บาลีวันละคำ

ทีปรุกฺข – ทีปพฤกษ์ (บาลีวันละคำ 3,133)

ทีปรุกฺขทีปพฤกษ์

ต้นอะไรเอ่ย?

คำบาลีอ่านว่า ที-ปะ-รุก-ขะ

คำไทยอ่านว่า ที-ปะ-พฺรึก

ทีปรุกฺข” ประกอบด้วยคำว่า ทีป + รุกฺข

(๑) “ทีป

อ่านว่า ที-ปะ รากศัพท์มาจาก ทีปฺ (ธาตุ = สว่าง, รุ่งเรือง) + ปัจจัย, ลบ

: ทีปฺ + = ทีปณ > ทีป (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้สว่าง” หมายถึง ดวงประทีป, โคมไฟ, ตะเกียง (a lamp)

ทีป” ในบาลีนอกจากหมายถึงประทีปหรือตะเกียงแล้ว ยังใช้ในความหมายอื่นอีก (รากศัพท์อาจต่างกัน) ดังนี้ –

(1) เกาะ, ทวีป (an island, continent)

(2) พื้นดิน, ดินแข็ง (terra firma)

(3) ฐานที่มั่นคง, สถานที่สำหรับอาศัย, สรณะ, ที่พึ่ง (solid foundation, resting-place, shelter, refuge)

(4) รถที่หุ้มด้วยหนังเสือดำ (a car covered with a panther’s skin)

(5) ความปลอดพ้นจากทุกข์ภัย, นิพพาน (salvation)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) ทีป ๑, ทีปะ ๑ : (คำแบบ) (คำนาม) แสงไฟ. (ป., ส.).

(2) ทีป ๒, ทีปะ ๒ : (คำแบบ) (คำนาม) เกาะ. (ป.; ส. ทฺวีป).

แถม :

ในบาลี นอกจากเป็น “ทีป” แล้ว ยังเป็น “ปทีป” อีกรูปหนึ่ง

ปทีป” (ปะ-ที-ปะ) รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + ทิปฺ (ธาตุ = สว่าง, รุ่งโรจน์) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะต้นธาตุ คือ อิ ที่ ทิ-(ปฺ) เป็น อี (ทิปฺ > ทีป)

: + ทิปฺ = ปทิปฺ + = ปทิปณ > ปทิป > ปทีป แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่สว่างไปทั่ว

ปทีป” (ปุงลิงค์) หมายถึง –

(1) แสงสว่าง (a light)

(2) ตะเกียง, โคมไฟ (a lamp)

บาลี “ปทีป” สันสกฤตเป็น “ปฺรทีป

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า

ปฺรทีป : (คำนาม) ‘ประทีป,’ โคมไฟ, ตะเกียง; a lamp.”

ปทีป” ในภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “ประทีป

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ประทีป : (คำนาม) ไฟที่มีเปลวสว่าง (หมายเอาตะเกียง ไฟเทียน เป็นต้น), ตะเกียง, โคม. (ส. ปฺรทีป; ป. ปทีป).”

(๒) “รุกข” บาลีเป็น “รุกฺข” (รุก-ขะ มีจุดใต้ กฺ) รากศัพท์มาจาก –

(1) รุกฺขฺ (ธาตุ = ป้องกัน, ปิดกั้น) + ปัจจัย

: รุกฺข + = รุกฺข แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ป้องกัน” (คือป้องกันแดดได้)

(2) รุหฺ (ธาตุ = เกิด, งอกขึ้น) + ปัจจัย, แปลง เป็น กฺ (รุหฺ > รุกฺ)

: รุหฺ + = รุหฺข > รุกฺข แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เกิดขึ้นบนแผ่นดิน

รุกฺข” สันสกฤตเป็น “วฺฤกฺษ” ใช้ในภาษาไทยว่า “พฤกษ” คือ ต้นไม้

ทีป + รุกฺข = ทีปรุกฺข (ที-ปะ-รุก-ขะ) แปลตามศัพท์ว่า “ต้นไม้ประทีป

อภิปรายขยายความ :

ทีปรุกฺข” = “ต้นไม้ประทีป” หมายถึงอะไร?

อรรถกถาอธิบายว่า “ทีปรุกฺขํวาติ อาโรปิตทีปํ ทีปรุกฺขมิว” (มธุรัตถวิลาสินี หน้า 98)

พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล (ชุด 91 เล่ม) แปลไว้ว่า “บทว่า ทีปรุกฺขํว ได้แก่ ประดุจต้นประทีปที่เขายกประทีปไว้”

ก็คือแปลตามศัพท์ แต่ไม่บอกว่าคือต้นอะไร เป็นต้นไม้ (รุกฺข) หรือต้นอะไร หรือคืออะไร

เคยเห็นในที่แห่งหนึ่งแปล “ทีปรุกฺข” ว่า “ต้นไม้ประจำทวีป” (ทีป = ทวีป, รุกฺข = ต้นไม้) ก็ไม่รู้อีกเหมือนกันว่าต้นอะไร ประจำทวีปไหน

อีกแห่งหนึ่งแปล “ทีปรุกฺข” ว่า “โคมต้น” (โคม = ทีป, ต้น = รุกฺข) ค่อยมองเห็นภาพขึ้นมาหน่อย แต่ก็ยังมัวๆ อยู่ จะหมายถึงเสาที่แขวนโคมไว้บนยอดอย่างเสาไฟฟ้านั่นแหละกระมัง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ของสมาคมบาลีปกรณ์แห่งลอนดอน แปล “ทีปรุกฺข” ว่า lamp-tree, the stand of a lamp, candlestick (ต้นประทีป, ฐานของโคมไป, เชิงเทียน)

ก็ต้องไปดูอีกว่า lamp-tree ซึ่งแปลว่า “ต้นประทีป” (lamp = ทีป, tree = รุกฺข) ภาษาอังกฤษหมายถึงอะไร

ทีปรุกฺข” แปลงรูปเป็นไทยว่า “ทีปพฤกษ์” แต่คำนี้ก็ยังมีใครเอามาใช้ในภาษาไทย ในยุคปัจจุบันที่เด็กไทยไม่สนใจภาษาไทยด้วยแล้ว คำไทยใหม่ๆ ที่มาจากบาลีสันสกฤตคงเกิดยาก

ภาษาบาลีมีอะไรสนุกๆ อยู่เยอะ เสียแต่ว่า “นักเลงบาลี” บ้านเราไม่ค่อยสนุกด้วย เอาเป็นเอาตายกันที่สอบได้ท่าเดียว

…………..

ดูก่อนภราดา!

: แสงประทีปไม่มีประโยชน์สำหรับคนตาบอดฉันใด

: พระธรรมวินัยก็ไม่มีความหมายสำหรับคนใจบอดฉันนั้น

#บาลีวันละคำ (3,133)

9-1-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย