บาลีวันละคำ

สมมาตร (บาลีวันละคำ 3,094)

สมมาตร

อ่านว่า สม-มาด

แยกศัพท์เป็น สม + มาตร

(๑) “สม

สม” อาจมีที่มาได้ 3 นัย คือ –

นัย 1 มาจากศัพท์ว่า “สม” (สะ-มะ) รากศัพท์มาจาก สมฺ (ธาตุ = ห้อย, ย้อย) + (อะ) ปัจจัย

: สมฺ + = สม แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ห้อยอยู่” (คืออยู่เคียงคู่กัน)

นัย 2 คำเดิมมาจาก “สํ” (สัง) เป็นคำอุปสรรค ตำราบาลีไทยแปลว่า “พร้อม, กับ, ดี” หมายถึง พร้อมกัน, ร่วมกัน (together) แปลงนิคหิตเป็น มฺ (มะ)

: สํ > สมฺ > สม

นัย 3 คำเดิมมาจาก “” (สะ) แปลว่า “ของตน” (own) ลงนิคหิตอาคมแล้วแปลงนิคหิตเป็น มฺ (มะ)

: > สํ > สมฺ > สม

สม” ในบาลีเป็นคุณศัพท์ (ถ้าเป็นนาม เป็นปุงลิงค์) ใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) เรียบ, ได้ระดับ (even, level)

(2) เหมือนกัน, เสมอกัน, อย่างเดียวกัน (like, equal, the same)

(3) เที่ยงธรรม, ซื่อตรง, มีจิตไม่วอกแวก, ยุติธรรม (impartial, upright, of even mind, just)

(๒) “มาตร

เป็นรูปคำสันสกฤต บาลีเป็น “มตฺต” (มัด-ตะ, เป็น “มตฺตา” ก็มี) รากศัพท์มาจาก มา (ธาตุ = กะ, ประมาณ) + ปัจจัย, รัสสะ ( = ทำให้เสียงสั้น) อา (ที่ มา) เป็น อะ (มา > ), ซ้อน

: มา > + + = มตฺต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขากำหนด” มีความหมายว่า –

(1) ประกอบด้วย, วัดหรือนับได้, ประมาณ (consisting of, measured, measuring)

(2) มากถึง, มากเท่านั้น, เพียงพอ (as much as, so much, some, enough of)

(3) เหมือน, เหมือนเช่น, สิ่งที่เรียกว่า, อาจพูดได้ว่า (like, just as what is called, one may say)

(4) มาตร, ปริมาณหรือจำนวน, ปริมาณที่ถูกต้อง, ความพอดี (measure, quantity, right measure, moderation)

บาลี “มตฺต” สันสกฤตเป็น “มาตฺร” และ “มาตฺรา

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

(1) มาตฺร : (คำนาม) สากลย์, สกลพัสดุ; the whole, the entire thing.

(2) มาตฺร : (คำนาม) ‘มาตร,’ พหุบทเพิ่มคำศัพท์; a pleonastic addition to words.

(3) มาตฺร : (คำวิเศษณ์)  เอก, เอกากิน, คนเดียว; only, single.

(4) มาตฺร : (คำกริยาวิเศษณ์) ฉเพาะ, เพียงคนเดียวเท่านั้น; only, solely.

(5) มาตฺรา : (คำนาม) ประมาณ; ประมาณในฉันท์, บาทพยัญชนะ; ต่างหู; ทรัพย์, พัสดุ; สระเสียงสั้น; เวลาครู่หนึ่ง; องค์เบื้องบนของอักษรเทวนาครี; quantity, measure; quantity in mettre, a syllabic foot; an ear-ring; wealth, substance; a short vowel; a moment; the upper limb of the Nāgrī characters.

ภาษาไทยใช้เป็น “มาตร” ตามสันสกฤต

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “มาตร” ไว้ 2 คำ บอกไว้ดังนี้ –

(1) มาตร ๑, มาตร– ๑ : (คำนาม) เครื่องสำหรับวัดขนาด จำนวน เวลา และมุม เช่น มาตรน้ำ มาตรไฟฟ้า, มิเตอร์ ก็ว่า. (ส. มาตฺร; ป. มตฺต).

(2) มาตร ๒, มาตร– ๒ : (คำวิเศษณ์) สักว่า. (คำสันธาน) สักว่า, แม้ว่า. (ส. มาตฺร; ป. มตฺต).

สม + มตฺต = สมมตฺต (สะ-มะ-มัด-ตะ) แปลว่า “ส่วนที่วัดแล้วเสมอกัน” ใช้ในภาษาไทยเป็น “สมมาตร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สมมาตร : (คำนาม) ลักษณะที่รูป ๒ รูปหรือรูปรูปเดียว แต่แยกได้เป็น ๒ ส่วน มีสมบัติว่า ถ้านํารูปแรกไปทับรูปที่ ๒ หรือพับส่วนแรกไปทับส่วนที่ ๒ ในกรณีที่เป็นรูปเดียวกันแล้ว ทั้ง ๒ รูปหรือ ๒ ส่วนนั้นจะทับกันสนิท, ถ้าเป็นรูปทรง ๓ มิติ เมื่อแบ่งครึ่งออกไป ๒ ซีกจะเหมือนกันทุกประการ. (อ. symmetry).”

สมมาตร” เป็นศัพท์บัญญัติจากคำอังกฤษว่า symmetry

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล symmetry เป็นบาลีดังนี้ :

(1) saṅgatāvayavatā สํคตาวยวตา (สัง-คะ-ตา-วะ-ยะ-วะ-ตา) = มีส่วนประกอบที่เชื่อมต่อกันได้

(2) anukūlatā อนุกูลตา (อะ-นุ-กู-ละ-ตา) = ความสมส่วนกัน

(3) nigrodhaparimaṇḍalatā นิโคฺรธปริมณฺฑลตา (นิ-โคฺร-ทะ-ปะ-ริ-มัน-ดะ-ละ-ตา) = “ความเป็นปริมณฑลดังต้นไทร” กล่าวคือ วัดจากศูนย์กลางออกไปมีวงโดยรอบเท่ากันทุกด้าน > กลมกลืนกัน

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ขัดคอเพื่อให้ได้ไปสวรรค์

: ดีกว่ากลมเกลียวกันแล้วไปนรก

อาจเป็นรูปภาพของ ต้นไม้

#บาลีวันละคำ (3,094)

1-12-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย