บาลีวันละคำ

ปรมัตถมัญชุสา (บาลีวันละคำ 3,114)

ปรมัตถมัญชุสา

หีบบรรจุพระปรมัตถธรรม

อ่านว่า ปะ-ระ-มัด-ถะ-มัน-ชุ-สา

ประกอบด้วยคำว่า ปรมัตถ + มัญชุสา

(๑) “ปรมัตถ

เขียนแบบบาลีเป็น “ปรมตฺถ” อ่านว่า ปะ-ระ-มัด-ถะ ประกอบด้วยคำว่า ปรม + อตฺถ

(ก) “ปรม” (ปะ-ระ-มะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ปร (ข้าศึก) + มรฺ (ธาตุ = ตาย) + กฺวิ ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ (มรฺ > ) และลบปัจจัย

: ปร + มรฺ + กฺวิ = ปรมรกฺวิ > ปรมร > ปรม แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังธรรมอันเป็นข้าศึกให้ตาย

(2) (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + ปัจจัย, ลบ

: + รมฺ = ปรมฺ + = ปรมณ > ปรม แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ยินดีในความยิ่งใหญ่

(3) ปรฺ (ธาตุ = รักษา) + ปัจจัย

: ปรฺ + = ปรม แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่รักษาความสูงสุดของตนไว้ได้

หมายเหตุ: “ปรม” ยังมีรากศัพท์และแปลอย่างอื่นอีกหลายความหมาย

ปรม” หมายถึง สูงสุด, พิเศษสุด, เป็นเลิศ, ดีที่สุด (highest, most excellent, superior, best)

(ข) “อตฺถ” (อัด-ถะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) อรฺ (ธาตุ = ไป, ถึง เป็นไป; พินาศ) + ปัจจัย, แปลง รฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ (อรฺ > อตฺ)

: อรฺ + = อรฺถ > อตฺถ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งเป็นเครื่องให้ดำเนินไปได้” (2) “สิ่งที่ให้ดำเนินไปตามการณ์” (3) “สิ่งอันบุคคลถึง คือได้รับตามครรลองแห่งเหตุ” (4) “ภาวะที่พินาศ

(2) อสฺ (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, แปลง สฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ (อสฺ > อตฺ)

: อสฺ + = อสฺถ > อตฺถ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งเป็นเหตุให้มีให้เป็น” (2) “เหตุให้มีศัพท์

(3) อตฺถฺ (ธาตุ = ขอ, ปรารถนา) + (อะ) ปัจจัย

: อตฺถฺ + = อตฺถ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ต้องการ

อตฺถ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) กำไร, ผลประโยชน์, การได้เปรียบ; ความดี, พร, สวัสดิภาพ; ผลที่ได้มา, ความรุ่งเรือง, สวัสดิการ (interest, advantage, gain; good, blessing, welfare; profit, prosperity, well-being)

(2) ความประสงค์, ความต้องการ, ความปรารถนา, ประโยชน์ (need, want, use)

(3) เนื้อความ, ความหมาย, ความสำคัญ (ของคำพูด), การหมายถึง (sense, meaning, import [of a word], denotation, signification)

(4) ข้อความ, สิ่งของ (matter, thing)

(5) เรื่องราว, ความเห็น, คดี (affair, cause, case)

ปรม + อตฺถ = ปรมตฺถ > ปรมัตถ หมายถึง ประโยชน์อันสูงสุด, ปรมัตถ์; ความจริงอย่างยิ่ง, ความจริงเชิงปรัชญา (the highest good, ideal; truth in the ultimate sense, philosophical truth)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปรมัตถ์ : (คำนาม) ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความอย่างยิ่ง, ความจริงอันเป็นที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก. (คำวิเศษณ์) ลึกซึ้งยากที่ปุถุชนจะเข้าใจได้ เช่น นี่เป็นเรื่องปรมัตถ์. (ป.).”

(๒) “มัญชุสา

เขียนแบบบาลีเป็น “มญฺชุสา” อ่านว่า มัน-ชุ-สา (เป็น “มญฺชูสา” อีกรูปหนึ่ง) รากศัพท์มาจาก มนฺ (ธาตุ = รู้) + ปัจจัย, ลง ชุ หรือ ชู อาคมระหว่างธาตุกับปัจจัย (มนฺ + ชุ (ชู) + สา), แปลง นฺ ที่สุดธาตุเป็น ญฺ (มนฺ > มญ)

: มนฺ + ชุ + = มนฺชุส > มญฺชุส + อา = มญฺชุสา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเครื่องรู้ประโยชน์ในทรัพย์ของตน

คำแปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเครื่องรู้ประโยชน์ในทรัพย์ของตน” นี้ ถ้าขบความแตกก็จะได้อรรถรสในภาษาบาลี

ลองขบดู เริ่มจาก –

๑ “ทรัพย์ของตน” บ่งชัดว่าไม่ใช่ทรัพย์ของคนอื่น

๒ “รู้ประโยชน์ในทรัพย์ของตน” คือรู้ว่าทรัพย์นั้นมีประโยชน์ มีคุณค่า มีราคา

๓ ทำอะไรที่แสดงว่า-รู้ว่าทรัพย์มีค่า? การกระทำที่แสดงว่าผู้ทำรู้ว่าทรัพย์มีค่า ก็คือเก็บรักษาทรัพย์นั้นไว้ให้ดี ให้ปลอดภัย

๔ เก็บด้วยวิธีไหน? ด้วยวิธีใส่ไว้ในตู้ ในหีบ ในกำปั่น ถ้าเป็นสมัยนี้ก็คือในตู้นิรภัย

๕ ดังนั้น ตู้ หีบ กำปั่น จึงเรียกว่า “มญฺชุสา” = “สิ่งเป็นเครื่องรู้ประโยชน์ในทรัพย์ของตน

หนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) แปล “มญฺชุสา” ว่า หีบ, ตู้, ลุ้ง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “มญฺชุสา” ว่า a casket; used for keeping important documents in (หีบ; ที่ใช้เก็บเอกสารสำคัญ)

บาลี “มญฺชุสา” (“มญฺชูสา”) สันสกฤตเป็น “มญฺชูษา

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน เก็บ “มญฺชูษา” ไว้ 2 คำ บอกไว้ดังนี้ –

(1) มญฺชูษา : (คำนาม) ‘มัญชูษา,’ กระบุง, กระจาด, ตะกร้า; ต้นคำ; a basket; the madder-plant.

(2) มญฺชูษา : (คำนาม) ‘มัญชูษา,’ ซองที่เก็บมหาธนูซึ่งพระรามทำหัก; the case in which the great bow that Rāma broke was kept.

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มัญชุสา, มัญชูสา : (คำนาม) ลุ้ง, หีบ. (ป.).”

ปรมตฺถ + มญฺชุสา = ปรมตฺถมญฺชุสา > ปรมัตถมัญชุสา แปลความว่า “(ฎีกา) อันเป็นเสมือนตู้บรรจุพระปรมัตถธรรม

ขยายความ :

ปรมัตถมัญชุสา” เป็นชื่อคัมภีร์ชั้นฎีกา อธิบายความในคัมภีร์วิสุทธิมรรค มักเรียกกันว่า “มหาฎีกา”

ผู้รจนาคัมภีร์ “ปรมัตถมัญชุสา” คือพระอาจารย์ธรรมปาละ แห่งพทรติตถวิหารซึ่งอยู่ในอินเดียตอนใต้ รจนาขึ้นเป็นภาษาบาลี ในสมัยภายหลังพระพุทธโฆสาจารย์ไม่นานนัก

ปรมัตถมัญชุสา” พิมพ์เป็นบาลีอักษรไทย 3 เล่ม ใช้เป็นคัมภีร์ประกอบการศึกษาชั้นเปรียญธรรม 8 ประโยค ตามหลักสูตรการศึกษาบาลีของคณะสงฆ์ไทย

…………..

ดูก่อนภราดา!

: พระปิฎกตรัยท่านเก็บใส่ไว้ในตู้

: จะเฝ้าศึกษาเรียนรู้ หรือจะเฝ้าตู้อยู่เปล่าๆ

#บาลีวันละคำ (3,114)

21-12-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย