บาลีวันละคำ

ปญฺญา (บาลีวันละคำ 54)

ปญฺญา

อ่านว่า ปัน-ยา

มีรากศัพท์มาจาก ป + ญา ซ้อน ญฺ = ปญฺญา

“ป” (ปะ) มีความหมายว่า ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก

“ญา” แปลว่า “รู้”

ภาษาไทยเขียนว่า “ปัญญา” อ่านเหมือนบาลี

 “ปัญญา” จึงมีความหมายว่า

– “รู้ทั่วถ้วนทั่วถึง”

– “รู้ล่วงหน้า” (รู้ว่าเหตุอย่างนี้จะเกิดผลอย่างไร, ต้องการผลอย่างนี้จะต้องทำเหตุอย่างไร)

– “รู้ก่อนที่จะทำ จะพูด จะคิด”

 – “รู้แล้วนำชีวิตหลุดออกจากปัญหา พ้นจากทุกข์ได้”

ทางเกิดปัญญาท่านว่ามีดังนี้ –

1. จินตามยปัญญา (จิน-ตา-มะ-ยะ–) ปัญญาเกิดแต่การคิดการพิจารณาหาเหตุผล – wisdom resulting form reflection; knowledge that is thought out.

2. สุตมยปัญญา (สุ-ตะ-มะ-ยะ–) ปัญญาเกิดแต่การสดับการเล่าเรียน – wisdom resulting from study; knowledge that is learned from others.

3. ภาวนามยปัญญา (พา-วะ-นา-มะ-ยะ–) ปัญญาเกิดแต่การฝึกอบรมลงมือปฏิบัติ – wisdom resulting from mental development; knowledge that is gained by development or practice.

ขอให้เพื่อนชาว facebook มี “ปัญญาดี” โดยทั่วกัน

บาลีวันละคำ (54)

27-6-55

ข้อมูล

ปญฺญายเต เอตายาติ ปญฺญา ธรรมชาติเป็นเครื่องรู้

ป บทหน้า ญา ธาตุ ในความหมายว่ารู้ กฺวิ ปัจจัย ซ้อน ญฺ

ปการโต ชานนา ปญฺญา การรู้โดยทั่วถึง

ป + ญา ซ้อน ญฺ

  น. ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว, ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด, เช่น คนมีปัญญา หมดปัญญา. (ป.).

ความรู้ทั่ว, ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล, ความรู้เข้าใจชัดเจน, ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น และรู้ที่จะจัดแจง จัดสรร จัดการ ดำเนินการ ทำให้ลุผล ล่วงพ้นปัญหา, ความรอบรู้ในกองสังขารมองเห็นตามเป็นจริง (ข้อ ๓ ในไตรสิกขา, ข้อ ๔ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๕ ในพละ ๕, ข้อ ๗ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๕ ในเวสารัชชกรณธรรม ๕, ข้อ ๑ ในอธิษฐานธรรม ๔, ข้อ ๗ ในอริยทรัพย์ ๗);

        ปัญญา ๓ คือ

๑. จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิดพิจารณา (ปัญญาจากโยนิโสมนสิการที่ตั้งขึ้นในตนเอง)

๒. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการสดับเล่าเรียน (ปัญญาจากปรโตโฆสะ)

๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติบำเพ็ญ (ญาณอันเกิดขึ้นแก่ผู้อาศัยจินตามยปัญญา หรือทั้งสุตมยปัญญาและจินตามยปัญญานั่นแหละ ขะมักเขม้นมนสิการในสภาวธรรมทั้งหลาย),

        ตามที่พูดกัน มักเรียงสุตมยปัญญาเป็นข้อแรก แต่ในที่นี้ เรียงลำดับตามพระบาลีในพระไตรปิฎก ทั้งในพระสูตร (ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๓๑) และพระอภิธรรม (อภิ.วิ.๓๕/๗๙๗/๔๒๒) เรียงจินตามยปัญญาเป็นข้อแรก (แต่ในเนตติปกรณ์ เรียงและเรียกต่างไปเล็กน้อยเป็น ๑. สุตมยีปัญญา ๒. จินตามยีปัญญา ๓. ภาวนามยีปัญญา); การที่ท่านเรียง   จินตามยปัญญาก่อน หรือสุตมยปัญญาก่อนนั้น พอจับเหตุได้ว่า ท่านมองที่บุคคลเป็นหลัก คือ ท่านเริ่มต้นมองที่บุคคลพิเศษประเภทมหาบุรุษก่อน ว่าพระพุทธเจ้า (และพระปัจเจกพุทธเจ้า) ผู้ค้นพบและเปิดเผยความจริงขึ้นนั้น มิได้อาศัยปรโตโฆสะคือการฟังจากผู้อื่น แต่รู้จักโยนิโสมนสิการด้วยตนเอง ก็สามารถเรียงต่อไล่ตามประสบการณ์ทั้งหลายอย่างถึงทันทั่วรอบทะลุตลอดหยั่งเห็นความจริงได้ ท่านจึงเริ่มด้วยจินตามยปัญญา แล้วต่อเข้าภาวนามยปัญญาไปเลย แต่เมื่อมองที่บุคคลทั่วไป ท่านจะเริ่มด้วยสุตมยปัญญาเป็นข้อแรก โดยมีคำอธิบายตามลำดับว่า บุคคลเล่าเรียนสดับฟังธรรมแล้วเกิดศรัทธา นำไปใคร่ครวญตรวจสอบชั่งตรองพิจารณา เกิดเป็นสุตมยีปัญญา อาศัยสิ่งที่ได้เรียนสดับนั้นเป็นฐาน เขาตรวจสอบชั่งตรองเพ่งพินิจขบคิดลึกชัดลงไป เกิดเป็นจินตามยีปัญญา เมื่อเขาใช้ปัญญาทั้งสองนั้นขะมักเขม้นมนสิการในสภาวธรรมทั้งหลาย แล้วเกิดญาณเป็นมรรคที่จะให้เกิดผลขึ้น ก็เป็นภาวนามยีปัญญา, น่าสังเกตว่า ในคัมภีร์วิภังค์แห่งอภิธรรมปิฎก ท่านอธิบายภาวนามยปัญญาว่า ได้แก่ “สมาปนฺนสฺส ปญฺญา” (ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติ) แต่มีคำอธิบายของคัมภีร์ต่างๆ เช่น ปรมัตถมัญชุสา ว่า คำอธิบายดังกล่าวเป็นเพียงการแสดงตัวอย่าง โดยสาระก็มุ่งเอาการเห็นแจ้งความจริงที่เป็นมัคคปัญญานั่นเอง;

ปัญญา ๓ อีกหมวดหนึ่งที่น่ารู้ ได้แก่ปัญญาที่มีชื่อว่า โกศล คือความฉลาด ๓ อย่าง; ดู โกศล, อธิปัญญาสิกขา

ปัญญา 3 ความรอบรู้, รู้ทั่ว, เข้าใจ, รู้ซึ้ง — knowledge, intelligence, understanding, wisdom

       1. จินตามยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การคิดการพิจารณาหาเหตุผล — wisdom resulting form reflection; knowledge that is thought out)

       2. สุตมยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การสดับการเล่าเรียน — wisdom resulting from study; knowledge that is learned from others)

       3. ภาวนามยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การฝึกอบรมลงมือปฏิบัติ — wisdom resulting from mental development; knowledge that is gained by development or practice)

อ่านว่า ปัน-ยา

มีรากศัพท์มาจาก ป + ญา ซ้อน ญฺ = ปญฺญา

“ป” (ปะ) มีความหมายว่า ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก

“ญา” แปลว่า “รู้”

ภาษาไทยเขียนว่า “ปัญญา” อ่านเหมือนบาลี

 “ปัญญา” จึงมีความหมายว่า

– “รู้ทั่วถ้วนทั่วถึง”

– “รู้ล่วงหน้า” (รู้ว่าเหตุอย่างนี้จะเกิดผลอย่างไร, ต้องการผลอย่างนี้จะต้องทำเหตุอย่างไร)

– “รู้ก่อนที่จะทำ จะพูด จะคิด”

 – “รู้แล้วนำชีวิตหลุดออกจากปัญหา พ้นจากทุกข์ได้”

ทางเกิดปัญญาท่านว่ามีดังนี้ –

1. จินตามยปัญญา (จิน-ตา-มะ-ยะ–) ปัญญาเกิดแต่การคิดการพิจารณาหาเหตุผล – wisdom resulting form reflection; knowledge that is thought out.

2. สุตมยปัญญา (สุ-ตะ-มะ-ยะ–) ปัญญาเกิดแต่การสดับการเล่าเรียน – wisdom resulting from study; knowledge that is learned from others.

3. ภาวนามยปัญญา (พา-วะ-นา-มะ-ยะ–) ปัญญาเกิดแต่การฝึกอบรมลงมือปฏิบัติ – wisdom resulting from mental development; knowledge that is gained by development or practice.

ขอให้เพื่อนชาว facebook มี “ปัญญาดี” โดยทั่วกัน

บาลีวันละคำ (54)

27-6-55

ข้อมูล

ปญฺญายเต เอตายาติ ปญฺญา ธรรมชาติเป็นเครื่องรู้

ป บทหน้า ญา ธาตุ ในความหมายว่ารู้ กฺวิ ปัจจัย ซ้อน ญฺ

ปการโต ชานนา ปญฺญา การรู้โดยทั่วถึง

ป + ญา ซ้อน ญฺ

  น. ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว, ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด, เช่น คนมีปัญญา หมดปัญญา. (ป.).

ความรู้ทั่ว, ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล, ความรู้เข้าใจชัดเจน, ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น และรู้ที่จะจัดแจง จัดสรร จัดการ ดำเนินการ ทำให้ลุผล ล่วงพ้นปัญหา, ความรอบรู้ในกองสังขารมองเห็นตามเป็นจริง (ข้อ ๓ ในไตรสิกขา, ข้อ ๔ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๕ ในพละ ๕, ข้อ ๗ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๕ ในเวสารัชชกรณธรรม ๕, ข้อ ๑ ในอธิษฐานธรรม ๔, ข้อ ๗ ในอริยทรัพย์ ๗);

        ปัญญา ๓ คือ

๑. จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิดพิจารณา (ปัญญาจากโยนิโสมนสิการที่ตั้งขึ้นในตนเอง)

๒. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการสดับเล่าเรียน (ปัญญาจากปรโตโฆสะ)

๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติบำเพ็ญ (ญาณอันเกิดขึ้นแก่ผู้อาศัยจินตามยปัญญา หรือทั้งสุตมยปัญญาและจินตามยปัญญานั่นแหละ ขะมักเขม้นมนสิการในสภาวธรรมทั้งหลาย),

        ตามที่พูดกัน มักเรียงสุตมยปัญญาเป็นข้อแรก แต่ในที่นี้ เรียงลำดับตามพระบาลีในพระไตรปิฎก ทั้งในพระสูตร (ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๓๑) และพระอภิธรรม (อภิ.วิ.๓๕/๗๙๗/๔๒๒) เรียงจินตามยปัญญาเป็นข้อแรก (แต่ในเนตติปกรณ์ เรียงและเรียกต่างไปเล็กน้อยเป็น ๑. สุตมยีปัญญา ๒. จินตามยีปัญญา ๓. ภาวนามยีปัญญา); การที่ท่านเรียง   จินตามยปัญญาก่อน หรือสุตมยปัญญาก่อนนั้น พอจับเหตุได้ว่า ท่านมองที่บุคคลเป็นหลัก คือ ท่านเริ่มต้นมองที่บุคคลพิเศษประเภทมหาบุรุษก่อน ว่าพระพุทธเจ้า (และพระปัจเจกพุทธเจ้า) ผู้ค้นพบและเปิดเผยความจริงขึ้นนั้น มิได้อาศัยปรโตโฆสะคือการฟังจากผู้อื่น แต่รู้จักโยนิโสมนสิการด้วยตนเอง ก็สามารถเรียงต่อไล่ตามประสบการณ์ทั้งหลายอย่างถึงทันทั่วรอบทะลุตลอดหยั่งเห็นความจริงได้ ท่านจึงเริ่มด้วยจินตามยปัญญา แล้วต่อเข้าภาวนามยปัญญาไปเลย แต่เมื่อมองที่บุคคลทั่วไป ท่านจะเริ่มด้วยสุตมยปัญญาเป็นข้อแรก โดยมีคำอธิบายตามลำดับว่า บุคคลเล่าเรียนสดับฟังธรรมแล้วเกิดศรัทธา นำไปใคร่ครวญตรวจสอบชั่งตรองพิจารณา เกิดเป็นสุตมยีปัญญา อาศัยสิ่งที่ได้เรียนสดับนั้นเป็นฐาน เขาตรวจสอบชั่งตรองเพ่งพินิจขบคิดลึกชัดลงไป เกิดเป็นจินตามยีปัญญา เมื่อเขาใช้ปัญญาทั้งสองนั้นขะมักเขม้นมนสิการในสภาวธรรมทั้งหลาย แล้วเกิดญาณเป็นมรรคที่จะให้เกิดผลขึ้น ก็เป็นภาวนามยีปัญญา, น่าสังเกตว่า ในคัมภีร์วิภังค์แห่งอภิธรรมปิฎก ท่านอธิบายภาวนามยปัญญาว่า ได้แก่ “สมาปนฺนสฺส ปญฺญา” (ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติ) แต่มีคำอธิบายของคัมภีร์ต่างๆ เช่น ปรมัตถมัญชุสา ว่า คำอธิบายดังกล่าวเป็นเพียงการแสดงตัวอย่าง โดยสาระก็มุ่งเอาการเห็นแจ้งความจริงที่เป็นมัคคปัญญานั่นเอง;

ปัญญา ๓ อีกหมวดหนึ่งที่น่ารู้ ได้แก่ปัญญาที่มีชื่อว่า โกศล คือความฉลาด ๓ อย่าง; ดู โกศล, อธิปัญญาสิกขา

ปัญญา 3 ความรอบรู้, รู้ทั่ว, เข้าใจ, รู้ซึ้ง — knowledge, intelligence, understanding, wisdom

       1. จินตามยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การคิดการพิจารณาหาเหตุผล — wisdom resulting form reflection; knowledge that is thought out)

       2. สุตมยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การสดับการเล่าเรียน — wisdom resulting from study; knowledge that is learned from others)

       3. ภาวนามยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การฝึกอบรมลงมือปฏิบัติ — wisdom resulting from mental development; knowledge that is gained by development or practice)

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย