บาลีวันละคำ

ลีนัตถทีปนี (บาลีวันละคำ 3,122)

ลีนัตถทีปนี

คัมภีร์ที่ส่องสว่างหนทางลี้ลับ

อ่านว่า ลี-นัด-ถะ-ที-ปะ-นี

ประกอบด้วยคำว่า ลีนัตถ + ทีปนี

(๑) “ลีนัตถ

เขียนแบบบาลีเป็น “ลีนตฺถ” อ่านว่า ลี-นัด-ถะ แยกศัพท์เป็น ลีน + อตฺถ

(ก) “ลีน” (ลี-นะ) รากศัพท์มาจาก ลี (ธาตุ = ปกปิด) + ปัจจัย, แปลง เป็น

: ลี + = ลีต > ลีน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ปกปิด

หนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) แปล “ลีน” ว่า ซ่อนเร้น, ลับ, ปกปิด

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ลีน” ว่า –

(1) clinging, sticking (เกาะ, ติด);

(2) slow, sluggish (ค่อย ๆ, เชื่องช้า)

(3) shy, reserved, dull (อายหรือไม่กล้า, สำรวม, โง่)

(ข) “อตฺถ” (อัด-ถะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) อรฺ (ธาตุ = ไป, ถึง เป็นไป; พินาศ) + ปัจจัย, แปลง รฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ (อรฺ > อตฺ)

: อรฺ + = อรฺถ > อตฺถ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งเป็นเครื่องให้ดำเนินไปได้” (2) “สิ่งที่ให้ดำเนินไปตามการณ์” (3) “สิ่งอันบุคคลถึง คือได้รับตามครรลองแห่งเหตุ” (4) “ภาวะที่พินาศ

(2) อสฺ (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, แปลง สฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ (อสฺ > อตฺ)

: อสฺ + = อสฺถ > อตฺถ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งเป็นเหตุให้มีให้เป็น” (2) “เหตุให้มีศัพท์

(3) อตฺถฺ (ธาตุ = ขอ, ปรารถนา) + (อะ) ปัจจัย

: อตฺถฺ + = อตฺถ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ต้องการ

อตฺถ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) กำไร, ผลประโยชน์, การได้เปรียบ; ความดี, พร, สวัสดิภาพ; ผลที่ได้มา, ความรุ่งเรือง, สวัสดิการ (interest, advantage, gain; good, blessing, welfare; profit, prosperity, well-being)

(2) ความประสงค์, ความต้องการ, ความปรารถนา, ประโยชน์ (need, want, use)

(3) เนื้อความ, ความหมาย, ความสำคัญ (ของคำพูด), การหมายถึง (sense, meaning, import [of a word], denotation, signification)

(4) ข้อความ, สิ่งของ (matter, thing)

(5) เรื่องราว, ความเห็น, คดี (affair, cause, case)

ลีน + อตฺถ = ลีนตฺถ > ลีนัตถ แปลว่า “ความหมายที่ยังไม่กระจ่างแจ้งหมายถึง เรื่องราวข้อธรรมที่เข้าใจยาก

(๒) “ทีปนี

อ่านว่า ที-ปะ-นี รากศัพท์มาจาก ทีปฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง, ประกาศ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) + อี ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ทีปฺ + ยุ > อน = ทีปน + อี = ทีปนี แปลตามศัพท์ว่า (1) “(ฎีกา) เป็นเครื่องส่องสว่าง” (2) “(อรรถกถา) เป็นเครื่องประกาศ”

ลีนตฺถ + ทีปนี = ลีนตฺถทีปนี > ลีนัตถทีปนี แปลความว่า “(ฎีกา) อันเป็นเครื่องส่องสว่างให้เห็นอรรถธรรมที่ลี้ลับ” หรือ “(ฎีกา) อันเป็นเครื่องประกาศอรรถธรรมที่ลี้ลับ

ขยายความ :

พระสุตตันตปิฎก หรือพระสูตร เป็น 1 ในพระไตรปิฎก แบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 กลุ่ม เรียกว่า “นิกาย” คือ ทีฆนิกาย, มัชฌิมนิกาย, สังยุตนิกาย, อังคุตรนิกาย และ ขุทกนิกาย

เฉพาะขุทกนิกายมีคัมภีร์ที่แยกย่อยออกไป 15 คัมภีร์ คือ (1) ขุททกปาฐะ (2) ธรรมบท (3) อุทาน (4) อิติวุตตกะ (5) สุตตนิบาต (6) วิมานวัตถุ (7) เปตวัตถุ (8) เถรคาถา (9) เถรีคาถา (10) ชาดก (11) นิทเทส (มหานิทเทส-จูฬนิทเทส) (12) ปฏิสัมภิทามรรค (13) อปทาน (14) พุทธวงส์ (15) จริยาปิฎก

คัมภีร์ลำดับ (12) ปฏิสัมภิทามรรค มีอรรถกถาชื่อ “สัทธัมมปกาสินี” [ดูรายละเอียดที่ “สัทธัมมปกาสินี” บาลีวันละคำ (3,106) 13-12-63]

ลีนัตถทีปนี” ที่กล่าวถึงนี้เป็นคัมภีร์ในชั้นฎีกา อธิบายเนื้อความในคัมภีร์ สัทธัมมปกาสินี อีกต่อหนึ่ง พระวาจิสสรเถระ ชาวลังกา (ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 19) เป็นผู้รจนา

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ความดีมักมีเรื่องที่เข้าใจยากแฝงอยู่ด้วยเสมอ

: แต่ถ้าท่านรอให้เข้าใจเรื่องความดีกระจ่างแจ้งเสียก่อนจึงจะทำ

: ท่านก็จะไม่เหลือเวลาสำหรับทำความดี

#บาลีวันละคำ (3,122)

29-12-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย