บาลีวันละคำ

อารยอัษฎางคิกมรรค (บาลีวันละคำ 2,945)

อารยอัษฎางคิกมรรค

อ่านว่า อา-ระ-ยะ-อัด-สะ-ดาง-คิ-กะ-มัก

ประกอบด้วยคำว่า อารย + อัษฎางคิก + มรรค

(๑) “อารย

บาลีเป็น “อริย” อ่านว่า อะ-ริ-ยะ รากศัพท์มาจาก –

(1) อรห = “ผู้ฆ่าข้าศึกคือกิเลส”, แปลง ที่ และ เป็น อิย

: (อร + อห = ) อรห : อห > อิย : อร + อิย = อริย แปลเท่ากับคำว่า “อรห” คือ “ผู้ฆ่าข้าศึกคือกิเลส

(2) อรฺ (ธาตุ = ถึง, บรรลุ) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺ, ลง อิ อาคม

: อรฺ + อิ = อริ + ณฺย > = อริย แปลว่า “ผู้บรรลุธรรมคือมรรคและผล

(3) อารก = “ผู้ไกลจากกิเลส”, แปลง อารก เป็น อริย แปลเท่ากับคำว่า “อารก” คือ “ผู้ไกลจากกิเลส

(4) อรฺ (ธาตุ = ถึง, บรรลุ) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺ, ลง อิ อาคม [เหมือน (2)] แปลว่า “ผู้อันชาวโลกพึงเข้าถึง

(5) อริย = “ผลอันประเสริฐ” + ปัจจัย, ลบ

: อริย + = อริยณ > อริย แปลว่า “ผู้ยังชาวโลกให้ได้รับผลอันประเสริฐ

สรุปว่า “อริย” แปลว่า –

(1) ผู้ฆ่าข้าศึกคือกิเลส

(2) ผู้บรรลุธรรมคือมรรคและผล

(3) ผู้ไกลจากกิเลส

(4) ผู้อันชาวโลกพึงเข้าไปใกล้

(5) ผู้ยังชาวโลกให้ได้รับผลอันประเสริฐ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ประมวลความหมายของ “อริย” ไว้ดังนี้ –

๑ ทางเชื้อชาติ: หมายถึง ชาติอารยัน (racial: Aryan)

๒ ทางสังคม: หมายถึง ผู้ดี, เด่น, อริยชาติ, สกุลสูง (social: noble, distinguished, of high birth)

๓ ทางจริยศาสตร์: หมายถึง ถูกต้อง, ดี, ดีเลิศ (ethical: right, good, ideal)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อริย-, อริยะ : (คำนาม) ในพระพุทธศาสนา เรียกบุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ว่า พระอริยะ หรือ พระอริยบุคคล. (คำวิเศษณ์) เป็นของพระอริยะ, เป็นชาติอริยะ; เจริญ, เด่น, ประเสริฐ.”

บาลี “อริย” สันสกฤตเป็น “อารฺย” ในภาษาไทยใช้เป็น “อารย” “อารยะ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อารย-, อารยะ : (คำวิเศษณ์) เจริญ. (ส.; ป. อริย).”

(๒) “อัษฎางคิก

บาลีเป็น “อฏฺฐงฺคิก” (อัด-ถัง-คิ-กะ) ประกอบด้วยคำว่า อฏฺฐ + องฺค + อิก ปัจจัย

(ก) “อฏฺฐ” (อัด-ถะ) เป็นคำสังขยา (คำนับจำนวน) แปลว่า แปด (จำนวน 8)

(ข) “องฺค” (อัง-คะ) รากศัพท์มาจาก องฺคฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป; รู้) + (อะ) ปัจจัย

: องฺคฺ + = องค (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “ร่างที่เดินได้” (2) “เหตุเป็นเครื่องรู้ที่เกิด” คือทำให้รู้ต้นกำเนิด (3) “ส่วนอันเขารู้ว่าเป็นอวัยวะ

องฺค” ในบาลีหมายถึง ส่วนของร่างกาย, แขนขา, ชิ้นส่วน, ส่วนประกอบ, เหตุ, เครื่องหมาย (part of the body, a limb, part, member, cause, reason, status symbol); ส่วนประกอบของทั้งหมด หรือของระบบ หรือขององค์ (a constituent part of a whole or system or collection)

ในที่นี้ “องฺค” หมายถึง ส่วนประกอบของทั้งหมด

อฏฺฐ + องฺค = อฏฺฐงฺค (อัด-ถัง-คะ) แปลว่า “ส่วนทั้งแปด” คือ องค์ประกอบแปดส่วน

(ค) อฏฺฐงฺค + อิก = อฏฺฐงฺคิก (อัด-ถัง-คิ-กะ) แปลว่า “ประกอบด้วยส่วนทั้งแปด” คือ สิ่งใดๆ ที่มีองค์ประกอบแปดส่วน (ในที่นี้หมายถึง องค์ประกอบของมรรค)

อฏฺฐงฺคิก” ใช้ตามรูปสันสกฤตเป็น “อัษฎางคิก

(๓) “มรรค

บาลีเป็น “มคฺค” (มัก-คะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) มคฺคฺ (ธาตุ = ไป, ถึง; แสวงหา) + ปัจจัย

: มคฺค + = มคฺค แปลตามศัพท์ว่า (1) “ทางเป็นเครื่องไปสู่ที่ต้องการได้โดยตรง” (2) “ที่อันพวกคนเดินทางแสวงหา” (3) “ธรรมที่ยังบุคคลให้ถึงพระนิพพาน” (4) “ทางอันผู้ต้องการพระนิพพานดำเนินไป

(2) มชฺชฺ (ธาตุ = สะอาด, หมดจด) + ปัจจัย, ลบ , แปลง ชฺชฺ ที่ (ม)-ชฺชฺ เป็น คฺค

: มชฺช + = มชฺชณ > มชฺช > มคฺค แปลตามศัพท์ว่า “ที่ที่สะอาดโดยพวกคนเดินทาง

(3) (นิพพาน) + คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ปัจจัย, ซ้อน คฺ ระหว่าง + คมฺ, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ (คมฺ > )

: + คฺ + คมฺ = มคฺคม > มคฺค + = มคฺค แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมเป็นเครื่องถึงพระนิพพาน

(4) (กิเลเส มาเรติ = ฆ่ากิเลส) + (จฺฉติ = ไป), ซ้อน คฺ

: + คฺ + = มคฺค แปลตามศัพท์ว่า “วิธีที่ไปฆ่ากิเลส

มคฺค” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ถนน, ถนนใหญ่, ทาง, ทางเท้า (a road, high road, way, foot-path)

(2) ทางแห่งศีลธรรมและสัมมาชีพ, สัมมามรรคหรือทางที่ชอบธรรม (the road of moral & good living, the path of righteousness) คือมรรคในอริยสัจสี่

(3) ขั้นตอนของการบรรลุธรรม (Stage of righteousness) คือมรรคที่คู่กับผล

ในที่นี้ “มคฺค” ใช้ในความหมายตามข้อ (2)

ในภาษาไทย ใช้อิงรูปสันสกฤตเป็น “มรรค” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มรรค, มรรค-, มรรคา : (คำนาม) ทาง (ส. มารฺค; ป. มคฺค); เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล (ส. มารฺค; ป. มคฺค); ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ-ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา-การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ-การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ-การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ-ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ-ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ-ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).”

การประสมคำ :

(1) อฏฺฐงฺคิก + มคฺค = อฏฺฐงฺคิกมคฺค (อัด-ถัง-คิ-กะ-มัก-คะ) แปลว่า “ทางอันประกอบด้วยองค์แปด

(2) อริย + อฏฺฐงฺคิกมคฺค = อริยอฏฺฐงฺคิกมคฺค (อะ-ริ-ยะ-อัด-ถัง-คิ-กะ-มัก-คะ) แปลว่า “ทางอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ” (“ทางอันประเสริฐ” ไม่ใช่ “องค์แปดอันประเสริฐ”)

ขยายความ :

อฏฺฐงฺคิกมคฺค” ใช้ตามรูปสันสกฤตเป็น “อัษฎางคิกมรรค

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 มีคำว่า “อัษฎางคิกมรรค” บอกไว้ว่า –

อัษฎางคิกมรรค : (คำนาม) ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ตามหลักพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดําริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง.”

อริยอฏฺฐงฺคิกมคฺค” (อะ-ริ-ยะ-อัด-ถัง-คิ-กะ-มัก-คะ) ใช้อิงรูปสันสกฤตเป็น “อารยอัษฎางคิกมรรค” (อา-ระ-ยะ-อัด-สะ-ดาง-คิ-กะ-มัก)

คำว่า “อริยอฏฺฐงฺคิกมคฺค” ถ้าประกอบวิภัตติปัจจัยและแยกคำตามรูปศัพท์ในธัมมจักกัปปวัตนสูตรก็จะเป็น 3 คำ คือ “อริโย  อฏฺฐงฺคิโก  มคฺโค” ท่านที่นิยมสวดสาธยายธัมมจักกัปปวัตนสูตรคงจะคุ้นปาก คุ้นตา และคุ้นใจเป็นอันดี

มีแง่คิดทางธรรมเกี่ยวกับถ้อยคำ นั่นคือ ในพระสูตรท่านใช้คำว่า “มรรคมีองค์แปด” ไม่ได้ใช้คำว่า “มรรคแปด

มรรคแปด” กับ “มรรคมีองค์แปด” มีนัยที่ต่างกัน

มรรคแปด” คือ มรรคที่กระจายกันออกไป 8 ข้อ

มรรคมีองค์แปด” คือ จำนวน 8 ข้อที่เข้ามารวมกันอยู่ในมรรค

อุปมาเหมือนยาขนานหนึ่งซึ่งประกอบด้วยสมุนไพร 8 ชนิด

มรรคแปด” เหมือนรายการสมุนไพรที่แยกออกเป็น 8 ชนิด

มรรคมีองค์แปด” เหมือนยาขนานนั้นที่มีสมุนไพร 8 ชนิดประสมกลมกลืนเข้าด้วยกันครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว

จะเห็นได้ว่า เมื่อกล่าวถึง “อริยอฏฺฐงฺคิกมคฺค” หรือ “อารยอัษฎางคิกมรรค” หรือ “มรรคมีองค์แปด” ย่อมจะต้องประมวลมรรคทั้ง 8 ข้อ คือ สัมมาทิฐิ จนถึง สัมมาสมาธิ เข้ามาไว้ด้วยกัน จะขาดข้อใดข้อหนึ่งเสียมิได้ นั่นย่อมหมายความว่า เมื่อกล่าวถึง “มรรค”ในอริยสัจสี่(ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ย่อมจะต้องหมายถึงมรรคทั้ง 8 ข้อ ถ้านำไปปฏิบัติก็ต้องปฏิบัติครบทั้ง 8 ข้อ จะแยกปฏิบัติเพียงข้อใดข้อหนึ่งหาได้ไม่ ถ้าแยก ก็เหมือนได้ยาไปขนานหนึ่ง แต่ประสมเครื่องยาไม่ครบตามสูตร ยาขนานนั้นจะมีสรรพคุณด้อยลง อาจใช้รักษาโรคไม่ได้ผลตามที่ประสงค์ไปด้วย

…………..

อารยอัษฎางคิกมรรค” บูชาพระรัตนตรัยในวันอาสาฬบูชา

ขึ้น 15 ค่ำ เดือนอาสาฬหะ (เดือน 8)

5 กรกฎาคม 2563

…………..

ดูก่อนภราดา!

ปฏิบัติธรรมะของพระพุทธเจ้า

: เกินก็อุบาทว์

: ขาดก็ดูเบา

#บาลีวันละคำ (2,945)

5-7-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *