บาลีวันละคำ

อาสัตย์อาธรรม (บาลีวันละคำ 3,038)

อาสัตย์อาธรรม

ถ้ารังเกียจ ก็อย่าทำ

อ่านว่า อา-สัด-อา-ทำ

บางทีใช้เป็น “อาสัตย์อาธรรม์” (การันต์ ที่ –ธรรม เป็น –ธรรม์) อ่านว่า อา-สัด-อา-ทัน

ประกอบด้วยคำว่า อาสัตย์ + อาธรรม

(ก) คำหลักคือ “สัตย์” และ “ธรรม

(๑) “สัตย์

บาลีเป็น “สจฺจ” (สัด-จะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) (แทนศัพท์ว่า “สนฺต” = สัตบุรุษ, คนดี) + ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, แปลง ภู เป็น

: + ภู > = สจ + = สจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่มีในคนดีทั้งหลาย” (สัจจะจึงต้องเป็นไปในทางดี)

(2) สรฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย, ลบ รฺ ที่ (ส)-รฺ (สรฺ > ), ซ้อน จฺ

: สรฺ > + จฺ + = สจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เบียดเบียนทุกข์” (สัจจะจึงต้องใช้เพื่อแก้ทุกข์ คือแก้ปัญหา)

สจฺจ” เป็นคำนาม แปลว่า ความจริง (the truth), การยืนยันแน่นอน (a solemn asseveration) เป็นคุณศัพท์ แปลว่า จริง, แท้ (real, true)

ในทางธรรม “สจฺจ” ยังหมายถึง พระนิพพาน โดยนัยว่า เพราะไม่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นเหตุสิ้นราคะ หรือเพราะนับเนื่องในสัจจะสี่

บาลี “สจฺจ” สันสกฤตเป็น “สตฺย

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

(1) สตฺย : (คุณศัพท์) ‘สัตย์’ จริง, มีสัตย์; วิศุทธ์, สุจจริต, ศุทธมติ, หรือกล่าวความจริง; true; sincere, honest, speaking the truth.

(2) สตฺย : (คำนาม) ‘สัตย์’ ความจริง; ประติชญาหรือคำศบถ; การกล่าวความจริง; ความวิศุทธิหรือความจริงใจ true; an oath; speaking the truth; sincerely, or veracity.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) สัจ, สัจ-, สัจจะ : (คำนาม) ความจริง, ความจริงใจ, เช่น ทำงานร่วมกันต้องมีสัจจะต่อกัน. (ป. สจฺจ; ส. สตฺย).

(2) สัตย-, สัตย์ : (คำนาม) ความจริง เช่น รักษาสัตย์, คำมั่นสัญญา, เช่น เสียชีพอย่าเสียสัตย์ ลูกเสือให้สัตย์ปฏิญาณ.(คำวิเศษณ์) จริง เช่น วาจาสัตย์, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น สัตย์ซื่อ ซื่อสัตย์ สัตย์จริง. (ส.; ป. สจฺจ).

(๒) “ธรรม

บาลีเป็น “ธมฺม” (ทำ-มะ) รากศัพท์มาจาก ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺม (ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (ธรฺ > -) และ ต้นปัจจัย (รมฺม > –มฺม )

: ธรฺ > + รมฺม > มฺม : + มฺม = ธมฺม แปลตามศัพท์ว่า “สภาพที่ทรงไว้

บาลี “ธมฺม” สันสกฤตเป็น “ธรฺม” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น ธรรม

ธมฺมธรรม” มีความหมายหลายหลาก ในภาษาไทยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “ธรรม” ไว้ดังนี้ –

(1) คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม

(2) คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า

(3) หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม

(4) ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม

(5) ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม

(6) กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ

(7) กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ

(8) สิ่งของ เช่น เครื่องไทยธรรม

ในที่นี้ “ธรรม” มีความหมายตามนัยแห่งข้อ (1)

เพื่อเป็นองค์แห่งความรู้ ขอนำความหมายของ “ธรรม” ในสันสกฤตมาเสนอไว้ในที่นี้

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “ธรฺมฺม” และ “ธรฺม” บอกความหมายไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ธรฺมฺม, ธรฺม : (คำนาม) ธรรม, สมาจาร, สาธุและธรรมคุณ; ธรรมเนียมหรือประเพณี, ประโยคหรือกริยาประพันธ์, ขนบธรรมเนียม หรือลัทธิของโคตร์, ชาติ, ฯลฯ; กฤตย์, การย์, น่าที่หรือพรต (อันพระเวทกำหนดลงไว้เป็นอาทิ); ความเหมาะ, คุณสมบัติ; ประกฤติ, ธรรมดา; กีรติ, เกียรติ; ภาวะหรือประพฤติ; ศุจิตา, โทษวิมุกติ์, ความไม่มีโทษ, ความบริศุทธิ์; สมพาท, ความแม้นหรือละม้าย; ยัญหรือการบูชาอย่างใดอย่างหนึ่ง; อุปนิษัทหรืออีศวรภาคแห่งพระเวท; ประโยคหรือกฤตย์ ฉะเพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง; ดุจ, การให้ทานเปน ‘ธรรม’ ของคฤหเมธิน; การให้ความยุกติธรรมเปน ‘ธรรม’ ของนฤบดี; ศรัทธาเปน ‘ธรรม’ ของพราหมณ์; ความอุตสาหะเปน ‘ธรรม’ ของกษัตริย์, ฯลฯ; พจน์อันกอปรด้วยกรุณรส; วินัย, กฎหมาย; นามของพระยม, ผู้ปกครองอโธโลก, และทัณฑนายกของผู้ตาย; สทารจารอันโรปยติเปนบุรุษ, เกิดจากอุรัสเบื้องขวาของพระพรหม; ธนู; นรผู้มีธรรม; พลีวรรทหรือวัวที่นั่งของพระศิวะ; virtue, moral and religious merit; usage, custom, practice or the customary observances of caste, sect, &c.; duty (especially laid down or enjoined by the Vedas; fitness, propriety; nature; character; natural state or disposition; innocence, harmlessness, purity; resemblance; any sacrifice; an Upanishad or theological portion of the Veda; ant peculiar practice or duty; thus, giving arms is the Dharm of householder; administering justice, the Dharm of a king; piety, that of a Brāhmaṇ; courage, that of a Kshatriya, &c.; kind speech or discourse; law; a name of Yama, ruler the lower regions, and judge of the dead; virtue personified, born from the right breast of Brahmā; a bow; a pious man; the bull of Śiva; – (คำวิเศษณ์) ตามพระธรรมและพระเวท; อันสมาคมกับบุณยชนหรือสาธุชน; according to the law and the Vedas; associating with virtuous.”

(ข) คำประกอบคือ “-” หรือ “อา-”

ตามหลักบาลีไวยากรณ์ “-” แปลงมาจาก “” (นะ) ซึ่งเป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

” เมื่อไปประสมกับคำอื่น มีกฎดังนี้ –

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง เป็น (อะ)

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ให้แปลง เป็น อน (อะ-นะ)

ในที่นี้ “สจฺจ” (สัตย์) และ “ธมฺม” (ธรรม) ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ จึงต้องแปลง เป็น

+ สจฺจ = นสจฺจ > อสจฺจ > อสตฺย > อาสตฺย > อาสัตย์

+ ธมฺม = นธมฺม > อธมฺม > อธรฺม > อาธรฺม > อาธรรม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) อาสัตย์ : (คำวิเศษณ์) ไม่ซื่อสัตย์, ไม่ซื่อตรง, กลับกลอก, เช่น คนอาสัตย์, อสัตย์ ก็ว่า. (ส. อสตฺย).

(2) อาธรรม, อาธรรม์, อาธรรมิก, อาธรรมึก : (คำวิเศษณ์) ชั่ว, ไม่เป็นธรรม, ไม่เที่ยงธรรม, ไม่ยุติธรรม. (ส. อาธรฺมิก; ป. อธมฺมิก).

อภิปราย :

อันที่จริง “อา” ในบาลีสันสกฤตเป็นนิบาต ใช้ในความหมาย “กลับความ” ก็ได้ เช่น –

คม = ไป

อาคม (กลับความ) = มา

ดังนั้น :

สตฺย = ซื่อสัตย์

อาสตฺย (กลับความ) = คดโกง คือไม่ซื่อสัตย์

ธรรม = ดี คือมีธรรม

อาธรรม (กลับความ) = ชั่ว คือไม่มีธรรม

แต่นี่ก็เป็นเพียงแนวคิดเท่านั้น พจนานุกรมฯ ท่านว่าอย่างไรก็พึงฟังท่านไว้

…………..

คำว่า “อาสัตย์อาธรรม” เป็นคำเรียกเชิงตำหนิคนที่ไม่ซื่อตรงซึ่งใช้ความไม่ซื่อตรงทำให้คนอื่นเดือดร้อน

คนประพฤติชั่วนั้นถ้าชั่วแต่เพียงตัว หรือชั่วไปตามลำพัง ไม่ทำให้ใครเดือดร้อนก็ยังพอว่า แต่ส่วนมากย่อมใช้ความชั่วสร้างความเสียหายให้แก่คนอื่นและสังคมส่วนรวม

การที่เรารู้ว่าใครเป็นคน “อาสัตย์อาธรรม” ก็เพราะความอาสัตย์อาธรรมที่เขาแสดงออกมานั่นเอง

สิ่งที่ประหลาดอย่างยิ่งก็คือ แม้แต่คน “อาสัตย์อาธรรม” นั่นเองก็ไม่ชอบความอาสัตย์อาธรรม

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อย่ารังเกียจคนอาสัตย์อาธรรม

: แต่จงรังเกียจความอาสัตย์อาธรรม

#บาลีวันละคำ (3,038)

6-10-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย