บาลีวันละคำ

กากณึก (บาลีวันละคำ 3,173)

กากณึก

“เงินแดงเดียว”

อ่านว่า กา-กะ-หฺนึก

คำเดิมในบาลีเป็น “กากณิกา” อ่านว่า กา-กะ-นิ-กา นักเรียบาลีแปลกันมาว่า “ทรัพย์มีค่าเท่าชิ้นเนื้อที่กานำไป

ตามคำแปลนี้ รากศัพท์ของ “กากณิกา” มาจาก กาก + นีต

(ก) “กาก” บาลีอ่านว่า กา-กะ รากศัพท์มาจาก –

(1) กา (เสียงว่า “กา”) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + (อะ) ปัจจัย ลบ รฺ ที่สุดธาตุ

: กา + กรฺ > + = กาก = “ผู้ทำเสียงว่ากา

(2) กา (เสียงว่า “กา”) + กา (ธาตุ = ส่งเสียง) + (อะ) ปัจจัย ลบ อา ที่ธาตุ

: กา + กา > + = กาก = “ผู้ส่งเสียงว่ากา

กาก” (ปุงลิงค์) หมายถึงสัตว์จำพวกนกที่เราเรียกกันว่า “กา” หรือ “อีกา

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “กาก” ว่า the crow

ในภาษาไทย คำว่า “กาก” มีความหมายแบบไทย ตามที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

กาก : (คำนาม) สิ่งที่เหลือเมื่อคั้นหรือคัดเอาส่วนดีออกแล้ว เช่น กากมะพร้าว; หยากเยื่อ; เดนเลือก (ใช้เป็นคําด่า) เช่น กากมนุษย์ คนกาก.”

ส่วนที่มีความหมายตรงตามบาลี คำไทยเขียน “กา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กา ๑ : (คำนาม) ชื่อนกขนาดกลางชนิด Corvus macrorhynchos Wagler วงศ์ย่อย Corvinae ในวงศ์ Corvidae ปากใหญ่หนาแบนข้าง ตาสีดำ ตัวสีดำ ร้องเสียง “กา ๆ ”, อีกา ก็เรียก; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ธนิษฐา เห็นเป็นรูปอีกา เช่น แม้นดาวกามาใกล้ในมนุษย์ (อภัย), ดาวไซ ดาวเศรษฐี ดาวศรวิษฐา หรือ ดาวธนิษฐะ ก็เรียก.”

กา” หรือ “อีกา” นี้ผู้ร้อนวิชารุ่นเก่าเคยเขียนเป็น “กาก์” (การันต์ที่ ท้ายศัพท์ อ่านว่า “กา”) เพราะเชื่อว่าชื่อนกชนิดนี้มาจากบาลีสันสกฤตว่า “กาก” แน่นอน

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “กาก” บอกไว้ดังนี้ –

(1) (คำนาม) กาก์; คนเสียขา a crow; a cripple, one whose legs are useless.

(2) ฝูงกาก์ an assemblage of crows.

(3) (คำคุณศัพท์) อหังการ, ไม่มีความละอาย; arrogant, shameless.

ในคัมภีร์มักเอ่ยถึง “กาก” ในฐานะสัตว์ขี้ขโมย นิสัยไม่ดี ชอบมั่วสุมกับสัตว์จำพวกเลวในสถานที่ที่น่ารังเกียจ

(ข) “นีต” บาลีอ่านว่า นี-ตะ รากศัพท์มาจาก นี (ธาตุ = นำไป) + ปัจจัย

: นี + = นีต แปลตามศัพท์ว่า “อัน-นำไป” หมายถึง นำไป, นำทาง; แน่ใจ, อนุมาน (led, guided; ascertained, inferred)

กาก + นีต = กากนีต (กา-กะ-นี-ตะ) แปลว่า “สิ่งที่กานำไป

สิ่งที่กานำไป” ในที่นี้ท่านหมายถึง “เปสิ” แปลว่า “ชิ้นเนื้อ” คือ ชิ้นเนื้อที่กาคาบไป

กากนีต” เป็นคำขยาย “เปสิ” (ภาษาไวยากรณ์บาลีเรียกว่าเป็น “วิเสสนะ”) “เปสิ” เป็นอิตถีลิงค์ “กากนีต” จึงต้องเปลี่ยนรูปเป็นอิตถีลิงค์ด้วย คือเปลี่ยนรูปเป็น “กากนีตา” (กา-กะ-นี-ตา) พูดรวมกันก็จะเป็น “กากนีตา เปสิ

กากนีตา” แปลง เป็น , รัสสะ อี เป็น อิ, แปลง เป็น

: กากนีตา > กากณีตา > กากณิตา > กากณิกา (กา-กะ-นิ-กา) เมื่อใช้เป็นคำนาม ศัพท์นี้จึงเป็นอิตถีลิงค์ แปลว่า “ทรัพย์มีค่าเท่าชิ้นเนื้อที่กานำไป

กาหนึ่งตัวคาบเนื้อไปชิ้นหนึ่งมีขนาดเท่าที่มันจะสามารถคาบไปได้ ถ้าเอาเนื้อชิ้นนั้นไปขาย ได้ราคาเท่าไร นั่นคือค่าของ “กากณิกา” เมื่อใช้เป็นคำเรียกหน่วยนับมาตราเงิน จึงหมายถึงเงินที่มีราคาน้อยที่สุด

การกลายรูปในภาษาไทย :

เสียง “อิ” หรือ “อี” ในบาลีสันสกฤตมักกลายเป็น “อึ” ในภาษาไทย เช่น –

อธิก” (อะ-ทิ-กะ) เป็น “อธึก

ปจฺจนีก” (ปัด-จะ-นี-กะ) เป็น “ปัจจนึก

สิกฺขา” (สิก-ขา, บาลี) “ศิกฺษา” (สิก-สา, สันสกฤต) เป็น “ศึกษา

โชติก” (โช-ติ-กะ) เป็น “โชฎึก

ดังนั้น “กากณิกา” เมื่อเอามาใช้ในภาษาไทยจึงเป็น “กากณึก” และแทนที่จะออกเสียงตรงตัวเป็น กา-กะ-นึก คนรุ่นเก่าท่านออกเสียง -นึก เหมือนมี ห นำ เป็น -หฺนึก “กากณึก” จึงอ่านว่า กา-กะ-หฺนึก

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กากณึก : (คำนาม) ทรัพย์มีค่าเท่าค่าแห่งชิ้นเนื้อพอกาพาไปได้; ชื่อมาตราเงินอย่างตํ่าที่สุด. (ป. กากณิกา).”

ขยายความ :

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “กากณิกา” ว่า a coin of very small value (เหรียญมีค่าน้อยมาก)

คำบาลีอีกคำหนึ่งซึ่งมาจาก “กากณิกา” คือ “กากณิกคฺฆนก” (กา-กะ-นิ-กัก-คะ-นะ-กะ) แปลตามศัพท์ว่า “มีราคากากณึกหนึ่ง” พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลว่า “not even a farthing’s worth”, worth next to nothing (“มีราคากากณึกหนึ่ง”, ค่าเพียงเล็กน้อยเกือบนับไม่ได้)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ขยายความไว้ว่า –

…………..

From the latter passages its monetary value in the opinion of the Commentator may be guessed at as being 1/8 of a kahāpaṇa; it occurs here in a descending line where each succeeding coin marks half the value of the preceding one, viz., kahāpaṇa, aḍḍha, pāda, māsaka, kākaṇikā, upon which follows mudhā “for nothing.”

จากข้อความระยะหลังๆ ราคาเป็นเงินของกากณิกานี้ ตามความคิดเห็นของพระอรรถกถาจารย์คะเนเอาว่าเป็น 1/8 ของกหาปณะ; เหรียญที่สืบต่อๆ กันตามลำดับ แต่ละอันมีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของเหรียญที่มาก่อน, กล่าวคือ, กหาปณ, อฑฺฒ, ปาท, มาสก, กากณิกา, จนถึง มุทฺธา “ไม่มีค่าเลย”

…………..

แถม :

“ชื่อมาตราเงินอย่างตํ่าที่สุด” ตามคำนิยามของพจนานุกรมฯ นั้น ถ้าพูดเป็นสำนวนภาษาไทยในสมัยหนึ่งก็น่าจะตรงกับคำว่า “เงินแดงเดียว” หมายถึง เหรียญทองแดงราคา 1 สตางค์ที่เคยมีใช้อยู่ในบ้านเรา (คนที่มีอายุสักหน่อยย่อมจะเคยเห็นหรือเคยใช้) เป็นหน่วยเงินที่มีราคาน้อยที่สุด เรียกกันว่า “สตางค์แดง”

สมัยหนึ่ง เมื่อพูดถึงเงินที่มีจำนวนน้อยที่สุด ก็จะใช้คำว่า “แดงเดียว” นิยมพูดในเชิงปฏิเสธ เช่น “แดงเดียวก็ไม่มี” “ไม่เคยได้สักแดงเดียว

สำนวนบาลีเมื่อพูดถึงของที่มีค่าน้อยที่สุดเมื่อตีราคาออกมาเป็นเงิน ก็จะใช้คำว่า “กากณิกา” คือมีราคาแค่กากณึกเดียว มีความหมายคล้ายๆ กับภาษาไทยว่า “แดงเดียว” นั่นเอง

ถ้าสมมุติว่า วิชาแต่งไทยเป็นมคธชั้นเปรียญธรรม 9 ประโยค สนามแผนกบาลีออกข้อสอบกล่าวถึง “เงินแดงเดียว” แล้วนักเรียนบาลีพาซื่อแต่งเป็นมคธว่า “เอกโรหิต” ซึ่งแปลตรงว่า “แดงเดียว” การแปลแบบนี้แหละที่เรียกกันในวงการบาลีว่า “มคธไทย” หรือ “บาลีไทย”

เงินแดงเดียว” ในภาษาไทย มีอรรถรสตรงกับ “กากณิกา” ในภาษาบาลี หรือที่พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลว่า “not even a farthing’s worth”

farthing คือหนึ่งในสี่ของเพนนี เป็นหน่วยนับเงินของอังกฤษที่มีค่าน้อยที่สุด แบบเดียวกับ “สตางค์แดง” ของไทย และนั่นแหละคือ “กากณึก” หรือ “กากณิกา” ในบาลี

มีหลักฐานในที่แห่งหนึ่งแสดงไว้ดังนี้ –

…………..

มาตราเงินไทยโบราณ กากณึกหนึ่งเท่ากับ 2 ไพ มาตราเงินไทยปัจจุบันกากณึกหนึ่งเท่ากับ 3 สตางค์

(พระธรรมเทศนา เรื่อง “คนหมั่นทำงานให้เหมาะเจาะย่อมหาทรัพย์ได้” พระมหาอาคม อุตฺตโร ป.ธ.7 (พระธรรมรัตนดิลก) วัดบุปผาราม กรุงเทพฯ แสดง ณ สถานีวิทยุศึกษา วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ.2503)

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ทรัพย์ของบัณฑิตอยู่ได้ชั่วกาลนาน

: ทรัพย์ของคนพาลอยู่ได้ชั่วชีวิตเดียว

————-

ภาพประกอบ: จาก google

#บาลีวันละคำ (3,173)

18-2-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย