บาลีวันละคำ

ปรโลกวัชชะ (บาลีวันละคำ 1,950)

ปรโลกวัชชะ

ไม่ใช่ “โลกวัชชะ”

อ่านว่า ปะ-ระ-โล-กะ-วัด-ชะ

แยกศัพท์เป็น ปรโลก + วัชชะ

(๑) “ปรโลก

บาลีอ่านว่า ปะ-ระ-โล-กะ แยกศัพท์เป็น ปร + โลก

(ก) “ปร” บาลีอ่านว่า ปะ-ระ รากศัพท์มาจาก (แทนศัพท์ หึสา = เบียดเบียน) + รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ มฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ

: + รมฺ = ปรมฺ + กฺวิ = ปรมกฺวิ > ปรม > ปร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยินดีในการเบียดเบียน” ในที่นี้หมายถึง –

(1) อีกอันหนึ่ง, อื่นอีก, อื่น (another, other)

(2) ศัตรู, ปรปักษ์ (enemies, opponents)

(ข) “โลก” บาลีอ่านว่า โล-กะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ลุชฺ (ธาตุ = พินาศ) + ปัจจัย, ลบ , แปลง เป็น , แผลง อุ ที่ ลุ-(ชฺ) เป็น โอ

: ลุชฺ + = ลุชณ > ลุช > โลช > โลก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จะพินาศไป

(2) ลุจฺ (ธาตุ = ย่อยยับ, พินาศ) + ปัจจัย, แปลง จฺ เป็น , แผลง อุ เป็น โอ

: ลุจฺ + = ลุจ > ลุก > โลก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จะย่อยยับไป

(3) โลกฺ (ธาตุ = เห็น, ปรากฏ, ตั้งอยู่) + ปัจจัย

: โลกฺ + = โลก แปลตามศัพท์ว่า (1) “ร่างอันเขาเห็นอยู่” (2) “ร่างเป็นที่ตั้งอยู่แห่งบุญบาปและผลแห่งบุญบาปนั้น

โลก” มีความหมายหลายหลาก เช่น โลก, แผ่นดิน, จักรวาล, คน, มนุษยชาติ, ประชาชน, สัตว์ (world, earth, universe, man, mankind, people, beings)

ขยายความคำว่า “โลก:

1 โลก หมายถึง ดินแดน แผ่นดิน วัตถุธาตุ หรือดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง คือโลกที่เรามองเห็นและอาศัยอยู่นี้ รวมทั้งดาวดวงอื่น

2 โลก หมายถึง สิ่งมีชีวิต เช่นคน สัตว์ เช่นในคำว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

3 โลก หมายถึง สังคม หมู่ชน ชุมชน เช่นในคำว่า โลกติเตียน เมตตาธรรมค้ำจุนโลก

4 โลก หมายถึง ชีวิต อันประกอบด้วยร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม ของแต่ละคน ที่สำนวนเก่าเรียกว่า “โลกคือกายยาววา หนาคืบ กว้างศอก”

5 โลก หมายถึงวิสัยหรือธรรมดาของโลก เช่น เกิด แก่ เจ็บ ตาย พบ พราก ได้ เสีย อิ่ม อด สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์

6 โลก หมายถึง ค่านิยม ความคิดจิตใจ ความประพฤติแบบหนึ่ง ที่ตรงกันข้ามกับ “ธรรม” เช่น ดื่ม กิน เที่ยว เสพสุข เป็น “โลก” สงบ สำรวม ควบคุมขัดเกลาตนเอง เป็น “ธรรม

7 โลก หมายถึง ภพภูมิที่อุบัติของผู้ทำกรรมต่างๆ กัน เช่น นรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน เทวดา มาร พรหม

โลก” บางความหมายขึ้นอยู่กับความเห็นและความเชื่อ

โลก” บางความหมายไม่ขึ้นกับความเห็นและความเชื่อ หมายความว่า ไม่ว่าใครจะเห็นอย่างไรหรือเชื่ออย่างไร “โลก” ก็มีก็เป็นอย่างที่มีที่เป็น ไม่ใช่มีหรือเป็นอย่างที่เชื่อ

ปร + โลก = ปรโลก แปลตามศัพท์ว่า “โลกอื่น” มีความหมาย 2 นัย คือ –

1 ภพภูมิอื่น หรือดาวดวงอื่นที่มีชีวิต (the other world, the world beyond)

2 ชาติหน้า หรือชีวิตใหม่ คือตายจากชาตินี้แล้วเกิดใหม่ (future world, the world to come, the beyond or future life) (ตรงกันข้ามกับ อยํ โลโก this world, อิธโลก the world here)

(๒) “วัชชะ

บาลีเป็น “วชฺช” (วัด-ชะ) รากศัพท์มาจาก วชฺช (ธาตุ = ละ, เว้น) + ปัจจัย

: วชฺชฺ + = วชฺช (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันบัณฑิตพึงละหรือต้องละ” หมายถึง ข้อควรเว้น, ความผิด, บาป (that which should be avoided, a fault, sin)

การประสมคำ :

ปรโลกวัชชะ” มี 3 ศัพท์ คือ ปร  โลก  วัชชะ

ตามรูปศัพท์ชวนให้เข้าใจว่า โลก + วัชชะ = โลกวัชชะ เป็นคำหนึ่งที่เราคุ้นตา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โลกวัชชะ : (คำนาม) โทษทางโลก, อาบัติที่เป็นโทษทางโลก, ข้อเสียหายที่ชาวโลกติเตียนว่าไม่เหมาะสมกับสมณะ คือ สิ่งที่ภิกษุหรือคนทั่วไปที่ไม่ใช่ภิกษุทำ ก็เป็นความผิดความเสียหายเหมือนกัน เช่น ทําโจรกรรม ฆ่ามนุษย์ ทะเลาะวิวาท. (ป.).”

ในที่นี้ “โลก” ไม่ได้ประสมกับ “วัชชะ” แต่ไปประสมกับ “ปร” คือเป็น ปร + โลก = ปรโลก

ปรโลก” ภาษาไทยอ่านว่า ปะ-ระ-โลก ก็ได้ ปอ-ระ-โลก ก็ได้ (ตามพจนานุกรมฯ)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปรโลก : (คำนาม) โลกหน้า.”

ต่อไป ปรโลก + วัชชะ = ปรโลกวัชชะ ในที่นี้ประสงค์จะให้แปลว่า “โทษในปรโลก” หรือ “โทษแห่งปรโลก” มีความหมาย 2 อย่าง คือ –

๑ การทำความชั่วความผิดในชาตินี้แล้วส่งผลให้ไปได้รับทุกโทษในปรโลกหรือในชาติหน้า คือไปเกิดในภพภูมิที่ไม่ดี เช่น นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน หรือแม้เกิดในสุคติภูมิเช่นเป็นมนุษย์ แต่กลับได้รับทุกข์ภัยไร้ความสุขทั้งที่ยังไม่เคยทำชั่วทำผิดอะไรในชาตินี้เลย

๒ โทษภัยของการที่ยังจะต้องไปเกิดในชาติต่อไปอีก คือการต้องเวียนตายเวียนเกิดเป็นเหตุให้ต้องเสวยสุขบ้างทุกข์บ้างไม่รู้จบสิ้น

ผู้มีปัญญาย่อมเล็งเห็น “ปรโลกวัชชะ” คือโทษทั้ง 2 นัยนี้ แล้วงดเว้นการทำบาปทั้งปวง พร้อมกันนั้นก็พยายามบำเพ็ญเพียรเพื่อให้การเกิดในภพใหม่ลดน้อยถอยลงจนถึงไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

แต่ผู้มีปัญญาทรามย่อมประพฤติการอันตรงกันข้าม

…………..

ดูก่อนภราดา!

คนสองประเภทนี้ ท่านไม่ควรไว้ใจประเภทไหน

: ไม่ทำชั่วเพราะกลัวตกนรก

: ไม่ทำงานสกปรกเพราะกลัวคุกตะราง

#บาลีวันละคำ (1,950)

11-10-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย