บาลีวันละคำ

มัธยมบุรุษ – มัชฌิมบุรุษ (บาลีวันละคำ 2,970)

มัธยมบุรุษมัชฌิมบุรุษ

“คนมีในท่ามกลาง” คือใคร

มัธยมบุรุษ” อ่านว่า มัด-ทะ-ยม-มะ-บุ-หฺรุด

มัชฌิมบุรุษ” อ่านว่า มัด-ชิม-มะ-บุ-หฺรุด

มีศัพท์อยู่ 3 คำ คือ “มัธยม” “มัชฌิม” และ“บุรุษ

(๑) “มัธยม” กับ “มัชฌิม

รูปต่างกัน แต่รากเดียวกัน “มัธยม” เป็นรูปคำสันสกฤต “มัชฌิม” เป็นรูปคำบาลี

มัชฌิม” เขียนแบบบาลีเป็น “มชฺฌิม” อ่านว่า มัด-ชิ-มะ ศัพท์เดิมมาจาก มชฺฌ + อิม (อิ-มะ) ปัจจัย

(ก) “มชฺฌ” รากศัพท์มาจาก มชฺ (ธาตุ = บริสุทธิ์, สะอาด) + ปัจจัย

: มชฺ + = มชฺฌ แปลตามศัพท์ว่า “จุดที่หมดจด

มชฺฌ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) (นปุงสกลิงค์) ตรงกลาง, กลาง ๆ, สามัญ, มัธยม, สายกลาง (middle, medium, mediocre, secondary, moderate)

(2) (ปุงลิงค์) สะเอว (the waist)

(ข) มชฺฌ + อิม = มชฺฌิม ใช้เป็นคุณศัพท์ แปลตามศัพท์ว่า “-อันตั้งอยู่ในท่ามกลาง” หรือ “-อันเป็นไปในท่ามกลาง

ความหมายนี้ใช้ในการเทียบเคียงคำซึ่งเป็นคู่กันกับความหมายว่า มากกว่านั้นหรือน้อยกว่านั้น ในกระบวน 3 คำ เช่น “เล็ก – กลาง – ใหญ่” (small – medium – big) หรือ “แรก – กลาง – หลัง” (first – middle – last)

มชฺฌิม” เขียนแบบไทยเป็น “มัชฌิม” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มัชฌิม– : (คำวิเศษณ์) ปานกลาง. (ป. มชฺฌิม).”

ส่วน “มัธยม” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มัธยม, มัธยม– : (คำวิเศษณ์) กลาง, ปานกลาง. (ส.).”

(๒) “บุรุษ

บาลีเป็น “ปุริส” (ปุ-ริ-สะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ปุร (ธาตุ = เต็ม) + อิส ปัจจัย

: ปุร + อิส = ปุริส แปลว่า “ผู้ยังดวงใจของบิดามารดาให้เต็ม

(2) ปุ ( = นรก) + ริส (ธาตุ = เบียดเบียน, กำจัด)

: ปุ + ริส = ปุริส แปลว่า “ผู้เบียดเบียนนรก” คือทำให้นรกว่าง เพราะเกิดมาทำให้บิดามารดาไม่ต้องตกนรกขุมที่ชื่อ “ปุตตะ

(3) ปุริ ( = เบื้องบน) + สี (ธาตุ = อยู่)

: ปุริ + สี > = ปุริส แปลว่า “ผู้อยู่ในเบื้องสูง” หมายถึงเป็นหัวหน้า

(4) ปุร ( = เบื้องหน้า) + สี (ธาตุ = เป็นไป)

: ปุร + อิ = ปุริ + สี > = ปุริส แปลว่า “ผู้เป็นไปในเบื้องหน้า” หมายถึงผู้นำหน้า

(5) ( = ปกติ) + อุร ( = อก) + สี (ธาตุ = นอน)

: + อุร = ปุร + อิ = ปุริ + สี > = ปุริส แปลว่า “ผู้นอน บน อก โดยปกติ

ปุริส” สันสกฤตเป็น “ปุรุษ” ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “บุรุษ

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บุรุษ, บุรุษ– : (คำนาม) ผู้ชาย, เพศชาย, คู่กับ สตรี, ใช้ในลักษณะที่สุภาพ; (คำที่ใช้ในไวยากรณ์) (คำนาม) คำสรรพนามบอกผู้พูด เรียกว่า สรรพนามบุรุษที่ ๑, คำสรรพนามบอกผู้ที่พูดด้วย เรียกว่า สรรพนามบุรุษที่ ๒, คำสรรพนามบอกผู้ที่พูดถึง เรียกว่า สรรพนามบุรุษที่ ๓. (ส. ปุรุษ; ป. ปุริส).”

พึงทราบว่า “ปุริส” ในภาษาบาลีไม่ได้เล็งที่ “ผู้ชาย” เสมอไป ในที่หลายแห่งหมายถึง “คน” หรือมนุษย์ทั่วไป ไม่แยกว่าชายหรือหญิง เช่นเดียวกับคำว่า man ในภาษาอังกฤษ แปลว่า “ผู้ชาย” ก็ได้ แปลว่า “คน” หรือมนุษย์ทั่วไปก็ได้

มัธยม + บุรุษ = มัธยมบุรุษ

มัชฌิม + บุรุษ = มัชฌิมบุรุษ

แปลตามศัพท์เหมือนกันว่า “คนมีในท่ามกลาง

อภิปรายขยายความ :

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 มีคำว่า “มัชฌิมบุรุษ” บอกไว้ว่า –

มัชฌิมบุรุษ : (คำนาม) ชายที่มีวัยปานกลาง, ชายที่มีอายุและกำลังปานกลาง.”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ไม่ได้เก็บคำว่า “มัธยมบุรุษ” แต่เก็บคำว่า “ปฐมบุรุษ” ไว้ บอกไว้ดังนี้ –

ปฐมบุรุษ : (คำนาม) บุรุษที่ ๑, ตามไวยากรณ์ ได้แก่ สรรพนามพวกที่ใช้แทนชื่อผู้พูด เช่น ข้า เรา แต่ตามไวยากรณ์บาลีหมายถึงพวกที่เราพูดถึง เช่น เขา.”

บุรุษ” ตามไวยากรณ์บาลีมี 3 คือ –

ปฐมบุรุษ หมายถึงพวกที่เราพูดถึง เช่น เขา มัน บาลีใช้ “” (ตะ) ศัพท์

มัธยมบุรุษ หมายถึงพวกที่เราพูดด้วย เช่น แก เจ้า มึง บาลีใช้ “ตุมฺห” (ตุม-หะ) ศัพท์

อุตตมบุรุษ หรือ อุดมบุรุษ หมายถึงพวกเราซึ่งเป็นผู้พูด เช่น ฉัน ข้า กู บาลีใช้ “อมฺห” (อำ-หะ) ศัพท์

น่าแปลกที่พจนานุกรมฯ เก็บคำว่า “ปฐมบุรุษ” แต่ไม่ได้เก็บคำว่า “มัธยมบุรุษ” และ “อุดมบุรุษ

ส่วนคำว่า “มัชฌิมบุรุษ” แม้จะมีรากศัพท์เหมือนกัน แต่เมื่อเอามาใช้ในภาษาไทย คำนี้ก็ไม่ได้ใช้เกี่ยวกับไวยากรณ์ คือไม่ได้มีความหมายเหมือน “มัธยมบุรุษ” แต่หมายถึง ชายที่มีวัยปานกลาง, ชายที่มีอายุและกำลังปานกลาง ดังที่พจนานุกรมฯ บอกไว้ตามที่อ้างข้างต้น

…………..

ดูก่อนภราดา!

บุรุษดังนี้ยังพอจะหาได้ฤๅหาไม่ –

: เป็นคนแรกที่อาสา-แม้รู้ว่าจะต้องไปตาย

: เป็นคนสุดท้าย-ถ้าจะขอให้ได้รับรางวัล

#บาลีวันละคำ (2,970)

30-7-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *