บาลีวันละคำ

โฆรวิส (บาลีวันละคำ 3,079)

โฆรวิส

งูเห่า

อ่านว่า โค-ระ-วิด

คำว่า “โฆรวิส” เป็นคำที่ค่อนข้างลึกลับ-หมายถึงไม่เป็นที่รู้จักในหมู่คนทั่วไป แต่จะว่าน่ายินดีหรือน่าอัศจรรย์ก็ว่าได้ ที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำนี้ไว้ (ในขณะที่คำที่เราได้ยินได้ฟังและรู้จักกันเป็นอย่างดีอีกหลายคำและน่าจะเก็บไว้ พจนานุกรมฯ กลับไม่เก็บ!)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โฆรวิส : (คำนาม) งูพิษ. (คำวิเศษณ์) มีพิษร้าย. (ป.).”

ป. ในวงเล็บ หมายความว่าคำนี้เป็นภาษาบาลี

โฆรวิส” บาลีอ่านว่า โค-ระ-วิ-สะ แยกศัพท์เป็น โฆร + วิส

(๑) “โฆร

อ่านว่า โค-ระ รากศัพท์มาจาก ฆุรฺ (ธาตุ = น่ากลัว) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อุ ที่ ฆุ-(รฺ) เป็น โอ (ฆุรฺ > โฆร)

: ฆุรฺ + = ฆุรณ > ฆุร > โฆร (คุณศัพท์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่น่ากลัว” หมายถึง ร้าย, น่ากลัว, น่าตกใจ (terrible, frightful, awful)

บาลี “โฆร” สันสกฤตก็เป็น “โฆร

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

โฆร : (คำวิเศษณ์) น่ากลัว; frightful, horrible, terrific; – (คำนาม) นามพระศิวะ; ราตรีกาล; ความน่ากลัว; ยาพิษ; a name of Śiva; night; horror, terribleness; poison.”

(๒) “วิส

อ่านว่า วิ-สะ รากศัพท์มาจาก วิสฺ (ธาต = เข้าไป) + (อะ) ปัจจัย

: วิสฺ + = วิส (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เข้าสู่ร่างกายทางเส้นเลือด” หมายถึง ยาพิษ, พิษ, พิษของสัตว์ (poison, virus, venom)

วิส” ในบาลีเป็น “วิษ” ในสันสกฤต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า

วิษ : (คำนาม) พิษ; poison, wenom.”

ในภาษาไทย แผลง เป็น ตามหลักนิยม ใช้อิงสันสกฤตเป็น “พิษ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

พิษ, พิษ– : (คำนาม) สิ่งที่ร้ายเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือให้ความเดือดร้อนแก่จิตใจ; สิ่งที่ร้ายเป็นอันตราย เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทําให้ตาย เจ็บปวด หรือพิการได้ บางอย่างเกิดจากแร่ เช่นสารหนู, บางอย่างเกิดจากต้นไม้ เช่นต้นแสลงใจ, บางอย่างเกิดจากสัตว์ เช่นงู. (ส. วิษ; ป. วิส).”

โฆร + วิส = โฆรวิส (โค-ระ-วิ-สะ) แปลตามศัพท์ว่า “สัตว์ที่มีพิษร้าย” หมายถึง งูพิษ

ในบาลี “โฆรวิส” มักมาคู่กับ “อาสีวิส” (อา-สี-วิ-สะ) ซึ่งแปลว่า (1) “ผู้มีพิษสะสมอยู่ที่เขี้ยว” (2) “ผู้มีพิษที่เขี้ยว” (3) “ผู้มีพิษแล่นเร็ว

อาสีวิส” หมายถึง งู

เมื่อมี “โฆรวิส” มาทำหน้าที่เป็นคำขยายเป็น “อาสีวิโส โฆรวิโส” ก็เป็นการระบุชัดลงไปว่า งูพิษชนิดนั้นเป็นชนิดพิษร้าย กัดแล้วถึงตายทันที จึงมักตกลงกันว่า “อาสีวิโส โฆรวิโส” หรือแม้มีแต่ “โฆรวิโส” หรือ “โฆรวิส” คำเดียว หมายถึง งูเห่า ซึ่งเราเชื่อกันมาว่าเป็นงูที่มีพิษร้ายที่สุด

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล “งูเห่า” เป็นอังกฤษว่า cobra

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล cobra เป็นบาลีดังนี้ :

(1) phaṇī ผณี (ผะ-นี) = “งูที่มีพังพาน” คืองูที่แผ่พังพานได้

(2) nāga นาค (นา-คะ) = นาค คือที่เราเรียกกันว่า พญานาค หรืองูใหญ่

หมายเหตุ : คำบาลีที่หมายถึง “งูเห่า” อาจมีศัพท์อื่นอีก เช่น “กณฺหสปฺป” (กัน-หะ-สับ-ปะ) = งูดำ และ “โคนส” (โค-นะ-สะ) = งูขว้างค้อน เป็นต้น

ขยายความ :

ในคัมภีร์บาลีมีการกล่าวถึง “อาสีวิส โฆรวิส” ในฐานะเป็นงูที่มีพิษร้ายที่สุด เช่น กรณีพระสุทินเสพเมถุนกับภรรยาเก่าอันเป็นต้นบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ 1 พระพุทธองค์ทรงตำหนิว่า การกระทำเช่นนั้น เอาองคชาตสอดเข้าไปในปาก “อาสีวิส โฆรวิส” ยังจะดีกว่า เพราะงูพิษทำได้อย่างร้ายที่สุดก็แค่ตายหรือปางตาย แต่บาปกรรมนั้นทำให้ไปอบายภูมิ

ในคัมภีร์บางแห่งเปรียบทรัพย์คือเงินว่าเป็น “อาสีวิส โฆรวิส” กล่าวคือเงินเป็นงูพิษที่อาจทำให้ถึงตายได้ ดังคำที่นิยมพูดกันในหมู่ชาวพุทธในเมืองไทยเราว่า “สตรีและสตางค์เป็นอสรพิษของสมณะ”

…………..

ดูก่อนภราดา!

: คนพาลตายเพราะอสรพิษ

: บัณฑิตใช้อสรพิษทำให้รอดตาย

#บาลีวันละคำ (3,079)

16-11-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย