บาลีวันละคำ

พิษ (บาลีวันละคำ 2,929)

พิษ

คำสั้น แต่หาความรู้ได้ยาว

พิษ” ภาษาไทยอ่านว่า พิด บาลีเป็น “วิส” อ่านว่า วิ-สะ รากศัพท์มาจาก วิสฺ (ธาต = เข้าไป) + ปัจจัย

: วิสฺ + = วิส (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เข้าสู่ร่างกายทางเส้นเลือด” หมายถึง ยาพิษ, พิษ, พิษของสัตว์ (poison, virus, venom)

…………..

แถม :

ในบทวิเคราะห์ศัพท์ว่า “วิส” (วิเคราะห์: กระบวนการแยกคำเพื่อหาความหมาย) ท่านแสดงไว้ว่า –

โสณิตปเถน วิสติ เทหนฺติ วิสํ” แปลตามสูตรว่า “สิ่งนั้น ย่อมเข้าไป สู่ร่างกาย โดยทางแห่งเส้นเลือด ดังนั้น สิ่งนั้น จึงชื่อว่า วิสํ

: “วิสํ” แปลว่า “สิ่งที่เข้าสู่ร่างกายทางเส้นเลือด

ในบทวิเคราะห์ คำว่า “เส้นเลือด” ท่านใช้คำว่า “โสณิต” (โส-นิ-ตะ) ซึ่งเป็นคำที่เราไม่คุ้นตา

โสณิต” รากศัพท์มาจาก โสณฺ (ธาต = สีแดง) + อิ อาคม + ปัจจัย

: โสณฺ + อิ + = โสณิต (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ของเหลวที่สีแดง” หมายถึง เลือด (blood)

โสณิต” อ่านแบบคำไทยว่า โส-นิด รูปคำดี เสียงดี ความหมายก็ดี เหมาะที่จะใช้เป็นชื่อคน โดยให้มีความหมายว่า “ผู้เป็นสายเลือด”- ประมาณนี้ ถ้าเป็นหญิงก็แผลงเป็น “โสณิตา” (โส-นิ-ตา)

โสณิต” คำนี้ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

ถ้ายังไม่มีใครรู้จัก ก็ขอมอบเป็นอภินันทนาการแด่นักตั้งชื่อทั้งหลายด้วยความยินดี

…………..

วิส” ในบาลีเป็น “วิษ” ในสันสกฤต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

วิษ : (คำนาม) พิษ; poison, wenom.”

ในภาษาไทย แผลง เป็น ตามหลักนิยม ใช้อิงสันสกฤตเป็น “พิษ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

พิษ, พิษ– : (คำนาม) สิ่งที่ร้ายเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือให้ความเดือดร้อนแก่จิตใจ; สิ่งที่ร้ายเป็นอันตราย เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทําให้ตาย เจ็บปวด หรือพิการได้ บางอย่างเกิดจากแร่ เช่นสารหนู, บางอย่างเกิดจากต้นไม้ เช่นต้นแสลงใจ, บางอย่างเกิดจากสัตว์ เช่นงู. (ส. วิษ; ป. วิส).”

…………..

ฝึกสมองทดลองความแม่นในพระธรรมวินัย :

๑ มีคนลอบเอายาพิษมาปนไว้ในขนม ภิกษุไม่รู้ ให้ขนมนั้นแก่เด็ก เด็กตายเพราะกินขนมนั้น ภิกษุต้องอาบัติหรือไม่ เพราะเหตุไร

๒ มิจฉาวณิชชา การค้าขาย 5 อย่างที่อุบาสกไม่พึงประกอบ 1 ใน 5 นั้นคือ วิสวณิชฺชา = ค้าขายยาพิษ

ขายยาเสพติด นี่ใช่แน่ แล้วขายยาฆ่าแมลงล่ะเป็นมิจฉาวณิชชาด้วยหรือไม่ เพราะเหตุไร

เขียนคำตอบไว้ในใจ

สงสัยอะไรปรึกษาสนทนาธรรมกัน

…………..

พุทธภาษิตเกี่ยวกับ “พิษ” :

วาณิโชว  ภยํ  มคฺคํ

อปฺปสตฺโถ  มหทฺธโน

วิสํ  ชีวิตุกาโมว

ปาปานิ  ปริวชฺชเย.

ควรเว้นกรรมชั่วทั้งหลายเสีย

เหมือนพ่อค้ามีทรัพย์มากมีพวกน้อย

เว้นทางที่มีภัย

และเหมือนผู้รักชีวิตเว้นยาพิษเสียฉะนั้น

ที่มา: ปาปวรรค ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่ม 25 ข้อ 19

ปาณิมฺหิ  เจ  วโณ  นาสฺส

หเรยฺย  ปาณินา  วิสํ

นาพฺพณํ  วิสมนฺเวติ

นตฺถิ  ปาปํ  อกุพฺพโต.

ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล

ก็พึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้

ยาพิษซึมเข้าฝ่ามือไม่มีแผลไม่ได้ฉันใด

บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำฉันนั้น

ที่มา: ปาปวรรค ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่ม 25 ข้อ 19

อนิจฺจา  อทฺธุวา  กามา

พหุทุกฺขา  มหาวิสา

อโยคุโฬว  สนฺตตฺโต

อฆมูลา  ทุกฺขปฺผลา.

กามทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน

มีทุกข์มาก มีพิษมาก

ดังก้อนเหล็กที่ร้อนจัด

เป็นต้นเค้าแห่งความคับแค้น มีทุกข์เป็นผล

ที่มา: สุเมธาเถรี เถรีคาถา พระไตรปิฎกเล่ม 26 ข้อ 474

ใครนึกภาษิตข้อไหนได้อีก เชิญเอามาเสริม

จดเพิ่มเติมลงไว้ในใจ

ช่วยกันศึกษาพระธรรมวินัย

คือรวมใจช่วยกันรักษาพระศาสนา

…………..

ดูก่อนภราดา!

สำหรับการเมือง : ท่านว่าสตางค์คืออสรพิษร้ายสุด

สำหรับบุรุษ : ท่านย่อมว่าสตรีคืออสรพิษ

แต่สำหรับบรรพชิต : ท่านว่าเป็นอสรพิษทั้งสตรีและสตางค์

#บาลีวันละคำ (2,929)

19-6-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *