บาลีวันละคำ

อติเรกลาโภ (บาลีวันละคำ 2,944)

อติเรกลาโภ

ของที่ล่อให้โลภ

เป็นคำบาลีตรงตัว อ่านว่า อะ-ติ-เร-กะ-ลา-โพ รูปคำเดิมเป็น “อติเรกลาภ” (อะ-ติ-เร-กะ-ลา-พะ) ประกอบด้วยคำว่า อติเรก + ลาภ

(๑) “อติเรก” (อะ-ติ-เร-กะ)

รูปคำนี้อธิบายกันว่ามาจาก อติ (คำอุปสรรค = ยิ่ง, เกิน, ล่วง) + เอก (เอ-กะ, = หนึ่ง), ลง อาคม

: อติ + + เอก = อติเรก แปลตามศัพท์ว่า “ยิ่งกว่าหนึ่ง” “เกินหนึ่งขึ้นไป” หมายถึง เหลือล้น, มากเกินไป; เกิน, เลย, ในปริมาณที่สูง; พิเศษ (surplus, too much; exceeding, excessive, in a high degree; extra)

บาลี “อติเรก” ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “อติเรก” และ “อดิเรก” บอกไว้ดังนี้ –

(1) อติเรก, อติเรก– : (คำวิเศษณ์) อดิเรก. (ป., ส.).

(2) อดิเรก, อดิเรก– : (คำวิเศษณ์) พิเศษ. (คำนาม) ชื่อพรพิเศษที่พระสงฆ์ชั้นพระราชาคณะถวายพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์หรือสามัญชนที่ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ในคําว่า ถวายอดิเรก. (ป., ส.).

(๒) “ลาภ” (ลา-พะ)

รากศัพท์มาจาก ลภฺ (ธาตุ = ได้) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ต้นธาตุเป็น อา (ลภฺ > ลาภ)

: ลภฺ + = ลภณ > ลภ > ลาภ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การได้” “ของที่ได้” เรานิยมพูดทับศัพท์ว่า ลาภ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ลาภ” ว่า receiving, getting, acquisition, gain, possession (การรับ, การได้, การได้มา, กำไร, สิ่งที่ได้มา, สมบัติ)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ลาภ : (คำนาม) สิ่งที่มักจะได้มาโดยไม่คาดคิด. (ป., ส. ลาภ ว่า ของที่ได้, การได้, กําไร).”

อติเรก + ลาภ = อติเรกลาภ แปลตามศัพท์ว่า “ลาภที่ล้นเหลือ

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “อติเรกลาภ” (อติ– ต เต่า) และ “อดิเรกลาภ” (อดิ– ด เด็ก) และให้ความหมายแบบยันกันไปยันกันมา คือ

(1) อติเรกลาภ : (คำนาม) อดิเรกลาภ, ลาภพิเศษ. (ป., ส.).

(2) อดิเรกลาภ : (คำนาม) อติเรกลาภ, ลาภพิเศษ. (ป., ส. อติเรกลาภ).

คำว่า “อดิเรกลาภ” นี้เคยได้ยินพระรุ่นเก่าท่านพูดเพี้ยนเป็น “เอกลาภ” (เอก-กะ-ลาบ) ก็มี เช่น “อยู่วัดในเมืองสบาย เอกลาภเยอะ

คำบาลี “อติเรกลาภ” แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกพจน์ ปุงลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “อติเรกลาโภ” (อะ-ติ-เร-กะ-ลา-โพ)

ในหลักพระธรรมวินัย “อติเรกลาโภ” หมายถึง ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิตที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้บริโภคใช้สอยได้เพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้เดิม กล่าวคือ :

(๑) ปิณฑิยาโลปโภชนะ : โภชนะที่ได้มาด้วยกำลังปลีแข้ง คือเที่ยวบิณฑบาต

…………..

ปิณฺฑิยาโลปโภชนํ  นิสฺสาย  ปพฺพชฺชา  ตตฺถ  เต  ยาวชีวํ  อุสฺสาโห  กรณีโย  อติเรกลาโภ  สงฺฆภตฺตํ  อุทฺเทสภตฺตํ  นิมนฺตนํ  สลากภตฺตํ  ปกฺขิกํ  อุโปสถิกํ  ปาฏิปทิกํ.

บรรพชาอาศัยโภชนะคือคำข้าวอันหาได้ด้วยกำลังปลีแข้ง เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต อดิเรกลาภคือ ภัตถวายสงฆ์ ภัตเฉพาะสงฆ์ การนิมนต์ ภัตถวายตามสลาก ภัตถวายในปักษ์ ภัตถวายในวันอุโบสถ ภัตถวายในวันปาฏิบท

…………..

หมายความว่าถ้ามีภัตเหล่านี้เกิดขึ้น จะไม่ต้องไปบิณฑบาตก็ได้

(๒) บังสุกุลจีวร : ผ้านุ่งห่มที่ทำจากของเขาทิ้ง = ผ้าบังสุกุล

…………..

ปํสุกูลจีวรํ  นิสฺสาย  ปพฺพชฺชา  ตตฺถ  เต  ยาวชีวํ  อุสฺสาโห  กรณีโย  อติเรกลาโภ  โขมํ  กปฺปาสิกํ  โกเสยฺยํ  กมฺพลํ  สาณํ  ภงฺคํ.

บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต อติเรกลาภคือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าเจือกัน (เช่นผ้าด้ายแกมไหม)

…………..

หมายความว่าถ้ามีผู้ถวายผ้าเหล่านี้ จะใช้สอยแทนผ้าบังสุกุลก็ได้

(๓) รุกขมูลเสนาสนะ : ที่อยู่อาศัยคือโคนไม้

…………..

รุกฺขมูลเสนาสนํ  นิสฺสาย  ปพฺพชฺชา  ตตฺถ  เต  ยาวชีวํ  อุสฺสาโห  กรณีโย  อติเรกลาโภ  วิหาโร  อฑฺฒโยโค  ปาสาโท  หมฺมิยํ  คุหา.

บรรพชาอาศัยโคนไม้เป็นเสนาสนะ เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต อดิเรกลาภคือ วิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น ถ้ำ

…………..

หมายความว่าถ้าได้ที่อยู่เช่นนี้ หรือมีผู้ทำที่อยู่เช่นนี้ถวาย จะอาศัยอยู่แทนโคนไม้ก็ได้

(๔) ปูติมุตตเภสัช : ยาน้ำมูตรเน่า

…………..

ปูติมุตฺตเภสชฺชํ  นิสฺสาย  ปพฺพชฺชา  ตตฺถ  เต  ยาวชีวํ  อุสฺสาโห  กรณีโย  อติเรกลาโภ  สปฺปิ  นวนีตํ  เตลํ  มธุ  ผาณิตํ.

บรรพชาอาศัยมูตรเน่าเป็นยา เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต อดิเรกลาภคือ เนยใส เนยขึ้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย.

…………..

หมายความว่าถ้ามีผู้ถวายเภสัชเหล่านี้ จะบริโภคแทนมูตรเน่าก็ได้

ที่มา: คัมภีร์มหาขันธกะ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 1

พระไตรปิฎกเล่ม 6 ข้อ 87

…………..

จะเห็นได้ว่า แม้จะกำหนดปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิตเพื่อความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย แต่ก็มิได้จำกัดตัดสิทธิ์ที่จะบริโภคใช้สอยสิ่งของที่เป็น “อติเรกลาโภ” เพียงแต่จำกัดว่าต้องเป็นของที่ “สมควรแก่สมณบริโภค

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ไม่มีอะไรง่ายสำหรับคนมักมาก

: ไม่มีอะไรยากสำหรับคนมักง่าย

#บาลีวันละคำ (2,944)

4-7-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *