บาลีวันละคำ

โภชเนมัตตัญญุตา (บาลีวันละคำ 2,950)

โภชเนมัตตัญญุตา

หนึ่งในปฏิปทาที่ไม่ผิด

อ่านว่า โพ-ชะ-เน-มัด-ตัน-ยุ-ตา

โภชเนมัตตัญญุตา” เขียนแบบบาลีเป็น “โภชเนมตฺตญฺญุตา” ประกอบด้วยคำว่า โภชเน + มตฺตญฺญุตา

(๑) “โภชเน

อ่านว่า โพ-ชะ-เน รูปคำเดิมเป็น “โภชน” (โพ-ชะ-นะ) รากศัพท์มาจาก ภุชฺ (ธาตุ = กิน) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แผลง อุ ที่ ภุ-(ชฺ) เป็น โอ (ภุชฺ > โภช)

: ภุชฺ + ยุ > อน = ภุชน > โภชน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขากิน” “สิ่งที่ควรกิน” หมายถึง อาหาร, โภชนะ, ของกินโดยทั่วๆ ไป (food, meal, nourishment in general); การกิน (eating)

โภชน” แจกด้วยวิภัตตินามที่เจ็ด (สัตตมีวิภัตติ) เอกพจน์ นปุงสกลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “โภชเน” แปลว่า “ในโภชนะ” (ในการกิน)

(๒) “มตฺตญฺญุตา

อ่านว่า มัด-ตัน-ยุ-ตา คำเดิมมาจาก มตฺตญฺญู + ตา ปัจจัย

(ก) “มตฺตญฺญู” (มัด-ตัน-ยู) รากศัพท์มาจาก มตฺต + ญู

(1) “มตฺต” (มัด-ตะ, เป็น “มตฺตา” ก็มี) รากศัพท์มาจาก มา (ธาตุ = กะ, ประมาณ) + ปัจจัย, รัสสะ ( = ทำให้เสียงสั้น) อา (ที่ มา) เป็น อะ (มา > ), ซ้อน

: มา > + + = มตฺต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขากำหนด” มีความหมายว่า –

(1) ประกอบด้วย, วัดหรือนับได้, ประมาณ (consisting of, measured, measuring)

(2) มากถึง, มากเท่านั้น, เพียงพอ (as much as, so much, some, enough of)

(3) เหมือน, เหมือนเช่น, สิ่งที่เรียกว่า, อาจพูดได้ว่า (like, just as what is called, one may say)

(4) มาตร, ปริมาณหรือจำนวน, ปริมาณที่ถูกต้อง, ความพอดี (measure, quantity, right measure, moderation)

(2) มตฺต + ญา (ธาตุ = รู้) + รู ปัจจัย, ซ้อน ญฺ, ลบสระที่สุดธาตุ (ญา > ) และลบ ที่ รู (รู > อู)

: มตฺต + ญฺ + ญา = มตฺตญฺญา > มตฺตญฺญ + รู > อู : มตฺตญฺญ + อู = มตฺตญฺญู แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้ความพอดี” หมายถึง รู้จักปริมาตรที่ถูก, รู้จักประมาณหรือความพอควร, รู้จักยับยั้ง (knowing the right measure, moderate, temperate)

มตฺตญฺญู” ภาษาไทยใช้ทับศัพท์ว่า “มัตตัญญู

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มัตตัญญู : (คำนาม) ผู้รู้ประมาณคือความพอเหมาะพอดี. (ป.).”

(ข) มตฺตญฺญู + ตา ปัจจัย

ตา” ปัจจัยที่ลงท้ายศัพท์ แปลว่า “ความเป็น–” เทียบกับภาษาอังกฤษก็คล้ายกับ -ness -ation หรือ -ity นั่นเอง

: มตฺตญฺญู + ตา = มตฺตญฺญูตา > มตฺตญฺญุตา แปลตามศัพท์ว่า “ความเป็นผู้รู้ความพอดี” หมายถึง ความรู้จักประมาณ (moderation)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกความหมายของ “มัตตัญญุตา” ไว้ว่า –

มัตตัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักประมาณ คือความพอเหมาะพอดี เช่น รู้จักประมาณในการแสวงหา รู้จักประมาณในการใช้จ่ายพอเหมาะพอควรเป็นต้น.”

โภชเน + มตฺตญฺญุตา = โภชเนมตฺตญฺญุตา แปลว่า “ความเป็นรู้จักประมาณในการกิน” หมายถึง ความรู้จักประมาณในการบริโภค คือรู้จักพิจารณารับประทานอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายใช้ทำกิจให้ชีวิตผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมา (moderation in eating)

โภชเนมตฺตญฺญุตา” เขียนแบบไทยเป็น “โภชเนมัตตัญญุตา

โภชเนมัตตัญญุตา” เป็นคำพิเศษ คือคำว่า “โภชเน” แม้จะสมาสกับ “มตฺตญฺญุตา” (ภาษานักเรียนบาลีเรียกว่า “เข้าสมาส”) แล้ว ก็ไม่ลบวิภัตติ ปกติควรลบวิภัตติ คือได้รูปเป็น “โภชนมตฺตญฺญุตา” (โพ-ชะ-นะ-มัด-ตัน-ยุ-ตา) แต่เพราะไม่ลบวิภัตติจึงได้รูปเป็น “โภชเนมตฺตญฺญุตา” (โภชเนมัตตัญญุตา)

คำอื่นๆ ที่ไม่ลบวิภัตติเช่นเดียวกัน ที่เราคุ้นตาก็อย่างเช่น “พเนจร” (เที่ยวป่า, พรานป่า; ร่อนเร่ไป) คำว่า “พเน” นั้นรูปคำเดิมคือ “พน” (พะ-นะ) บาลีเป็น “วน” (วะ-นะ) แจกด้วยวิภัตตินามที่เจ็ด (สัตตมีวิภัตติ) เอกพจน์ นปุงสกลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “วเน” แปลว่า “ในป่า” สมาสกับ “จร” ควรจะได้รูปเป็น “วนจร” (พนจร) แต่เพราะไม่ลบวิภัตติจึงได้รูปเป็น “วเนจร” (พเนจร)

อีกคำหนึ่ง คือ “มนสิการ” (มะ-นะ-สิ-กาน) คำว่า “มนสิ” รูปคำเดิมคือ “มน” ส่วน “สิ” เป็นคำที่เกิดจากการแจกวิภัตติที่เจ็ด “มน” เปลี่ยนรูปเป็น “มนสิ” แปลว่า “ในใจ” สมาสกับ “การ” ควรจะได้รูปเป็น “มนการ” แต่เพราะไม่ลบวิภัตติจึงได้รูปเป็น “มนสิการ” แปลว่า “การทำไว้ในใจ

โภชเนมัตตัญญุตา” เป็นคุณธรรมข้อหนึ่งในธรรมะชุดที่เรียกว่า “อปัณณกปฏิปทา” หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด, ปฏิปทาที่เป็นส่วนแก่นสารเนื้อแท้ ซึ่งจะนำผู้ปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม เป็นผู้ดำเนินอยู่ในแนวทางแห่งความปลอดพ้นจากทุกข์อย่างแน่นอนไม่ผิดพลาด

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ทุกชีวิตจำเป็นต้องกิน

: แต่ทุกชีวิตไม่จำเป็นต้องโกงกิน

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

#บาลีวันละคำ (2,950)

10-7-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย