บาลีวันละคำ

ตามพปัณณิทวีป (บาลีวันละคำ 3,162)

ตามพปัณณิทวีป

ตำนานเกาะลังกา

อ่านว่า ตาม-พะ-ปัน-นิ-ทฺวีบ

ประกอบด้วยคำว่า ตามพ + ปัณณิ + ทวีป

(๑) “ตามพ

รูปคำเดิมของบาลีคือ “ตมฺพ” (ตำ-พะ) รากศัพท์มาจาก ตมฺพฺ (ธาตุ = สี) + ปัจจัย, ลบ

: ตมฺพฺ + = ตมฺพณ > ตมฺพ แปลตามศัพท์ว่า “สีที่มีลักษณะเหมือนโลหะชนิดหนึ่งซึ่งมีสีแดงคือสีมะเดื่อสุก” หมายถึง สีแดง; ทองแดง (red; copper)

บาลี “ตมฺพ” สันสกฤตเป็น “ตามฺร

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “ตามฺร” ในสันสกฤตไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ตามฺร : (คำวิเศษณ์) อันมีสีดั่งทองแดงหรือแดง; of a coppery or red colour; – (คำนาม) ทองแดง; จันทน์แดง (อันท่านกล่าวว่ามีสีแดงเข้ม, และส่งกลิ่นหอมดั่งดอกบัว); สีทองแดงหรือสีแดงเข้ม; ขันทองแดงอันจุน้ำพอดี และมีรูน้อยที่ก้น เพื่อให้น้ำพุ่งขึ้นทางรูนั้น, สำหรับใช้เปนเครื่องบอกทุ่มโมงหรือยามนาลี: ท่านเอาขันลอยน้ำ, น้ำก็เข้าทางก้นขันทีละน้อยจนเต็มขัน ๆ จมลงเมื่อไร ก็เปนกำหนดหมายรู้ยามนาลีที่ล่วงไป; copper, red sandal ( represented as of a dark red colour, and smelling like a lotus); a dark or coppery red colour, a copper or metallic cup of prescribed capacity, and perforated by a small hole at the bottom, answering the purpose of an hour-glass: it is put into a vessel of water, the water gradually filling it, and the cup sinking, mark the hour or time that has elapsed.”

ไทยเราใช้อิงบาลีเป็น “ตามพ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ตามพ-, ตามพะ : (คำแบบ) (คำนาม) ทองแดง. (ป. ตมฺพ; ส. ตามฺร).”

(๒) “ปัณณิ

เขียนแบบบาลีเป็น “ปณฺณิ” อ่านว่า ปัน-นิ รูปคำเดิมเป็น “ปาณิ” (ปา-นิ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ปณฺ (ธาตุ = พูด, เรียก) + อิ ปัจจัย, ทีฆะ อะ ที่ -(ณฺ) เป็น อา (ปณฺ > ปาณฺ)

: ปณฺ + อิ = ปณิ > ปาณิ แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องพูด” (คือใช้แทนปากได้)

(2) ปา (ธาตุ = รักษา) + ณิ ปัจจัย

: ปา + ณิ = ปาณิ แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะที่รักษาอวัยวะต่างๆ ไว้

ปาณิ” (ปุงลิงค์) หมายถึง มือ, ฝ่ามือ (the hand)

ปาณิ” แผลงเป็น “ปณฺณิ” หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า “ปณฺณิ” เป็นรูปเพี้ยนของ “ปาณิ

(๓) “ทวีป

บาลีเป็น “ทีป” อ่านว่า ที-ปะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ทฺวิ (คำสังขยา = สอง) + อาป (น้ำ), ลบ วฺ ที่ ทฺวิ แล้วทีฆะ อิ เป็น อี (ทฺวิ > ทิ > ที) และลบ อา ที่ อา-(ป) (อาป > )

: ทฺวิ + อาป = ทฺวิอาป > ทิอาป > ทีอาป > ทีป แปลตามศัพท์ว่า “พื้นที่ที่ปรากฏอยู่ในกลาง

(2) ทีปฺ (ธาตุ = ปรากฏ) + (อะ) ปัจจัย,

: ทีปฺ + = ทีป แปลตามศัพท์ว่า “พื้นที่ที่ปรากฏอยู่ในกลางน้ำ

ทีป (ปุงลิงค์) หมายถึง เกาะ, ทวีป (an island, continent)

ทีป” ในบาลีนอกจากหมายถึง เกาะ, ทวีป แล้ว ยังใช้ในความหมายอื่นอีก (รากศัพท์อาจต่างกัน) ดังนี้ –

(1) พื้นดิน, ดินแข็ง (terra firma)

(2) ฐานที่มั่นคง, สถานที่สำหรับอาศัย, สรณะ, ที่พึ่ง (solid foundation, resting-place, shelter, refuge)

(3) รถที่หุ้มด้วยหนังเสือดำ (a car covered with a panther’s skin)

(4) ความปลอดพ้นจากทุกข์ภัย, นิพพาน (salvation)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) ทีป ๑, ทีปะ ๑ : (คำแบบ) (คำนาม) แสงไฟ. (ป., ส.).

(2) ทีป ๒, ทีปะ ๒ : (คำแบบ) (คำนาม) เกาะ. (ป.; ส. ทฺวีป).

บาลี “ทีป” สันสกฤตเป็น “ทฺวีป

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “ทฺวีป” ในสันสกฤตไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ทฺวีป : (คำนาม) ‘ทวีป,’ เกาะ, ภูเกษตร์หรือที่อันมีน้ำล้อมรอบ; เนื่องจากเหตุนี้ศัพท์นี้จึงใช้หมายถึงสัปตันมหาภาคแห่งภูมณฑล, ทุกๆ ภาคปลีกหากจากกัน, โดยมีสมุทร์เปนเขตต์ขั้น: ทวีปทั้งเจ็ดนั้น, นับจากทวีปกลางคือ, ชมฺพุ, กุศ, ปลกฺษ, สาลฺมลี, เกฺรานฺจ, ศาก, และปุษฺกร; มัธยทวีปแบ่งออกไปอีกเปนสิบภาค, คือกุรุ, จนฺทฺร, วรุณ, เสามฺย, นาค, กุมาริกา, คภสฺติมานฺ, ตามฺราปูรฺณ, กเสรุ, และอินฺทฺร; หนังเสือ; an island, any land surrounded by water; from this cause the word is applied to the seven grand divisions of the terrestrial word, each of these being separated from the next, by a peculiar circumambient ocean: the seven Dvīpas, reckoning from the central one are, Jambu, Kuśa, Plaksha, Sālmalī, Krauncha, Śāka, and Pushkara; the central Dvīpa is again portioned into ten divisions, viz. Kuru, Chandra, Varuṇa, Saumya, Nāga, Kumārikā, Gabhastimān, TāmrāPūraṇa, Kaseru, and Indra; a tiger’s skin.”

การประสมคำ :

ตมฺพ + ปณฺณิ = ตมฺพปณฺณิ (ตำ-พะ-ปัน-นิ) > ตามพปัณณิ แปลว่า “ผู้มีฝ่ามือแดง

ตมฺพปณฺณิ + ทีป = ตมฺพปณฺณิทีป (ตำ-พะ-ปัน-นิ-ที-ปะ) > ตามพปัณณิทวีป แปลว่า “เกาะของคนมีฝ่ามือแดง

ขยายความ :

คำว่า “ตามพปัณณิทวีป” เป็นชื่อหนึ่งของทวีปลังกา หรือเกาะลังกา หรือที่ในปัจจุบันมีชื่อประเทศว่า “ศรีลังกา” ในคัมภีร์บาลีมักใช้คำเรียกว่า “ลงฺกาทีป” (ลัง-กา-ที-ปะ)

เหตุที่เกาะนี้ได้ชื่อว่า “ตามพปัณณิทวีป” หรือ “เกาะของคนมีฝ่ามือแดง” มีคำบอกเล่าเป็นตำนานมาว่า เจ้าชายวิชัยผู้ไปยึดเกาะลังกาเป็นคนแรก เมื่อยกพลขึ้นบกก้าวเท้าพลาดล้มลงบนชายฝั่ง ทำให้ไพร่พลเสียขวัญว่าเป็นลางร้าย

แต่เจ้าชายวิชัยมีสติปัญญาดี เอามือกำดินขึ้นมาเต็มมือพลางตะโกนขึ้นว่า “เรายึดแผ่นดินนี้ได้แล้ว” เป็นเหตุให้กองทัพเกิดขวัญกำลังขึ้นมาทันที และสามารถยึดเกาะลังกาไว้ได้จริงๆ

เพราะกำดินขึ้นมาเต็มมือ จึงทำให้มือเปื้อนดินเป็นสีแดง จึงได้เรียกเกาะนั้นว่า “ตมฺพปณฺณิทีป” > “ตามพปัณณิทวีป” แปลว่า “เกาะของคนมีฝ่ามือแดง” ด้วยประการฉะนี้

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ตำนานอาจไม่ได้เป็นเรื่องจริง

: แต่เรื่องจริงกลายเป็นตำนานได้

#บาลีวันละคำ (3,162)

7-2-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย