บาลีวันละคำ

สีวิกา (บาลีวันละคำ 3,057)

สีวิกา

แปลว่า เสลี่ยง

อ่านว่า สี-วิ-กา

สีวิกา” บาลีเป็น “สิวิกา” (สิ- สระ อิ) อ่านว่าสิ-วิ-กา รากศัพท์มาจาก –

(1) สิ (ธาตุ = เสพ, คบหา) + ณฺวุ ปัจจัย, แปลง ณฺวุ เป็น อก (อะ-กะ), แปลง อะ ที่ -(ก) เป็น อิ (อก > อิก), ลง อาคมระหว่างธาตุกับปัจจัย (สิ + + ณฺวุ) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: สิ + + ณฺวุ > อก = สิวก > สิวิก + อา = สิวิกา แปลตามศัพท์ว่า “ยานอันผู้ต้องการความสะดวกใช้สอย

(2) สิว (ความเกษม) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + (อะ) ปัจจัย, ลง อาคมระหว่างบทหน้ากับธาตุ (สิว + อิ + กรฺ), ลบ รฺ ที่สุดธาตุ + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: สิว + อิ + กรฺ = สิวิกรฺ + = สิวิกร > สิวิก + อา = สิวิกา แปลตามศัพท์ว่า “ยานที่ทำความเกษมให้

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สิวิกา” ว่า a palanquin, litter

พจนานุกรมบาลี – ไทย – อังกฤษ ฉบับภูมิพโลภิกขุ ซึ่งใช้พจนานุกรมบาลี-อังกฤษเป็นต้นฉบับ แปล “สิวิกา” ว่า วอ, คานหาม, เกี้ยวหรือแคร่

ไม่มีคำแปลว่า “เสลี่ยง”

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีศัพท์ว่า “ศิวิกา” บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ศิวิกา : (คำนาม) นรยาน, จตุรัสรยาน, วอ, แคร่, เสลี่ยง, คานหาม; a litter, palanquin.”

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล palanquin (คำแปลเป็นอังกฤษของพจนานุกรมบาลี-อังกฤษ) ว่า เกี้ยว, แคร่, คันหาม, เสลี่ยง

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “สิวิกา” (สิ– ตามรูปบาลี) และ “สีวิกา” (สี– ตามที่ใช้ในภาษาไทย) บอกไว้ว่า –

สิวิกา, สีวิกา : (คำนาม) วอ, เสลี่ยง, คานหาม. (ป.).”

เป็นอันว่า “สิวิกา” แปลว่า “เสลี่ยง” ได้

ดูที่คำว่า “เสลี่ยง” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ 3 คำ คือ “เสลี่ยง” “เสลี่ยงกง” “เสลี่ยงกลีบบัว” บอกไว้ดังนี้ –

(1) เสลี่ยง : (คำนาม) ที่นั่งมีคานหามคู่หนึ่งสอดรับ เป็นเครื่องแสดงอิสริยยศ, ถ้าหามไป เรียกว่า เสลี่ยงหาม, ถ้าหิ้วไป เรียกว่า เสลี่ยงหิ้ว.

(2) เสลี่ยงกง : (คำนาม) เสลี่ยงที่มีพนักโค้งเหมือนกงเรือ.

(3) เสลี่ยงกลีบบัว : (คำนาม) เสลี่ยงชนิดที่เชิงแคร่ที่นั่งแกะไม้เป็นลายกลีบบัวโดยรอบ.

แถม :

คำบาลีในชุด “สิวิกา” มีหลายคำที่น่าจำไว้เป็นความรู้ คือ

วยฺหํ = พาหนะ, คานหาม, เตียง, แคร่ (a vehicle, portable bed, litter)

รโถ = รถ (a two-wheeled carriage, chariot)

สกฏํ = เกวียน (a cart, wagon)

สนฺทมานิกา = รถสองล้อ (a chariot)

ปาฏงฺกี = เก้าอี้คานหาม (sedan chair)

คำพวกนี้เรียกเป็นคำรวม “ยาน” ที่เราแปลเป็นคำกลางๆ ว่า ยานพาหนะ (carriage, vehicle)

…………..

ดูก่อนภราดา!

: บางคนมีคนหามตั้งแต่ยังไม่ตาย

: แต่แทบทุกคนมีคนหามเมื่อตาย

#บาลีวันละคำ (3,057)

25-10-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย