บาลีวันละคำ

ปปัญจสูทนี (บาลีวันละคำ 3,100)

ปปัญจสูทนี

คัมภีร์ที่เจาะทะลุความเนิ่นช้า

อ่านว่า ปะ-ปัน-จะ-สู-ทะ-นี

ประกอบด้วยคำว่า ปปัญจ + สูทนี

(๑) “ปปัญจ

เขียนแบบบาลีเป็น “ปปญฺจ” อ่านว่า ปะ-ปัน-จะ รากศัพท์มาจาก –

(1) (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + ปจิ (ธาตุ = กว้างขวาง) + (อะ) ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ต้นธาตุแล้วแปลงเป็น ญฺ (ปจิ > ปํจิ > ปญฺจิ), “ลบสระหน้า” คือ อิ ที่ (ป)-จิ (ปจิ > ปจ)

: + ปจิ = ปปจิ > ปปํจิ > ปปญฺจิ > ปปญฺจ + = ปปญฺจ แปลตามศัพท์ว่า (1) “ภาวะที่กว้างขวาง” (2) “กิเลสที่ยังสังสารวัฏของสัตว์ที่ตนอาศัยให้กว้างออกไป” (3) “กิเลสที่ยังสันดานอันเป็นที่ตนเกิดให้กว้างออกไป” (4) “กิเลสที่ยังการสืบเนื่องแห่งสัตวโลกให้กว้างขวางออกไปในสังสารวัฏ

(2) (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + ปญฺจ (ธาตุ = ไป) + (อะ) ปัจจัย

: + ปญฺจฺ = ปปญฺจฺ + = ปปญฺจ แปลตามศัพท์ว่า “กิเลสเป็นเหตุชักช้าอยู่ในสังสารวัฏแห่งสัตวโลก

ปปญฺจ” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) อุปสรรค, สิ่งขัดขวาง, ภาระอันทำให้เกิดความล่าช้า, เครื่องหน่วงเหนี่ยว, เครื่องกีดขวาง, ความล่าช้า (obstacle, impediment, a burden which causes delay, hindrance, delay)

(2) ความหลงผิด, ความหลงใหล, การขัดขวางความก้าวหน้าทางจิตใจ (illusion, obsession, hindrance to spiritual progress)

(3) ความเนิ่นช้า, ความยืดยาด (diffuseness, copiousness)

(๒) “สูทนี

อ่านว่า สู-ทะ-นี รากศัพท์มาจาก สูทฺ (ธาตุ = ทำให้ไหลออก) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) + อี ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: สูทฺ + ยุ > อน = สูทน + อี = สูทนี แปลตามศัพท์ว่า “(อรรถกถา) อันเป็นเครื่องทำให้ไหลออก” หมายถึง เครื่องเจาะ, เครื่องบ่ง (piercing, puncture)

ปปญฺจ + สูทนี = ปปญฺจสูทนี > ปปัญจสูทนี แปลว่า “(อรรถกถา) อันเป็นเครื่องเจาะความเนิ่นช้าให้ไหลออกมาจนหมด” หมายถึง อรรถกถาที่อธิบายเรื่องราวให้เข้าใจง่ายขึ้นไม่ต้องเสียเวลาวนเวียนอยู่กับความสงสัยว่าถ้อยคำนี้เรื่องเช่นนี้หมายความว่าอะไรหนอ

ขยายความ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ขยายความไว้ว่า –

…………..

ปปัญจสูทนี : ชื่อคัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายความในมัชฌิมนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆสาจารย์เรียบเรียงขึ้น โดยอาศัยอรรถกถาเก่าภาษาสิงหฬที่สืบมาแต่เดิมเป็นหลัก เมื่อพ.ศ. ใกล้จะถึง ๑๐๐๐.”

…………..

แถม :

พระสุตตันตปิฎก หรือพระสูตร เป็น 1 ในพระไตรปิฎก แบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 กลุ่ม เรียกว่า “นิกาย” คือ –

1 ทีฆนิกาย

2 มัชฌิมนิกาย

3 สังยุตนิกาย

4 อังคุตรนิกาย

5 ขุทกนิกาย

โบราณเอาคำแรกของชื่อนิกายทั้ง 5 มาเรียกรวมกันว่า “ทีมะสังอังขุ” นับถือกันว่าเป็น “หัวใจพระสุตตันตปิฎก” หรือ “หัวใจพระสูตร”

คัมภีร์ “ปปัญจสูทนี” เป็นคัมภีร์ชั้นอรรถกถา อธิบายพระสุตตันตปิฎกเฉพาะส่วนที่เป็นมัชฌิมนิกาย

คัมภีร์ “ปปัญจสูทนี” พิมพ์เป็นอักษรไทยแบ่งเป็น 3 เล่ม หรือ 3 ภาค

หลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทยไม่ได้ใช้คัมภีร์ปปัญจสูทนีเป็นแบบเรียนในชั้นใดๆ ทั้งสิ้น

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ทุกข์โรคโศกเศร้าจะเบาบาง

: ถ้าบ่งอารมณ์บูดออกเสียบ้างให้บางเบา

#บาลีวันละคำ (3,100)

7-12-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย