บาลีวันละคำ

ศิวาราตรี (บาลีวันละคำ 2,878)

ศิวาราตรี

ชื่อนี้มาจากคำใด

อ่านว่า สิ-วา-รา-ตฺรี

ประกอบด้วยคำว่า ศิวา + ราตรี

(๑) “ศิวา

รูปคำเดิมในสันสกฤตเป็น “ศิว” บาลีเป็น “สิว” (สิ-วะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) สิ (ธาตุ = เสพ, คบหา) + ปัจจัย

: สิ + = สิว แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมอันผู้กลัวภัยในสงสารพึงซ่องเสพ

(2) สมฺ (ธาตุ = สงบ, ระงับ) + ริว ปัจจัย, ลบ มฺ ที่สุดธาตุและ ที่ ริว (ริว > อิว)

: สมฺ + ริว = สมริว > สริว > สิว แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมอันสงบระงับ

(3) สิว (ความเกษม) + ปัจจัย

: สิวํ (เขมภาวํ กโรตีติ) + = สิวํ แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมที่ทำความเกษม

สิว” ตามความหมายนี้หมายถึง สิวธรรม คือพระนิพพาน

(4) สมฺ (ธาตุ = สงบ, ระงับ) + ปัจจัย, แปลง อะ ที่ -(มฺ) เป็น อิ ( > สิ), ลบ มฺ ที่สุดธาตุ (สมฺ > )

: สมฺ > สิม > สิ + = สิว แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ระงับความทุกข์ได้” หมายถึง สิ่งที่ประเสริฐ, ความดี, มงคล

(5) สิ (ธาตุ = คบหา) + ปัจจัย

: สิ + = สิว แปลตามศัพท์ว่า (1) “เทพเจ้าอันผู้ปรารถนาประโยชน์สุขเข้าไปหา” (2) “เทพเจ้าผู้เป็นที่เสพสมแห่งเจ้าแม่ผู้ดุร้าย” หมายถึง พระศิวะ

สิว” ที่กลายรูปเป็น “ศิวา” ในคำว่า “ศิวาราตรี” มีความหมายตามข้อ (5) นี้

สิว” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) เป็นมงคล, มีสุข, มีโชคดี, ได้รับพร (auspicious, happy, fortunate, blest)

(2) ผู้บวงสรวงพระศิวะ (a worshipper of the god Siva)

(3) ความสุข, ความสำราญ (happiness, bliss)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “ศิว” ในสันสกฤตไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

(1) ศิว : (คำคุณศัพท์) ‘ศิวะ,’ ศรีมัต, มีศรีหรือความรุ่งเรือง, สุขิน, มีสุขหรือเปนสุข; prosperous, happy.

(2) ศิว : (คำนาม) ‘ศิวะ,’ พระศิวะ; ปรมคติ; เสาหรือหลักที่บุทคลผูกโคไว้; ศุภนักษัตรโยค; เวท, พระเวท; นักษัตรกาลอันหนึ่งซึ่งเรียกว่าโยค; ปรอท; องคชาตของชาย; พระศิวลิงค์; สุข, สันโดษหรือประโมท; มงคล; น้ำ; เกลือทะเลหรือเกลือสินเธาว์; น้ำประสานทอง; ต้นศมี; ศุนักป่า; the deity Śiva; final emancipation from existence, or eternal happiness; a pillar or post to which cattle are tied; an auspicious planetary conjunction; scripture, the Vedas; one of te astronomical periods termed Yogas; quicksilver; the penis; the phallic emblem of Śiva; happiness, pleasure; auspiciousness; water; sea or rock salt; borax; the Sami tree; a jackal.

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ศิว-, ศิวะ : (คำนาม) พระอิศวร; พระนิพพาน. (ส.; ป. สิว).”

(๒) “ราตรี

เป็นรูปคำสันสกฤต บาลีเป็น “รตฺติ” (รัด-ติ) รากศัพท์มาจาก –

(1) รา (ธาตุ = ถือเอา) + ติ ปัจจัย, ลบ อา ที่สุดธาตุ (รา > ), ซ้อน ตฺ ระหว่างธาตุกับปัจจัย (รา + ตฺ + ติ)

: รา + ตฺ + ติ = ราตฺติ > รตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “เวลาที่ถือเอาความไม่เบียดเบียน” (คือโดยปกติเป็นเวลาพักผ่อน หยุดการงาน จึงไม่มีใครทำอะไรแก่ใคร)

(2) รญฺชฺ (ธาตุ = กำหนัด, ยินดี) + ติ ปัจจัย, ลบ (ร)-ญฺชฺ ที่สุดธาตุ (รญฺช > ), ซ้อน ตฺ ระหว่างธาตุกับปัจจัย (รญฺช + ตฺ + ติ)

: รญฺชฺ + ตฺ + ติ = รญฺชตฺติ > รตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “เวลาเป็นที่ชื่นชอบแห่งผู้มีความกำหนัด

(3) รา (แทนศัพท์ “สทฺท” = เสียง) + ติ (ธาตุ = ตัด, ขาด) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ, ลบ อา ที่ รา (รา > ), ซ้อน ตฺ ระหว่างบทหน้ากับธาตุ (รา + ตฺ + ติ)

: รา + ตฺ + ติ = ราตฺติ + กฺวิ = ราตฺติกฺวิ > ราตฺติ > รตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “เวลาเป็นที่ขาดหายแห่งเสียง

(4) รา (แทนศัพท์ “ธน” = ทรัพย์) + ติ (ธาตุ = แตก, ทำลาย) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ, ลบ อา ที่ รา (รา > ), ซ้อน ตฺ ระหว่างบทหน้ากับธาตุ (รา + ตฺ + ติ)

: รา + ตฺ + ติ = ราตฺติ + กฺวิ = ราตฺติกฺวิ > ราตฺติ > รตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “เวลาเป็นที่แตกไปแห่งทรัพย์” (คือถูกขโมยไป)

รตฺติ” (อิตถีลิงค์) หมายถึง กลางคืน (night)

บาลี “รัตติ” สันสกฤตเป็น “ราตฺริ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

ราตฺริ : (คำนาม) ราตรี; night.”

รตฺติ” ภาษาไทยนิยมใช้อิงสันสกฤตเป็น “ราตรี” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ราตรี ๑ : (คำนาม) กลางคืน, เวลามืดคํ่า. (ส. ราตฺริ; ป. รตฺติ).”

อภิปราย :

ศิวาราตรี” เป็นนิยายลือชื่อเรื่องหนึ่งของ “พนมเทียน”

“พนมเทียน” อธิบายถึงที่มาของชื่อ “ศิวาราตรี” ไว้ว่า

…………..

“ศิวาราตรีเป็นชื่อเฉพาะ เป็นคำในประวัติศาสตร์ของลัทธิฮินดู คือเอาคำว่าศิวะมาบวกกับคำว่าราตรี เป็นศิวาราตรี หมายถึงคืนลอยบาปของเผ่าฮินดูทั้งหลาย เผ่าฮินดูถือว่า ในรอบปีหนึ่งจะมีคืนหนึ่งเป็นคืนเดือนแรมถือกันว่าถ้าหากได้ลงไปอาบน้ำ สะสางชำระกายในแม่น้ำใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นคงคา ยมุนา สินธุ เนรัญชรา อะไรก็ตาม บาปผิดทั้งหลายในตัวที่มีอยู่ก็จะลอยไปกับกระแสน้ำ ทำให้ตัวเองบริสุทธิ์เรียกคืนนี้ว่า ศิวราตรี จำกัดความง่ายๆก็คือคืนแห่งการลอยบาปทำให้บาปพ้นจากตัว นี่คือที่มาของชื่อเรื่อง ศิวาราตรี

– ศิวาราตรี (เล่ม ๑) : คำนำสำนักพิมพ์

…………..

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “ศิวราตฺริ” บอกความหมายไว้ดังนี้

(สะกดตามต้นฉบับ)

ศิวราตฺริ : (คำนาม) งารสมโภชพระศิวะ ณ วันแรม ๑๔ ค่ำในเดือนผาลคุณ; a celebrated festival in honour of Śiva on the fourteenth of the moon’s wane or dark fortnight in Phālguna.”

โปรดสังเกตว่า คำในสํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน เป็น “ศิวราตฺริ” คือเป็น “ศิว-” ไม่ใช่ “ศิวา-”

ศิว + ราตฺริ = ศิวราตฺริ

เป็นที่แน่นอนว่า “ศิวาราตรี” ได้ชื่อนี้มาจาก “ศิวราตฺริ” ในสันสกฤต แต่เมื่อนำมาใช้เป็นชื่อนิยายในคำไทยนักประพันธ์ย่อมสามารถปรับแต่งได้ตามใจปรารถนา ดังคำกล่าวที่ว่า “นักเขียนที่เก่งกาจย่อมสามารถเป็นนายของภาษา” คือสามารถหยิบถ้อยคำมาปรุงแปลงให้งดงามอลังการขึ้นได้เสมอ

ศิวราตฺริ” กลายเป็น “ศิวาราตรี” เป็นพยานในคำกล่าวนั้น

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ล้างบาปต้องรอคืนศิวราตรี

: ทำความดีอย่ารอจนถึงวันตาย

#บาลีวันละคำ (2,878)

29-4-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย