บาลีวันละคำ

ทีปงฺกร (บาลีวันละคำ 64)

ทีปงฺกร

อ่านว่า ที-ปัง-กะ-ระ

ประกอบด้วยศัพท์ว่า ทีป (ที-ปะ) + กร (กะ-ระ) ซ้อน ง พยัญชนะตัวสุดท้ายของวรรค ก (ก ข ค ฆ ง) = ทีปงฺกร

ใช้ในภาษาไทยว่า “ทีปังกร” (ที-ปัง-กอน)

ทีป” แปลว่า –

(1) เกาะ (แผ่นดินที่น้ำล้อมรอบ = สถานที่อันน้ำไม่ท่วม)

(2) ที่พึ่ง

(3) แสงสว่าง, ดวงไฟ, ตะเกียง

กร” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้กระทำ

ทีปังกร” จึงแปลว่า “ผู้กระทำที่พึ่ง” “ผู้ทำแสงสว่าง” “ผู้จุดโคมไฟ

ทีปังกร” เป็นพระนามพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอดีตกาล พระนามนี้มีความหมายว่า “ผู้ทำที่พึ่งให้แก่สัตว์โลก” หรือ “ผู้ส่องแสงสว่างให้แก่โลก

พระทีปังกรพุทธเจ้าทรงอุบัติในวงศ์กษัตริย์ ครองราชสมบัติอยู่หมื่นปีจึงทรงผนวช กระทำความเพียร ๑๐ เดือนจึงได้ตรัสรู้ ทรงพระชนมายุแสนปี

บาลีวันละคำ (64)

7-7-55

ทีป ๑ = พระนิพพาน (ศัพท์วิเคราะห์)

– ยถา ปกติทีโป นทีโสเตน วุยฺหมานานํ ปติฏฺฐา โหติ เอวมิทํ นิพฺพานํ สํสารมโหเฆน วุยฺหมานานํ ปติฏฺฐาติ ทีโป วิยาติ ทีโป สภาวะอันเป็นที่พึ่งของสัตว์ผู้ถูกห้วงน้ำในสงสารพัดพาไป เหมือนเกาะเป็นที่พึ่งของสัตว์ที่ถูกกระแสคลื่นพัดพาไป (ทีป + ณ)

– นิกฺกิเลสานํ ปทีปสทิสภาวกรณโต ทีโป วิยาติ ทีโป สภาวะที่เป็นเหมือนดวงประทีปสำหรับผู้หมดกิเลส (ทีป + ณ)

– ทิปฺปติ อริยานํ ญาณจกฺขุสฺเสว ปกาสตีติ ทีโป สภาวะที่สว่างอยู่ในญาณจักษุของเหล่าพระอริยะ

ทีป ธาตุ ในความหมายว่าสว่าง, รุ่งเรือง ณ ปัจจัย

ทีป ๒ = ดวงประทีป, โคมไฟ, ตะเกียง (ปทีป ปชฺโชตป

– ทิปฺปตีติ ทีโป ผู้สว่าง

ทีป ธาตุ ในความหมายว่าสว่าง, รุ่งเรือง ณ ปัจจัย

ทีป ๓ = เกาะ (อนฺตรีป อนฺตรีย)

– ทฺวิคตานิ อาปานิ เอตฺถาติ ทีโป, ทีปํ พื้นที่เป็นที่น้ำแยกออกเป็นสองทาง

ทฺวิ + อาป ลบ ว และ อา, ทีฆะ อิ เป็น อี

– ทฺวิธา อาโป เอตฺถ สนฺทตีติ ทีโป, ทีปํ พื้นที่เป็นที่ไหลเป็นสองทางแห่งน้ำ (เหมือน วิ. ต้น)

– ชลมชฺเฌ ทิปฺปตีติ ทีโป, ทีปํ พื้นที่ที่ปรากฏอยู่ในกลางน้ำ

ทีปฺ ธาตุ ในความหมายว่าปรากฏ อ ปัจจัย

กร ๑ = รัศมี, แสงสว่าง (รํสิ อาภา ปภา ฯเปฯ)

กิรติ ติมิรนฺติ กโร ผู้กำจัดความมืด

กิรฺ ธาตุ ในความหมายว่ากระจาย, ซัดไป อ ปัจจัย, แปลง อิ เป็น อ

กร ๒ = มือ, งวงช้าง (หตฺถ ปาณิ)

กโรติ อเนนาติ กโร อวัยวะเป็นเครื่องทำงาน

กรฺ ธาตุ ในความหมายว่าทำ อ ปัจจัย

กร ๓ = อากร, ภาษี, ส่วย (พลิ)

กิรติ ติมิรนฺติ กโร สิ่งที่กระจายไปสู่ที่มืด คือเสียไปแล้วไม่ทราบว่าถูกนำไปใช้ทางไหนบ้าง

กิรฺ ธาตุ ในความหมายว่ากระจาย, ซัดไป อ ปัจจัย, แปลง อิ เป็น อ

กร ๔ = น้ำ

กิรติ สุกฺขภาวนฺติ กโร สิ่งที่กำจัดความแห้งแล้ง

กิรฺ ธาตุ ในความหมายว่ากระจาย, ซัดไป อ ปัจจัย, แปลง อิ เป็น อ

กร ๕ = น้ำอสุจิ, น้ำสมภพ

กโรติ ปุตฺเต นิพฺพตฺเตตีติ กโร (สุกฺกโสณิตํ) น้ำที่สร้างบุตร

กรฺ ธาตุ ในความหมายว่าทำ อ ปัจจัย

ทีป ๑ (บาลี-อังกฤษ)

ตะเกียง, ประทีป a lamp

ทีป (หรือ ทีปํ) + กร ผู้ทำแสงสว่าง, ผู้ส่องแสง making light, shining, illuminating

ทีป ๒ (ปุง.และ นปุง.)

(ตามตัว “มีน้ำซ้ำสอง” ระหว่างน้ำ [ทั้งสอง] “double — watered,” between (two) waters) เกาะ, ทวีป; พื้นดิน, ดินแข็ง, ฐานที่มั่นคง, สถานที่สำหรับอาศัย, สรณะ, ที่พึง an island, continent; terra firma, solid foundation, resting-place, shelter, refuge

ทีป ๓

(เทียบ สัน. ทฺวีป หนังเสือ tiger’s skin) รถที่หุ้มด้วยหนังเสือดำ a car covered with a panther’s skin

ทีป ป. (พจนานุกรมบาลี-ไทย.มหิดล.)

ประทีป, ตะเกียง; เกาะ, ทวีป; ที่พึ่ง; พระนิพพาน.

ทีปังกร

ผู้กระทำที่พึ่งคือพระนิพพาน; ผู้จุดตะเกียง; นามพระพุทธเจ้าในอดีตองค์หนึ่ง.

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย