บาลีวันละคำ

จลาจล – จราจร (บาลีวันละคำ 3,054)

จลาจลจราจร

เหมือน-ไม่เหมือน

จลาจล” อ่านว่า จะ-ลา-จน

จราจร” อ่านว่า จะ-รา-จอน

(๑) “จลาจล” แยกคำเป็น จล + อจล

(ก) “จล

บาลีอ่านว่า จะ-ละ รากศัพท์มาจาก จลฺ (ธาตุ = เคลื่อนไหว) + (อะ) ปัจจัย

: จล + = จล แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่หวั่นไหว” ใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง หวั่นไหว, สั่น, คลอนแคลน; ไม่มั่นคง, โลเล, ไม่ยืนยง (moving, quivering; unsteady, fickle, transient)

(ข) “อจล

บาลีอ่านว่า อะ-จะ-ละ รากศัพท์มาจาก (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + จลฺ (ธาตุ = เคลื่อนไหว) + (อะ) ปัจจัย, แปลง เป็น

(1) : จล + = จล

(2) : + จล = นจล > อจล แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไม่หวั่นไหว” ใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง ไม่หวั่นไหว, ไม่คลอนแคลน (steadfast, immovable) ใช้เป็นคำนาม หมายถึง ภูเขา, แผ่นดิน, สลักหรือลิ่ม, นิพพาน

จล + อจล = จลาจล ถ้าแปลตามความหมายเดิมก็คือ “หวั่นไหวและไม่หวั่นไหว

แต่ “จลาจล” มิได้มีความหมายเช่นนั้น หากแต่หมายถึง “หวั่นไหวมากและหวั่นไหวน้อย” คือมีแต่หวั่นไหว ไม่มีที่ไม่หวั่นไหว

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “จลาจล” ว่า moving to & fro, in constant motion, unsteady (เคลื่อนไหวไปๆ มาๆ, หวั่นไหวเป็นนิจ, ไม่คงที่)

จลาจล” ในคัมภีร์บาลีมีความหมาย ดังนี้ –

(1) จิตใจที่โลเล กลับกลอก จะตกลงว่าอย่างไรก็ไม่ตัดสินใจให้เด็ดขาดลงไป

(2) ไม่ราบรื่น ไม่ราบเรียบ อุปมาเหมือนผืนผ้าที่ถูกลมพัด ใช้กับจิตที่ไม่สงบ

(3) ไม่ยั่งยืน ไม่ยืนยง มีอันจะต้องแตกสลายสิ้นสุดลง เช่นชีวิตของคนเรา

จลาจล” เมื่อใช้ในภาษาไทยมีความหมายต่างออกไป พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

จลาจล : (คำนาม) ความปั่นป่วนวุ่นวายไม่มีระเบียบ. (ป., ส. จล + อจล).”

(๒) “จราจร

ถ้าใช้หลักเดียวกับ “จลาจล” ก็แยกคำเป็น จร + อจร รากศัพท์ก็ใช้หลักเดียวกัน

(1) : จรฺ (ธาตุ = ประพฤติ, เที่ยวไป) + (อะ) ปัจจัย = จร แปลตามศัพท์ว่า “การเที่ยวไป” (“เที่ยว” หมายถึง เดินทาง)

(2) : + จร = นจร > อจร แปลตามศัพท์ว่า “การไม่เที่ยวไป

เมื่อประสมคำ : จร + อจร = จราจร (จะ-รา-จะ-ระ) แทนที่จะแปลว่า “การเที่ยวไปและไม่เที่ยวไป” ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะการประสมคำลักณะเช่นนี้เป็นการย้ำคำหรือซ้ำคำให้ความหมายของคำหน้าเข้มข้นยิ่งขึ้น

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ เรียกวิธีการเช่นนี้ว่า intens. redupl. (ซ้ำคำให้มีความหมายหนักแน่นขึ้น) ทำนองเดียวกับ ผล + อผล = ผลาผล แปลว่า “ผลไม้และสิ่งที่ไม่ใช่ผลไม้” แต่หมายถึง ผลไม้ทุกอย่างเท่าที่จะพึงมี

จร + อจร = จราจร จึงมีความหมายว่า การเที่ยวไปหรือการไปมาทุกรูปแบบทุกลักษณะที่จะพึงทำกันได้

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

จราจร : (คำนาม) การที่ยวดยานพาหนะ คน หรือ สัตว์พาหนะเคลื่อนไปมาตามทาง, เรียกผู้มีหน้าที่เกี่ยวด้วยการนั้น.”

คำนิยามเดิมของคำว่า “จราจร” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้มากกว่านี้ คือบอกความหมายที่ใช้ในกฎหมายไว้ด้วยดังนี้ –

จราจร : (คำนาม) การที่ยวดยานพาหนะ คน หรือ สัตว์พาหนะเคลื่อนไปมาตามทาง, เรียกผู้มีหน้าที่เกี่ยวด้วยการนั้น; (คำที่ใช้ในกฎหมาย) การใช้ทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์.”

คำนิยามที่ว่า “เคลื่อนไปมา” ดูจะบอกเป็นนัยว่าคำนี้ควรจะแยกศัพท์เป็น จร = ไป + อาจร = มา (อา– กลับความ จาก “ไป” กลายเป็น “มา”)

: จร + อาจร = จราจร แปลว่า “การไปมา

นี่ก็อาจเป็นไปได้อีกนัยหนึ่ง แต่รูปศัพท์ “จราจร” ยังไม่พบว่ามีใช้ในคัมภีร์ (“จลาจล” มีใช้ในคัมภีร์) ท่านผู้ใดพบกรุณาแจ้งให้ทราบด้วยจะเป็นพระคุณยิ่ง

โปรดสังเกตว่า “จลาจล” –จล อ่านว่า จน แต่ “จราจร” –จร อ่านว่า จอน นี่เป็นหลักนิยมอย่างหนึ่งในภาษาไทย คือคำที่มาจากบาลีสันสกฤตโดยทั่วไป สะกดอ่านเป็น -อน สะกด อ่านเป็น -ออน

และโปรดระวัง “จลาจล” ไม่ใช่ “จราจล” และ “จราจร” ก็ไม่ใช่ “จลาจร” ไม่พึงเขียนเพียงเพื่อสื่อสารกันเข้าใจอย่างเดียว แต่ควรสื่อสารกันด้วยการสะกดคำที่ถูกต้องและงดงามตามหลักภาษาด้วย

…………..

ดูก่อนภราดา!

: จลาจลแค่ไหนขอให้อยู่ในถนน

: อย่าปล่อยให้จลาจลเข้ามาในหัวใจ

#บาลีวันละคำ (3,054)

22-10-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย