใจความ คำจำพวกนี้ก็เช่น –

อนุ– = น้อย, ภายหลัง, ตาม, เนืองๆ เช่น อนุ + ญาต = อนุญาต

อภิ– = ยิ่ง, ใหญ่, เฉพาะ, ข้างหน้า เช่น อภิ + สิทธิ์ = อภิสิทธิ์

ปฏิ– = เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ เช่น ปฏิ + รูป = ปฏิรูป

สุ–  = ดี, งาม, ง่าย เช่น สุ + คนธ์ = สุคนธ์

ทุ–  = ชั่ว, ยาก, เลว, ทราม เช่น ทุ + จริต = ทุจริต

(2) คำว่า สุข ทุกข์ ก็เกิดจากการเอา สุ และ ทุ ไปประกอบคำอื่น กล่าวคือ

สุ + ขม (ธาตุ = อดทน, อดกลั้น) ลบ : สุ + = สุข แปลว่า “ทนได้ง่าย

ทุ + ขม ซ้อน , ลบ : ทุ + + = ทุกข > ทุกข์ แปลว่า “ทนได้ยาก

(3) คำว่า สุคติ ทุคติ ก็เกิดจากกฎเดียวกัน คำที่เป็นหลักคือ –คติ (เหมือน –ขม ในข้อก่อน)

สุ + คติ = สุคติ ไม่ใช่ สุข + คติ

ทุ + คติ = ทุคติ ไม่ใช่ ทุกข์ + คติ

เพราะ สุข ทุกข์ เป็นคำสำเร็จรูปมาแล้ว (สุ+, ทุ+กข) ไม่ใช่คำ “อุปสรรค” จึงเอามาประกอบกับคำว่า –คติ เป็น สุข+คติ ทุกข์+คติ ไม่ได้

สุคติ” (สุ-คะ-ติ, สุก-คะ-ติ) มีความหมายว่า “ภูมิที่ไปเกิดแล้วดี

ทุคติ” (ทุก-คะ-ติ) มีความหมายว่า “ภูมิที่ไปเกิดแล้วไม่ดี

พจน.54 บอกไว้ว่า

สุคติ : ภูมิที่ถือว่าไปเกิดแล้วมีความสุขความสบาย, สวรรค์, เช่น ขอให้วิญญาณไปสู่สุคติ

ทุคติ : ภูมิที่ถือว่าไปเกิดแล้วมีความทุกข์ความลําบาก, นรก

(ดูเพิ่มเติมที่ : “สุคติ-ทุคฺคติ” บาลีวันละคำ (49) 21-6-55)

สุคติทุคติ แปลใหม่ กำลังใจก็มา :

สุ = ง่าย + คติ = ไป : สุคติ = ไปง่าย > ทำไมไม่รีบหาทางไป

ทุ = ยาก + คติ = ไป : ทุคติ = ไปยาก > ทำไมยังอยากจะไป

#บาลีวันละคำ (707)

24-4-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *