บาลีวันละคำ

อเนก (บาลีวันละคำ 52)

อเนก

อ่านว่า อะ-เน-กะ

ประสมขึ้นจากคำว่า + เอก (นะ บวก เอกะ)

(นะ) แปลว่า “ไม่ใช่

เอก (เอ-กะ) แปลว่า “หนึ่ง” (จำนวน 1)

ตามกฎไวยากรณ์บาลี ถ้าพยางค์แรกของคำที่ “” ไปประสมด้วย ขึ้นต้นด้วย “” คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ท่านให้แปลง “” เป็น “อน” (อะ-นะ)

+ เอก จึงเท่ากับ อน + เอก

อ่าง ที่ “เอก” ตามหลักบาลีถือว่าไม่มีรูป คือ =

จึงเท่ากับ อน + = อเนก

อเนก แปลตามศัพท์ว่า “ไม่ใช่หนึ่ง” หมายถึง “มีจำนวนมากหลาย” เอามาใช้ในภาษาไทยออกเสียงว่า อะ-เหฺนก

อเนก มักเขียนผิดเป็น “เอนก” เช่น “ศาลาเอนกประสงค์” ซึ่งผิดหลักภาษา เพราะ “อน” แยกเป็น 2 พยางค์ คือ อะนะ

สระ เอ ที่ (เอก) จึงควบได้แค่พยางค์หลัง คือ “(อ) ” = + = เนก

สระ เอ ไม่ควบมาถึง “” หน้า “” จึงต้องเขียน “อเนก” เช่น “ศาลาอเนกประสงค์” 

แต่ “เอนก” ที่เป็นชื่อคน เป็นชื่อเฉพาะ ไม่มีผิดมีถูก เพราะชื่อเฉพาะจะเขียนอย่างไรแล้วแต่เจ้าของชื่อ แต่ถ้ารู้หลักภาษาบาลี ก็ควรตั้งชื่อนี้ให้ถูก

: อเนก ไม่ใช่ เอนก

บาลีวันละคำ (52)

25-6-55

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย