บาลีวันละคำ

วัตรปฏิบัติ (บาลีวันละคำ 3,056)

วัตรปฏิบัติ

ข้อปฏิบัติแบบชาววัด

อ่านว่า วัด-ตฺระ-ปะ-ติ-บัด

ประกอบด้วยคำว่า วัตร + ปฏิบัติ

(๑) “วัตร

(1) บาลีเป็น “วตฺต” (วัด-ตะ) รากศัพท์มาจาก วตฺตฺ (ธาตุ = ถือเอา, ประพฤติ) + (อะ) ปัจจัย

: วตฺต + = วตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ข้อที่ควรถือประพฤติ

(2) บาลีเป็น “วต” (วะ-ตะ) รากศัพท์มาจาก –

(ก) วตฺ (ธาตุ = เป็นไป) + (อะ) ปัจจัย

: วตฺ + = วต แปลตามศัพท์ว่า “การที่เป็นไปตามปกติ

(ข) วชฺ (ธาตุ = ปรุงแต่ง, กระทำ) + (อะ) ปัจจัย, แปลง เป็น

: วชฺ > วต + = วต แปลตามศัพท์ว่า “การอันเขาปรุงแต่ง

วตฺต” หรือ “วต” ใช้ในภาษาไทยเป็น “วัตร” หมายถึงกิจที่ควรถือประพฤติ, กิจพึงกระทำ, ข้อปฏิบัติ, ความประพฤติ, ธรรมเนียม, ประเพณี, สิ่งที่ทำ, หน้าที่, การบริการ, ประเพณี, งาน (observance, vow, virtue, that which is done, which goes on or is customary, duty, service, custom, function)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วัตร, วัตร– : (คำนาม) กิจพึงกระทํา เช่น ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น, หน้าที่ เช่น ข้อวัตรปฏิบัติ, ธรรมเนียม เช่น ศีลาจารวัตร; ความประพฤติ เช่น พระราชจริยวัตร, การปฏิบัติ เช่น ธุดงควัตร อุปัชฌายวัตร, การจำศีล. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).”

(๒) “ปฏิบัติ

เขียนแบบบาลีเป็น “ปฏิปตฺติ” (ปะ-ติ-ปัด-ติ) รากศัพท์มาจาก ปฏิ (คำอุปสรรค = เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ) + ปทฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, บรรลุ) + ติ ปัจจัย, แปลงที่สุดธาตุเป็น ตฺ (ปทฺ > ปตฺ)

: ปฏิ + ปทฺ = ปฏิปทฺ + ติ = ปฏิปทฺติ > ปฏิปตฺติ (อิตถีลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ความถึงเฉพาะ” “ที่ไปเฉพาะ” หมายถึง ทาง, วิธี, การปฏิบัติ, วิธีปฏิบัติ, การกระทำ, พฤติการณ์หรือความประพฤติ, ตัวอย่าง (way, method, conduct, practice, performance, behaviour, example)

ปฏิปตฺติ” ในภาษาไทยใช้ว่า “ปฏิบัติ” (ตัด ออกตัวหนึ่ง และแผลง ปลา เป็น ใบไม้) อ่านว่า ปะ-ติ-บัด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

ปฏิบัติ : (คำกริยา) ดําเนินการไปตามระเบียบแบบแผน เช่น ปฏิบัติราชการ, กระทําเพื่อให้เกิดความชํานาญ เช่น ภาคปฏิบัติ; กระทําตาม เช่น ปฏิบัติตามสัญญา; ประพฤติ เช่น ปฏิบัติสมณธรรม ปฏิบัติต่อกัน; ปรนนิบัติรับใช้ เช่น ปฏิบัติบิดามารดา ปฏิบัติครูบาอาจารย์. (ป. ปฏิปตฺติ).”

วตฺต + ปฏิปตฺติ = วตฺตปฏิปตฺติ (วัด-ตะ-ปะ-ติ-ปัด-ติ) แปลว่า “การปฏิบัติวัตร” คือการทำวัตรหรือทำกิจอันควรทำตามหน้าที่

วตฺตปฏิปตฺติ” ใช้ในภาษาไทยเป็น “วัตรปฏิบัติ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

วัตรปฏิบัติ : (คำนาม) การปฏิบัติตามหน้าที่หรือตามศีล.”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกความหมายของคำว่า “วัตรปฏิบัติ” ไว้ว่า –

วัตรปฏิบัติ : การปฏิบัติตามหน้าที่, การทำตามข้อปฏิบัติที่พึงกระทำเป็นประจำ, ความประพฤติที่เป็นไปตามขนบธรรมเนียมแห่งเพศ ภาวะ หรือวิถีดำเนินชีวิตของตน.”

ขยายความ :

ในสังคมสงฆ์ท่านจำแนก “วัตร” เป็นดังนี้ –

1 “กิจวัตร” ว่าด้วยกิจที่ควรทำ เช่น อุปัชฌายวัตร (กิจที่ควรปฏิบัติต่ออุปัชฌาย์อาจารย์) สัทธิวิหาริกวัตร (กิจที่ควรปฏิบัติต่อศิษย์) อาคันตุกวัตร (กิจที่พึงปฏิบัติต่อแขก)

2 “จริยาวัตร” ว่าด้วยมารยาทอันควรประพฤติ เช่น ไม่ทิ้งขยะทางหน้าต่างหรือทิ้งลงนอกฝานอกกำแพง, ไม่ขากถ่มในที่อันไม่สมควร

3 “วิธีวัตร” ว่าด้วยแบบอย่างที่พึงกระทำ เช่น วิธีเก็บบริขาร วิธีเปิดปิดหน้าต่างตามฤดู วิธีเดินเป็นหมู่ (เช่นเดินบิณฑบาต)

ภิกษุเมื่ออยู่รวมกัน ต้องมีพระเถระเป็นหัวหน้าหมู่คณะ และมีธรรมเนียมที่ภิกษุในที่นั้นจะต้องไปทำวัตรแก่พระเถระในเวลาเช้าหรือเวลาเย็น คือไปทำความสะอาด ปัดกวาดเช็ดถูที่อยู่ของท่าน ตั้งน้ำใช้น้ำฉัน ดูแลความเรียบร้อยทั่วไป เป็นโอกาสที่จะได้สนทนาธรรมหรือสอบถามปัญหาธรรมแก่กันและกัน หรือยกธรรมะบทใดบทหนึ่งขึ้นมาสวดสาธยายสู่กันฟัง เป็นการซักซ้อมความรู้ไปในตัว เป็นที่มาของการ “ทำวัตรสวดมนต์” อันมีความหมายว่า ทำวัตรแก่พระเถระเสร็จแล้วก็สวดมนต์คือทบทวนความรู้กัน

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อุปัชฌาย์เป็นผู้นำทำให้คนเป็นพระ

: ถ้าขาดวัตรปฏิบัติแบบสมณะไฉนพระจะประเสริฐกว่าคน

#บาลีวันละคำ (3,056)

24-10-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย