บาลีวันละคำ

อนันตจักรวาล (บาลีวันละคำ 2,949)

อนันตจักรวาล

ไม่รู้อวสานสุดสิ้นลงที่ตรงไหน

อ่านว่า อะ-นัน-ตะ-จัก-กฺระ-วาน

ประกอบด้วยคำว่า อนันต + จักรวาล

(๑) “อนันต

บาลีเขียน “อนนฺต” อ่านว่า อะ-นัน-ตะ ประสมขึ้นจากคำว่า (ไม่, ไม่ใช่) + อนฺต

(ก) “อนฺต” (อัน-ตะ) รากศัพท์มาจาก อมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + (ตะ) ปัจจัย, แปลง มฺ ที่สุดธาตุเป็น นฺ (อมฺ > อนฺ)

: อมฺ + = อมฺต > อนฺต แปลตามศัพท์ว่า “ถึงที่สุด

อนฺต” ตามคำแปลนี้หมายถึง :

(1) ที่สุด, สำเร็จ, ที่หมาย (end, finish, goal)

(2) เขต, ชาย, ริม (limit, border, edge)

(3) ข้าง (side)

(4) ด้านตรงกันข้าม, ตรงกันข้าม, ตำแหน่งตรงกัน (opposite side, opposite, counterpart)

(ข) + อนฺต แปลง เป็น อน ตามกฎการประสมของ + กล่าวคือ :

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – เช่น

: + มนุสฺส = นมนุสฺส > อมนุสฺส > อมนุษย์

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง เป็น อน

ในที่นี้ “อนฺต” ขึ้นต้นด้วยสระ คือ – จึงต้องแปลง เป็น อน

: > อน + อนฺต = อนนฺต แปลตามศัพท์ว่า “ไม่มีที่สุด” หมายถึง หาที่สุดมิได้, ไม่จบสิ้น, ไม่มีขอบเขต (endless, infinite, boundless)

ตามศัพท์ อนนฺต ไม่ได้แปลว่า “มากล้น” แต่สิ่งใด “ไม่มีที่สุด” สิ่งนั้นย่อมส่อนัยว่า มากมาย มากเหลือล้นนั่นเอง

บาลี “อนนฺต” ใช้ในภาษาไทยเป็น “อนันต” “อนันต์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อนันต-, อนันต์ : (คำวิเศษณ์) ไม่มีสิ้นสุด, มากล้น, เช่น อนันตคุณ คุณอนันต์. (ป.).”

(๒) “จักรวาล

บาลีเป็น “จกฺกวาฬ” (จัก-กะ-วา-ละ) แยกศัพท์เป็น จกฺก + วาฬ

(ก) “จกฺก” (จัก-กะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) (แทนศัพท์ว่า “คมน” = การไป) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ, ซ้อน กฺ ระหว่าง + กรฺ

: + กฺ + กรฺ + กฺวิ = จกฺกรกฺวิ > จกฺกร > จกฺก แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องทำให้เคลื่อนไปได้” หมายถึง ล้อ, วงล้อ, ชิ้นส่วนที่เป็นวงกลม

(2) จกฺก (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย

: จกฺก + = จกฺก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เบียดเบียนแผ่นดิน” (คือบดแผ่นดิน) หมายถึง ล้อ, วงล้อ และหมายถึง กงจักร คืออาวุธรูปเป็นวงกลมและมีแฉก ๆ โดยรอบ สำหรับขว้างไปสังหาร

(3) กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย, ทำ ต้นธาตุให้เป็นสองอักษร (ภาษาไวยากรณ์ว่า “ทเวภาวะ” = ภาวะที่เป็นสอง : กรฺ > กกรฺ) แล้วแปลง ที่เกิดใหม่เป็น (กกรฺ > จกรฺ), แปลง เป็น กฺก, ลบ รฺ ที่สุดธาตุ

: กรฺ + = กร > กกร > จกร > จกฺกร > จกฺก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นเหตุให้ทำการยึดครองได้” หมายถึง กองทัพ, กำลังพล, กำลังรบ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “จกฺก” ไว้ดังนี้ –

1 a wheel [of a carriage] (ล้อ [รถ])

2 a discus used as a missile weapon (แผ่นหินแบนกลมใช้เป็นอาวุธสำหรับขว้างไป)

3 a disc, a circle (แผ่นกลม, วงกลม)

4 an array of troops (ขบวนทหาร)

5 collection, set, part; succession; sphere, region, cycle (หมู่, กลุ่ม, ชุด, ส่วน; การสืบลำดับ; ถิ่น, เขตแดน, รอบ)

6 a vehicle, instrument, means & ways; attribute, quality; state, condition, esp. good condition [fit instrumentality] (ยานพาหนะ, เครื่องมือ, หนทางและวิถีทาง; คุณสมบัติ, คุณภาพ, สถานะ, สภาพ, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เงื่อนไขที่ดี [เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมได้])

(ข) จกฺก + วา (ธาตุ = ไป) + อล ปัจจัย, แปลง เป็น

: จกฺก + วา = จกฺกวา + อล = จกฺกวาล > จกฺกวาฬ (ปุงลิงค์; นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่หมุนไปเหมือนล้อ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “จกฺกวาฬ” ว่า a circle, a sphere, esp. a mythical range of mountains supposed to encircle the world (จักรวาล, วงกลม, โลก, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภูเขาซึ่งล้อมรอบโลกไว้)

บาลี “จกฺกวาฬ” ใช้ในภาษาไทยเป็น “จักรวาล” (-วาล ล ลิง) แต่ในคัมภีร์บาลีเองที่สะกดเป็น “จกฺกวาล” (-วาล ล ลิง) ก็มีบ้าง

เมื่อพูดถึงคำว่า “จักรวาล” เป็นภาษาอังกฤษ เราคุ้นกับคำว่า universe แต่โปรดสังเกตว่า พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ซึ่งฝรั่งชาติอังกฤษเป็นผู้ทำ ไม่ได้แปล “จกฺกวาฬ” ว่า universe

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

จักรวาล : (คำนาม) ปริมณฑล; ประชุม, หมู่; เทือกเขาในนิยาย เป็นกําแพงล้อมรอบโลกและเป็นเขตกั้นแสงสว่างกับความมืด, บริเวณโดยรอบของโลก, ทั่วโลก. (ส.; ป. จกฺกวาล).”

อนนฺต + จกฺกวาฬ = อนนฺตจกฺกวาฬ > อนันตจักรวาล แปลว่า “จักรวาลอันไม่มีที่สิ้นสุด” คือกำหนดนับไม่ได้ว่า จักรวาลมีจำนวนเท่าไร มีกี่แสนกี่โกฏิจักรวาลนับไม่ได้

เสริมความรู้ :

คัมภีร์อัฎฐสาลินีกล่าวไว้ว่า สิ่งที่เป็น “อนันตะ” คือหาที่สุดมิได้ มี 4 อย่าง คือ –

(1) อากาศ (อากาโส  อนนฺโต)

(2) จักรวาล (จกฺกวาฬานิ  อนนฺตานิ)

(3) จำพวกสิ่งมีชีวิต (สตฺตนิกาโย  อนนฺโต)

(4) พระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า (พุทฺธญาณํ  อนนฺตํ)

บางท่านกล่าวว่า กิเลสตัณหาของมนุษย์ก็เป็น “อนันตะ” หาที่สุดมิได้ด้วยเช่นกัน เช่น มีเท่านี้แล้วอยากได้เพิ่มเป็นเท่านั้น ครั้นพอมีเท่านั้นก็อยากได้เพิ่มเป็นเท่าโน้นต่อๆ ไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด

แต่กิเลสตัณหาก็เป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถกำจัดให้สิ้นสุดลงได้

…………..

ดูก่อนภราดา!

: สมบัติทั้งอนันตจักรวาล

ไม่พอที่จะดับความต้องการของมนุษย์แม้เพียงคนเดียวในโลกนี้ (ไม่จำต้องกล่าวถึงความต้องการของมนุษย์ทั้งโลก)

: แต่พระนิพพานเพียงสิ่งเดียวในโลกนี้ พอที่จะดับความต้องการของทุกชีวิตในอนันตจักรวาล

#บาลีวันละคำ (2,949)

9-7-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย