บาลีวันละคำ

ปรมัตถทีปนี (บาลีวันละคำ 3,104)

ปรมัตถทีปนี

ดั่งประทีปส่องปรมัตถธรรม

อ่านว่า ปะ-ระ-มัด-ที-ปะ-นี

ประกอบด้วยคำว่า ปรมัตถ + ทีปนี

(๑) “ปรมัตถ

เขียนแบบบาลีเป็น “ปรมตฺถ” อ่านว่า ปะ-ระ-มัด-ถะ ประกอบด้วยคำว่า ปรม + อตฺถ

(ก) “ปรม” (ปะ-ระ-มะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ปร (ข้าศึก) + มรฺ (ธาตุ = ตาย) + กฺวิ ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ (มรฺ > ) และลบปัจจัย

: ปร + มรฺ + กฺวิ = ปรมรกฺวิ > ปรมร > ปรม แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังธรรมอันเป็นข้าศึกให้ตาย

(2) (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + ปัจจัย, ลบ

: + รมฺ = ปรมฺ + = ปรมณ > ปรม แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ยินดีในความยิ่งใหญ่

(3) ปรฺ (ธาตุ = รักษา) + ปัจจัย

: ปรฺ + = ปรม แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่รักษาความสูงสุดของตนไว้ได้

หมายเหตุ: “ปรม” ยังมีรากศัพท์และแปลอย่างอื่นอีกหลายความหมาย

ปรม” หมายถึง สูงสุด, พิเศษสุด, เป็นเลิศ, ดีที่สุด (highest, most excellent, superior, best)

(ข) “อตฺถ” (อัด-ถะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) อรฺ (ธาตุ = ไป, ถึง เป็นไป; พินาศ) + ปัจจัย, แปลง รฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ (อรฺ > อตฺ)

: อรฺ + = อรฺถ > อตฺถ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งเป็นเครื่องให้ดำเนินไปได้” (2) “สิ่งที่ให้ดำเนินไปตามการณ์” (3) “สิ่งอันบุคคลถึง คือได้รับตามครรลองแห่งเหตุ” (4) “ภาวะที่พินาศ

(2) อสฺ (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, แปลง สฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ (อสฺ > อตฺ)

: อสฺ + = อสฺถ > อตฺถ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งเป็นเหตุให้มีให้เป็น” (2) “เหตุให้มีศัพท์

(3) อตฺถฺ (ธาตุ = ขอ, ปรารถนา) + (อะ) ปัจจัย

: อตฺถฺ + = อตฺถ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ต้องการ

อตฺถ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) กำไร, ผลประโยชน์, การได้เปรียบ; ความดี, พร, สวัสดิภาพ; ผลที่ได้มา, ความรุ่งเรือง, สวัสดิการ (interest, advantage, gain; good, blessing, welfare; profit, prosperity, well-being)

(2) ความประสงค์, ความต้องการ, ความปรารถนา, ประโยชน์ (need, want, use)

(3) เนื้อความ, ความหมาย, ความสำคัญ (ของคำพูด), การหมายถึง (sense, meaning, import [of a word], denotation, signification)

(4) ข้อความ, สิ่งของ (matter, thing)

(5) เรื่องราว, ความเห็น, คดี (affair, cause, case)

ปรม + อตฺถ = ปรมตฺถ > ปรมัตถ หมายถึง ประโยชน์อันสูงสุด, ปรมัตถ์; ความจริงอย่างยิ่ง, ความจริงเชิงปรัชญา (the highest good, ideal; truth in the ultimate sense, philosophical truth)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปรมัตถ์ : (คำนาม) ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความอย่างยิ่ง, ความจริงอันเป็นที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก. (คำวิเศษณ์) ลึกซึ้งยากที่ปุถุชนจะเข้าใจได้ เช่น นี่เป็นเรื่องปรมัตถ์. (ป.).”

(๒) “ทีปนี

อ่านว่า ที-ปะ-นี รากศัพท์มาจาก ทีปฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง, ประกาศ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) + อี ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ทีปฺ + ยุ > อน = ทีปน + อี = ทีปนี แปลตามศัพท์ว่า (1) “(อรรถกถา) เป็นเครื่องส่องสว่าง” (2) “(อรรถกถา) เป็นเครื่องประกาศ”

ปรมตฺถ + ทีปนี = ปรมตฺถทีปนี > ปรมัตถทีปนี แปลความว่า “(อรรถกถา) อันเป็นเครื่องส่องสว่างให้เห็นความหมายอันยอดเยี่ยม” หรือ “(อรรถกถา) อันเป็นเครื่องประกาศปรมัตถธรรม

ขยายความ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ขยายความไว้ว่า –

…………..

ปรมัตถทีปนี : ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความใน อุทาน อิติวุตตกะ วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา และจริยาปิฎก แห่งพระสุตตันตปิฎก พระธรรมปาละอาศัยแนวของโปราณัฏฐกถาที่รักษาสืบต่อกันมาในลังกาทวีป ซึ่งเป็นภาษาสิงหฬ รจนาขึ้นเป็นภาษาบาลี ในสมัยภายหลังพระพุทธโฆสาจารย์ไม่นานนัก.”

…………..

อภิปราย :

พระสุตตันตปิฎก หรือพระสูตร เป็น 1 ในพระไตรปิฎก แบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 กลุ่ม เรียกว่า “นิกาย” คือ ทีฆนิกาย, มัชฌิมนิกาย, สังยุตนิกาย, อังคุตรนิกาย และ ขุทกนิกาย

ทีฆนิกาย มีอรรถกถาชื่อ “สุมังคลวิลาสินี

มัชฌิมนิกาย มีอรรถกถาชื่อ “ปปัญจสูทนี

สังยุตนิกาย มีอรรถกถาชื่อ “สารัตถปกาสินี

อังคุตรนิกาย มีอรรถกถาชื่อ “มโนรถปูรณี

ส่วนขุทกนิกาย มีลักษณะแตกต่างไปจากทั้ง 4 คือมีคัมภีร์ที่แยกย่อยออกไปถึง 15 คัมภีร์ คือ (1) ขุททกปาฐะ (2) ธรรมบท (3) อุทาน (4) อิติวุตตกะ (5) สุตตนิบาต (6) วิมานวัตถุ (7) เปตวัตถุ (8) เถรคาถา (9) เถรีคาถา (10) ชาดก (11) นิทเทส (มหานิทเทส-จูฬนิทเทส) (12) ปฏิสัมภิทามรรค (13) อปทาน (14) พุทธวงส์ (15) จริยาปิฎก

แต่ละคัมภีร์ก็มีอรรถกถาแยกกันไปแต่ละเล่ม คือคัมภีร์ (1) ขุททกปาฐะ (2) ธรรมบท (3) สุตตนิบาต และ (4) ชาดก ทั้ง 4 คัมภีร์นี้มีอรรถกถาชื่อเหมือนกัน คือชื่อ “ปรมัตถโชติกา” แต่แม้ชื่อจะเหมือนกัน อรรถกถาของแต่ละคัมภีร์ก็เป็นคนละเล่มกัน จบในเล่มของตน ไม่ได้รวมอยู่เป็นเล่มเดียวกัน

คัมภีร์ (1) อุทาน (2) อิติวุตตกะ (3) วิมานวัตถุ (4) เปตวัตถุ (5) เถรคาถา (6) เถรีคาถา และ (7) จริยาปิฎก ทั้ง 7 คัมภีร์นี้มีอรรถกถาชื่อเหมือนกัน คือชื่อ “ปรมัตถทีปนี” แต่ก็แยกกันเป็นคนละเล่มเช่นเดียวกับ “ปรมัตถโชติกา

…………..

ดูก่อนภราดา!

อ่านไม่ออก ไม่ต้องวิตก

พระไตรปิฎกอรรถกถาบาลี

ปวงเมธีท่านแปลไว้ให้จบครบทุกคำ

: อ่านด้วยตานอก เห็นภาษาไทย

: ถ้าอ่านด้วยตาใน เห็นภาษาธรรม

#บาลีวันละคำ (3,104)

11-12-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย