บาลีวันละคำ

อุตส่าห์ (บาลีวันละคำ 1,208)

อุตส่าห์

อ่านว่า อุด-ส่า

อุตส่าห์” เป็นคำที่เขียนอิงสันสกฤต “อุตฺสาห” บาลีเป็น “อุสฺสาห

โปรดสังเกตตัวสะกดตัวตาม : บาลี –สฺส– สันสกฤต –ตฺส

อุสฺสาห” (อุด-สา-หะ) รากศัพท์มาจาก อุ (ขึ้น, เหนือขึ้นไป) + สหฺ (ธาตุ = ทน) + ปัจจัย, ลบ , ซ้อน ระหว่าง อุ กับ สหฺ (อุ + สฺ + สหฺ), ทีฆะ (ยืดเสียง) อะ ที่ -(หฺ) เป็น อา (สหฺ > สาห)

: อุ + สฺ + สหฺ = อุสฺสห + = อุสฺสหณ > อุสฺสห > อุสฺสาห แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ทนการได้รับทุกข์ยิ่งขึ้นไปได้” หมายความว่า เมื่อฝ่าฟันบากบั่นไป ย่อมต้องเหนื่อย ต้องลำบาก ต้องทุกข์ ยิ่งฝ่าฟันหนักขึ้นก็ต้องทนยิ่งขึ้น-แต่ก็ทนได้ นี่คือความหมายของ “อุสฺสาห

บาลี “อุสฺสาห” (อุสฺ– ส เสือ) สันสกฤตเป็น “อุตฺสาห” (อุตฺ– ต เต่า) ภาษาไทยเขียนอิงสันสกฤต ใช้ในรูปต่างๆ คือ –

(1) อุตสาห– ในกรณีมีคำอื่นมาสมาสท้าย เช่น อุตสาหกรรม

(2) อุตสาหะ ในกรณีใช้เป็นคำเดี่ยวและต้องการให้อ่านว่า อุด-สา-หะ

(3) อุตส่าห์ ในกรณีใช้เป็นคำเดี่ยวและต้องการให้อ่านว่า อุด-ส่า

ข้อสังเกตอักขรวิธีของคนเก่า :

คำที่มาจากบาลีสันสกฤตบางคำที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ – อักขรวิธีไทยแบบเก่านิยมออกเสียงพยางค์หน้า – อย่างมีวรรณยุกต์เอก และไม่ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตที่ –

ที่เป็นเช่นนี้น่าจะเป็นเพราะในบาลีสันสกฤตเสียง – ท้ายคำ ไม่ได้ลงเสียงหนักเป็น –หะ เหมือนภาษาไทย แต่ – จะมีเสียงก้องลงคอ เป็นเหตุให้พยางค์ก่อนหน้ามีเสียงเหมือนมีวรรณยุกต์เอกกำกับโดยอัตโนมัติ เช่น –

เสนห อ่านว่า สะ-เหฺน่ อักขรวิธีปัจจุบันเขียน เสน่ห์

เทห อ่านว่า เท่ อักขรวิธีปัจจุบันเขียน เท่ห์

เลห อ่านว่า เล่ อักขรวิธีปัจจุบันเขียน เล่ห์

โลห อ่านว่า โล่ อักขรวิธีปัจจุบันเขียน โล่ห์ (เครื่องปิดป้องศัตราวุธ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทําด้วยโลหะหรือหนังดิบ ด้านหลังมีที่จับ, มักใช้คู่กับดาบหรือหอก-โบราณเขียน “โล่ห์” โดยอธิบายว่าเพราะทำด้วยโลหะ ปัจจุบันเขียน “โล่”)

และ “อุตสาห” อ่านว่า อุด-ส่า อักขรวิธีปัจจุบันเขียน “อุตส่าห์

อุตส่าห์” คำเก่าใช้เป็น “อตส่าห์” (อด-ส่า) ก็มี

ศึกษาความหมาย :

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อุสฺสาห” เป็นอังกฤษว่า strength, power, energy; endeavour, good-will (ความแข็งแรง, อำนาจ, พละกำลัง; ความพยายาม, ความตั้งใจดี)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

อุตฺสาห” : (คำนาม) อุตสาหะ, ความพยายาม, ความพากเพียร; ด้าย; ความสุข; ความอดกลั้น; effort, perseverance; a thread; happiness; fortitude.”

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล “อุตส่าห์” เป็นอังกฤษว่า –

to take the trouble to

to go out of one’s way (to call)

to try (a bit more)

to be diligent

to be industrious

to be persistent

to have application

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อุตสาห-,อุตส่าห์, อุตสาหะ : (คำนาม) ความบากบั่น, ความพยายาม, ความขยัน, ความอดทน, ใช้ว่า อุษาหะ อุสสาหะ หรือ อุสส่าห์ ก็มี. (คำกริยา) บากบั่น, พยายาม, ขยัน, อดทน. (ส. อุตฺสาห; ป. อุสฺสาห).”

: ถ้ามนุษย์มีความอุตส่าห์

: ก็ไม่ต้องขอพรเทวดาองค์ใด

19-9-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย