บาลีวันละคำ

ยุติธรรม – ยุติกรรม (บาลีวันละคำ 2,971)

ยุติธรรมยุติกรรม

จะเกิดอะไรเมื่อคำใหม่ใช้กับคำเก่า

ยุติธรรม” อ่านว่า ยุด-ติ-ทำ

ยุติกรรม” อ่านว่า ยุด-ติ-กำ

มีคำอยู่ 3 คำ คือ “ยุติ” “ธรรม” และ “กรรม

(๑) “ยุติ

บาลีเป็น “ยุตฺติ” ( 2 ตัว มีจุดใต้ ตัวหน้า) อ่านว่า ยุด-ติ รากศัพท์มาจาก ยุชฺ (ธาตุ = ประกอบ) + ปัจจัย, แปลงที่สุดธาตุ (คือ ชฺ) กับ เป็น ตฺต + อิ ปัจจัย

: ยุชฺ + = ยุชต > ยุตฺต + อิ = ยุตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “ประกอบแล้ว

ยุตฺติ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การประยุกต์, การใช้ (application, use)

(2) ความเหมาะสม (fitness)

(3) (ความหมายทางตรรกศาสตร์) ความเหมาะสม, การแปลความที่ถูกต้อง, ความถูกต้องแห่งความหมาย ([logical] fitness, right construction, correctness of meaning)

(4) กลอุบาย, วิธีกระทำ, การปฏิบัติ (trick, device, practice)

บาลี “ยุตฺติ” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ยุติ” (ตัด ออกตัวหนึ่ง)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายในภาษาไทยไว้ว่า –

(1) ยุติ– ๑ : (คำกริยา) ชอบ, ถูกต้อง. (ป. ยุตฺติ; ส. ยุกฺติ).

(2) ยุติ ๒ : (คำกริยา) ตกลง, จบ, เลิก, เช่น เรื่องนี้ยุติแล้ว ไม่ต้องพิจารณาอีกต่อไป.

โปรดสังเกตว่า “ยุติ” ที่หมายถึง ชอบ, ถูกต้อง นั้น พจนานุกรมฯ เขียน “ยุติ-” (มีขีดท้าย) นั่นคือ ต้องมีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย เช่นในที่นี้คือ ยุติ + ธรรม = ยุติธรรม

(๒) “ธรรม

บาลีเป็น “ธมฺม” (ทำ-มะ) รากศัพท์มาจาก ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺม (ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (ธรฺ > ) และ ต้นปัจจัย (รมฺม > มฺม)

: ธรฺ > + รมฺม > มฺม : + มฺม = ธมฺม (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “กรรมที่ทรงไว้ซึ่งความดีทุกอย่าง” (หมายถึงบุญ)

(2) “สภาวะที่ทรงผู้ดำรงตนไว้มิให้ตกไปในอบายและวัฏทุกข์” (หมายถึงคุณธรรมทั่วไปตลอดจนถึงโลกุตรธรรม)

(3) “สภาวะที่ทรงไว้ซึ่งสัตว์ผู้บรรลุมรรคเป็นต้นมิให้ตกไปในอบาย” (หมายถึงโลกุตรธรรม คือมรรคผล)

(4) “สภาวะที่ทรงลักษณะของตนไว้ หรืออันปัจจัยทั้งหลายทรงไว้” (หมายถึงสภาพหรือสัจธรรมทั่วไป)

(5) “สภาวะอันพระอริยะมีโสดาบันเป็นต้นทรงไว้ ปุถุชนทรงไว้ไม่ได้” (หมายถึงโลกุตรธรรม คือมรรคผล)

คำแปลตามศัพท์ที่เป็นกลางๆ “ธมฺม” คือ “สภาพที่ทรงไว้

ธมฺม” สันสกฤตเป็น “ธรฺม” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น “ธรรม

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “ธรรม” ไว้ดังนี้ –

(1) คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม

(2) คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า

(3) หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม

(4) ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม

(5) ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม

(6) กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ

(7) กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ

(8) สิ่งของ เช่น เครื่องไทยธรรม

ในที่นี้ “ธรรม” มีความหมายตามข้อ (5) ความยุติธรรม, ความถูกต้อง

(๓) “กรรม

บาลีเป็น “กมฺม” (กำ-มะ) สันสกฤตเป็น “กรฺม” (กระ-มะ, ควบ กลืนเสียง ระ ลงคอ) ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “กรรม

กมฺม” รากศัพท์คือ กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ, ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ ที่ต้นปัจจัย

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม

กมฺม” แปลว่า การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (the doing, deed, work) นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กรรม ๑, กรรม– ๑ : (คำนาม) (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม.(๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมายังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ.(๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ.(๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.”

การประสมคำ :

ยุตฺติ + ธมฺม = ยุตฺติธมฺม > ยุติธรรม แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมคือความถูกต้อง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายในภาษาไทยไว้ว่า –

ยุติธรรม : (คำนาม) ความเที่ยงธรรม, ความชอบธรรม, ความชอบด้วยเหตุผล, เช่น ศาลย่อมทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการศาลยุติธรรม แต่ไม่รวมถึงการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี. (คำวิเศษณ์) เที่ยงธรรม, ไม่เอนเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง, ชอบด้วยเหตุผล, เช่น ราคายุติธรรม กรรมการตัดสินอย่างยุติธรรม.”

ยุตฺติ + กมฺม = ยุตฺติกมฺม > ยุติกรรม แปลตามประสงค์ว่า “ทำให้กรรมยุติลง” หมายถึง ทำให้การก่อเวรกรรมต่อกันสิ้นสุดลง

พึงทราบว่า ยังไม่พบรูปศัพท์ “ยุตฺติธมฺม” (ยุด-ติ-ทำ-มะ) และ “ยุตฺติกมฺม” (ยุด-ติ-กำ-มะ) ในคัมภีร์บาลี

อภิปรายขยายความ :

(1) “ยุติธรรม

คำว่า “ยุติ” ในภาษาไทย เรามักเข้าใจกันว่าหมายถึง-จบ, เลิก, ไม่ทำต่อไปอีก เช่น “เรื่องนี้ยุติแล้ว ไม่ต้องพิจารณาอีก” “กรรมการยุติการชก

แต่ในภาษาบาลี “ยุตฺติ” ไม่ได้แปลว่า จบ หรือเลิกกันไป แต่มีความหมายหลักว่า “ความเหมาะสม” ในด้านต่างๆ เช่น –

(1) การประยุกต์ = ปรับใช้ให้เหมาะสม

(2) ความเป็นธรรม, ความถูกต้อง = เหมาะสมกับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น

(3) การแปลความที่ถูกต้อง, ความถูกต้องแห่งความหมาย (ใช้ในทางตรรกศาสตร์) = ตีความได้เหมาะสม

(4) กลอุบาย, วิธีกระทำ, การปฏิบัติ = ทำและใช้ให้เหมาะสมจนเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดี

คำว่า “ยุติธรรม” เราก็เอาคำว่า “ยุตฺติ” ในความหมายในข้อ (2) มาใช้ กล่าวคือ “กระบวนการทำผู้มีสิทธิ์ไม่ให้เสียสิทธิ์ และทำผู้ไม่มีสิทธิ์ไม่ให้ได้สิทธิ์” หมายถึงความเที่ยงธรรม, ความชอบธรรม, ความชอบด้วยเหตุผล

เหตุที่ “ยุติ” ถูกใช้ในความหมายว่า “จบ, เลิก” น่าจะเป็นเพราะเมื่อสิ่งนั้นหรือเรื่องนั้นถูกดำเนินการให้เกิด “ความเหมาะสม” แล้วก็เป็นที่พอใจ เมื่อพอใจก็ไม่ต้องทำอะไรอีกต่อไป ก็คือ จบ

สรุปว่า “ยุติธรรม” ในหมู่มนุษย์ที่เจริญแล้วไม่ใช่แค่จบ แต่ต้องจบอย่างถูกต้อง เหมาะสม เป็นที่ชื่นชมยินดีของสาธุชนด้วย

…………..

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปลคำว่า “ยุติธรรม” เป็นอังกฤษว่า justice, fair, impartiality.

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปลคำอังกฤษทั้ง 3 คำเป็นบาลีดังนี้ –

๑ justice :

(1) yutti ยุตฺติ (ยุด-ติ) = ถูกต้อง, เที่ยงธรรม

(2) ñāya ญาย (ยา-ยะ) = เหมาะสม, ถูกต้อง

๒ fair:

(1) suci สุจิ (สุ-จิ) = ใสสะอาด

(2) dhammika ธมฺมิก (ทำ-มิ-กะ) = ชอบธรรม, เป็นธรรม

(3) nimmala นิมฺมล (นิม-มะ-ละ) = ไม่มัวหมอง, ไม่สกปรก

(4) visada วิสท (วิ-สะ-ทะ) = โปร่งใส

(5) pasādajanaka ปาสาทชนก (ปา-สา-ทะ-ชะ-นะ-กะ) = ก่อให้เกิดความชื่นชม

๓ impartiality:

(1) apakkhapātitā อปกฺขปาติตา (อะ-ปัก-ขะ-ปา-ติ-ตา) = ไม่ตกเป็นฝักฝ่าย

(2) upekkhā อุเปกฺขา (อุ-เปก-ขา) = มีใจเป็นกลางประกอบด้วยเหตุผล

(3) majjhattatā มชฺฌตฺตตา = ความเป็นกลาง

(2) “ยุติกรรม

เป็นคำที่มีผู้ผูกขึ้นใหม่ด้วยเจตนาที่จะล้อหรือเทียบกับคำว่า “ยุติธรรม” ที่มีใช้อยู่แล้ว และโยงคำทั้งสองให้เกิดความหมายผูกพันกัน ดังคำโปรยสั้นๆ ใต้ชื่อบทความเรื่อง “ยุติธรรม ยุติกรรม” ที่ว่า –

…………..

เพราะความยุติธรรมไม่มา จึงหาทางยุติกรรมไม่เจอ

หนทางเดียวที่จะยุติกรรม คือการหยิบยื่นความยุติธรรม

…………..

และความตอนท้ายของบทความก็ไขความไว้ว่า –

…………..

ความยุุติธรรม อันหมายถึง การที่จะทำให้สิ่งต่างๆ ยุุติลงนั้น ต้องอาศัยความเป็นธรรม หรือความชอบธรรม (Rightness) มาเป็นฐานรองรับ หรืออีกนัยหนึ่ง บทสรุปและข้อตกลงที่เป็นธรรมเท่านั้น ที่จะนำไปสู่ความยุุติธรรมได้อย่างยั่งยืน ด้วยเหตุุนี้้ ความยุุติธรรมเท่านั้น ที่จะยุุติอกุศลกรรมที่จะเกิดขึ้นระหว่างคู่กรณีได้ ตราบใดที่กฎหมายไม่สามารถจะหยิบยื่นความยุุติธรรมให้แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใดได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียมและเป็นธรรมนั้น อกุศลกรรมจะยังคงเกิดขึ้น ให้คู่กรณีจองล้างจองผลาญกันอย่างไม่มีจุดจบ ต่อเนื่องไปทุกภพทุกชาติ ฉะนั้น เพื่อปิดช่องทางมิให้อกุศลกรรมได้ช่องทางเจริญเติบโต จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความยุุติธรรมให้เกิดขึ้นในชีวิตและสังคม

…………..

จะเห็นได้ว่า ผู้คิดคำว่า “ยุติกรรม” ต้องการให้คำว่า “ยุติ” มีความหมายว่า จบ หรือทำให้จบ

ยุติกรรม” จึงมีความหมายว่า ทำให้กรรม (เน้นเฉพาะอกุศลกรรม) สิ้นสุดลง คือคู่กรณีไม่ก่อเวรสร้างกรรมที่ชั่วร้ายให้แก่กันและกันอีกต่อไป

คำคู่นี้ ถ้าแตกแขนงความคิดออกไป ก็อาจมีความหมายที่พลิกเพลงได้หลายนัย เช่น –

ถ้า “ยุติกรรม” หมายถึง ทำให้กรรมสิ้นสุดลง “ยุติธรรม” ก็ควรจะต้องหมายถึง ทำให้ธรรมะสิ้นสุดลงด้วย ความหมายจึงจะสมดุลกัน แต่เจตนารมณ์ของคำว่า “ยุติธรรม” มิใช่เช่นนั้นแน่นอน

ถ้า “ยุติธรรม” หมายถึง ธรรมะที่ถูกต้อง ดีงาม ชอบธรรม ที่ทำให้คู่กรณีพึงพอใจหรือยอมรับได้-ตามความหมายของคำว่า “ยุตฺติ” ในภาษาบาลีที่ใช้เป็นคุณศัพท์ —

ยุติกรรม” ก็ควรจะหมายถึง การกระทำที่ถูกต้อง ดีงาม ชอบธรรม (ตามความหมายของคำว่า “ยุตฺติ” ในภาษาบาลีเช่นกัน) ไม่ใช่หมายถึง “ทำให้กรรมสิ้นสุดลง” ซึ่งความหมายเช่นนี้เท่ากับใช้คำว่า “ยุติ” เป็นคำกริยา ไม่ใช่คุณศัพท์ ในขณะที่คำว่า “ยุติธรรม” นั้น “ยุติ” เป็นคุณศัพท์ ไม่ใช่คำกริยา

ตามนัยนี้ คำว่า “ยุติธรรม” กับ “ยุติกรรม” ก็อาจตีความให้เกิดความหมายอีกนัยหนึ่ง นั่นคือ – ถ้ามีธรรมะที่ถูกต้อง ก็จะมีการกระทำที่ถูกต้อง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้ามีธรรมะที่ถูกต้อง คือ “ยุติธรรม

: ก็จะมีการกระทำที่ถูกต้อง คือ “ยุติกรรม

(หยิบฉวยคำมาต่อยอดความคิด จากบทความเรื่อง “ยุติธรรม ยุติกรรม” ของพระคุณท่านพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, รศ.ดร.)

#บาลีวันละคำ (2,971)

31-7-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *